กาะเกร็ด
สถานที่น่าสนใจบนเกาะ ได้แก่
วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่
ส่วนที่พระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันนี้ ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานนี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์มอญอีกอย่างหนึ่งของที่วัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์ มุเตา เมืองหงสาวดี ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฝีพระหัตถ์หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี พระนนทมุนินทร์ เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ (จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่ 8.30-16.30 น.
นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ ที่จะเปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ จัดแสดงวัตถุต่างๆ ที่ล้วนน่าชม เช่น พระพิมพ์ เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชาม รวมทั้ง เหม ที่ พ.อ. ชาติวัฒน์ งามนิยม บรรจงสร้างขึ้นจนนับว่าเป็นงานศิลป์ ชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว นับตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง การต่อลาย การตอกไข่ปลาเพื่อต่อลายบนกระดาษอลูมิเนียม ทุกชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเป็นเหมนี้ล้วนแต่ต้องทำอย่างละเอียด ปราณีต เชื่อว่าชาวมอญคงดัดแปลงลักษณะของเหมมาจากโลงของพระพุทธเจ้าซึ่งก้นสอบปากบานข้างแคบเช่นกัน (ในพิพิธภัณฑ์แสดงภาพไว้) โลงเหมใช้กับศพแห้ง เหมพระจะมีลักษณะพิเศษกว่าตรงที่เจาะหน้าต่างมองเห็นศพด้านในได้
วัดเสาธงทอง เป็นวัดเก่าเดิมชื่อ วัดสวนหมาก นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐานเจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งมีฐานเหลี่ยม ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมากเขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญเรียกวัดนี้ว่า เพี๊ยะอาล๊าต
วัดฉิมพลี มีโบสถ์ขนาดเล็กงดงามมาก และยังมีสภาพสมบูรณ์แบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปเทพทรงราชรถล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูเป็นทรงมณฑป ซุ้มหน้าต่างแบบหน้านาง ยังคงเห็นความงามอยู่ และฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา
วัดไผ่ล้อม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น คนมอญเรียกวัดนี้ว่า เพี๊ยะโต้
กวานอาม่าน เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ เปิดให้ชมทุกวัน การปั้น เครื่องปั้นดินเผานั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรม พื้นบ้าน ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และถูกนำไปเป็นตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทางเดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ ในชีวิตประจำ เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ สามารถเข้าไปชมได้
คลองขนมหวาน บริเวณคลองขนมหวานและคลองอื่นๆ รอบเกาะเกร็ด ชาวบ้านจะทำขนมหวาน จำพวกทองหยิบ ทองหยอด ขายส่งและยังสาธิตให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://www.md.go.th/tour/kaokrad.htm
เกาะเกร็ด นนทบุรี
ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองซึ่งอ้อมมากให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด(หรือเตร็ดหมายถึงลำน้ำเล็กลัดเชื่อมลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพังและขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ด ไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะไป จึงเรียกว่า เกาะเกร็ด ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า ปากเกร็ด |
ด้วยประการฉะนี้ ความจริงปากเกร็ดนั้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง อาทิเช่นที่ วัดกู้ วัดตำหนักใต้ หรือ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นต้น และในละแวก ปากเกร็ด ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่นวัดบ่อ ท่าเรือปากเกร็ด ตลาดริมทางเท้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง วัดสนามเหนือและวัดกลางเกร็ด ถ้าจะข้ามไปยัง เกาะเกร็ด ก็จะได้ชมวัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ฯ ศูนย์การผลิตเครื่องปั้นดินเผา ชมสินค้าและวิถีชีวิตชาวมอญแถบนั้น ซึ่งอยู่กันอย่างเรียบง่ายและดำรงรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิม ถ้าท่าน ล่องเรือ รอบๆ เกาะ ก็สามารถแวะบ้านขนมหวานในคลองบางบัวทองเพื่ออุดหนุน ขนมหวานแบบไทยๆ รสชาติอร่อยด้วย.. สำหรับชาวกรุงเทพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง คือ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เจริญมาตั้งแต่ ปลายสมัยอยุธยา วัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นบนเกาะเป็นโบราณสถานที่สวยงามสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น มีฐานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยาตรงส่วนที่เป็นแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2265 เรียกคลองนี้ว่า คลองลัดเกาะน้อย ต่อมากระแสน้ำได้เปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงกลายเป็นแม่น้ำและเกาะเกร็ดมีสภาพเป็นเกาะเช่นปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในเกาะเกร็ด | |
วัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ตำบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเนือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่าชื่อวัดปากอ่าว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนามว่า วัดปรมัยยิกาวาสเนื่องจากศิลปะที่สร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธานในโบสถ์สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า วัดมอญ ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตูหน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม | |
วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ วัดสวนหมาก ศิลปะสมัยอยุธยาที่มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ อยู่หลังโบสถ์เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเขตอำเภอปากเก็ด ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มีเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์บริวารโดยรองอีก 2 ชั้น ด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนี่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลม อีกองค์หนึ่งมีรูปผแปลกมีฐานเหลี่ยม องค์ระฆังทำเป็นทรงกลมสูง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เป็นลายทองเขียนลายกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็น พระปางมารวิชัย ปูนปั้น ขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจังหวัดนนทบุรี คนมอญเรียกวัดนี้ว่า เพี๊ยะอาล๊าต | |
วัดฉิมพลี ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ขนาดล็กงดงามมาก และยังมีสภาพสมบูรณ์แบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ หน้าบันจำหลักไม่เป็นเทพทรงราชรถ ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูยอดมณฑป ซุ้มหน้าต่างแบหน้านาง ยังคงให้เห็นความงามอยู่ ฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา | |
วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงแปลก ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละองค์ระฆังทำเป็นรูปบาตรคว่ำ มียอดทรงกลม ประดับลายปูนปั้นอย่างงดงามมาก คนมอญเรียกวัดนี้ว่า เพี๊ยะโต้ | |
ศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ ตั้งอยู่ที่ด้านซ้ายของวัดปรมัยยิกาวาส ห่างจากวัดประมาณ 100 เมตร เป็นสถานที่แสดงภาชนะเครื่องปั้นดินเผาแบบรามัญ รูปทรงต่างๆ ฝีมือประณึตสวยงาม เช่น หม้อน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงวิธีการปั้นและจำหน่ายสินค่าเครื่องปั้นดินเผาด้วย เปิดให้ชมทุกวัน | |
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา ตั้งอยู่บริเวณสองบ้างทางเดินรอบเกาะเกร็ดทั้งด้านซ้าย และด้านขวาของวัดปรมัยยิกาวาส เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก อ่างน้ำ เป็นต้น แหล่งใหญ่และเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี สามารถชมขั้นตอนต่างๆในการทำเครื่องปั้นดินเผ่าตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงวิธีการนำเข้าเตาเผา | |
การเดินทาง - บริการเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) ข้ามไปยังวัดปรมัยยิกาวาส (จากวัดวัดปรมัยยิกาวาสสามารถเดินเท้าไปยังวัดอื่นๆได้) - บริการเรือเช่าเหมาไปยังเกาะเกร็ด บริษัท มิตรเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่าเรือท่าช้างวังหลวง ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น. บริษํท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่ามหาราช ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 15.00 น. ราคาต่อท่านประมาณ 150 - 250 บาท สนใจติดต่อโทรศัพท์ 0-2623-6001 - 3 โทรสาร 0-2225-3002 - บริการเรือหางยาวเหมาลำ ชมรอบเกาะ ลำละ 500 บาท ถ้าเข้าคลองขนมหวาน ด้วยราคา 700 บาท แต่ถ้าเช้าเรือเล็กจากท่าปากเกร็ดมาเฉพาะคลองขนมหวาน 150 - 200 บาท |
การเดินทาง ลงเรือข้ามฟากได้สองท่า คือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น.
ตัวอย่างรายการท่องเที่ยวบนเกาะเกร็ด
1. ลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และมาขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาสนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5
2. เดินเท้าจากวัดปรมัยยิกาวาสสู่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ชม/ซื้อเครื่องปั้นดินเผาสองข้างทาง ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
3. ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเสาธงทอง ล่องเรือไปทางท้ายเกาะสู่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตำบลอ้อมเกร็ด ให้อาหารปลาหน้าวัด ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รายได้ถวายวัดฯ มีมะพร้าวน้ำหอมจำหน่าย
4. ล่องเรือไปทางใต้เลี้ยวขวาเข้าคลองบางบัวทอง หรือคลองขนมหวาน ชมหมู่บ้านขนมไทยสองฟากฝั่งคลอง และซื้อหาเป็นของฝากของขวัญ
5. ย้อนกลับออกมาตรงปากคลอง มีปล่องเตาอิฐที่ผลิตอิฐ บ.บ.ท. อิฐทนไฟแห่งแรกของเมืองไทยล่องเรือผ่านบ้านเกร็ดตระการ วิ่งตรงมาขึ้นท่าน้ำหน้าวัดฉิมพลี เลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร เดินเท้าจากวัดฉิมพลีถึงกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา หมู่ที่ 1 ชมการสาธิตการแกะลายเครื่องปั้นดินเผา หมู่ที่ 1 และซื้อเป็นของฝากของขวัญ ล่องเรือข้ามฟากไปวัดกลางเกร็ด เดินทางกลับ
การเช่าเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ด ราคามีตั้งแต่ 350-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ติดต่อที่ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส หรือจองล่วงหน้าที่ โทร. 584-5012
เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า คลองลัดเกร็ดน้อย ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่าวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แต่หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 การคมนาคมบนเกาะจะใช้จักรยานเพื่อให้เหมาะกับขนาดของเกาะ