จังหวัดนครศรีธรรมราช (มักเรียกสั้น ๆ ว่า นคร) เป็นจังหวัดในประเทศไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศใต้ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี
ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุประวัติศาสตร์
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมืองเป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีพระราชดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา คือ ปริก
[แก้] หน่วยการปกครอง
[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน
[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 30 เทศบาลตำบล และ 159 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
[แก้] ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช [2]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 | เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร) | พ.ศ. 2440-พ.ศ. 2447 | 2 | พระยาสุนทรธุรกิจ (หมี ณ ถลาง) | พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2449 |
3 | พระยาตรังภูษาภิบาล (ถนอม บุญยเกตุ) | พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2452 | 4 | พระยาสิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมา) | พ.ศ. 2452-พ.ศ. 2455 |
5 | พระยาประชากิจกรจักร์ (ฟัด มหาเปารยะ) | พ.ศ. 2455-พ.ศ. 2462 | 6 | พระยารักษฏานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | พ.ศ. 2462-พ.ศ. 2474 |
7 | พระยาสุรพลนิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2474-พ.ศ. 2475 | 8 | พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐารัตน์) | พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2476 |
9 | พระอรรถานิพนธ์ปรีชา (ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา) | พ.ศ. 2476-พ.ศ. 2477 | 10 | พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกุรมะ) | พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2481 |
11 | ร.อ. พระสาครบุรารักษ์ ร.น. (ปริก สุวรรณนนท์) | พ.ศ. 2481-พ.ศ. 2484 | 12 | ร.อ.อ. หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (ว.ศ.วุฒิราษฎร์รักษา) | พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2486 |
13 | ขุนภักดีดำรงฤทธิ์ (ภักดี ดำรงฤทธิ์) | พ.ศ. 2486-พ.ศ. 2489 | 14 | ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สมวงส์ วัฏฏสิงห์) | พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2489 |
15 | นายแม้น ออนจันทร์ | พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2493 | 16 | ขุนอารีราช การัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2494 |
17 | ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ) | พ.ศ. 2494-พ.ศ. 2495 | 18 | ขุนพิเศษนคร (ชุบ พิเศษนครกิจ) | พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2497 |
19 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) | พ.ศ. 2497-พ.ศ. 2500 | 20 | นายมงคล สุภาพงษ์ | พ.ศ. 2500-พ.ศ. 2501 |
21 | นายจันทร์ สมบูรณ์กุล | พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2503 | 22 | นายสันต์ เอกมหาชัย | พ.ศ. 2503-พ.ศ. 2512 |
23 | นายพันธ์ ลายตระกูล | พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2514 | 24 | นายคล้าย จิตพิทักษ์ | พ.ศ. 2515-พ.ศ. 2518 |
25 | นายเวียง สาครสินธุ์ | พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2518 | 26 | นายศุภโยค พานิชวิทย์ | พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519 |
27 | นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร | พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2521 | 28 | นายธานี โรจรนาลักษณ์ | พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2525 |
29 | นายเอนก สิทธิประศาสน์ | พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2529 | 30 | เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง | พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2530 |
31 | นายนิพนธ์ บุญญภัทโร | พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532 | 32 | พันโทกมล ประจวบเหมาะ | พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2533 |
33 | ร้อยตรีณรงค์ แสงสุริยงค์ | พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2534 | 34 | ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว | พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535 |
35 | นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 | 36 | นายสุชาญ พงษ์เหนือ | พ.ศ. 2536-พ.ศ. 2537 |
37 | นายบัญญัติ จันทน์เสนะ | พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2538 | 38 | นายประกิต เทพชนะ | พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2540 |
39 | นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ | พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2541 | 40 | นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ | พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2544 |
41 | นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ | พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2547 | 42 | นายวิชม ทองสงค์ | พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2551 |
43 | นายภาณุ อุทัยรัตน์ | พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552 | 44 | นายธีระ มินทราศักดิ์ | พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน |
[แก้] เศรษฐกิจ
[แก้] รายได้ประชากร
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้ ทำสวนมะพร้าว การประมงและการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 59,869 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 11 ของภาคใต้
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
- เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
- เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
- เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
- เมืองปะหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปะหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย
- เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
- เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
- เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
- เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
- เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
- เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
- คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
- คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
- อักษรย่อจังหวัด : นศ
[แก้] ประชากร
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 266,668 นอกเขตเทศบาล 146,545 เทศบาลปากนคร 6,151 เทศบาลตำบลบางจาก 1,849 เทศบาลตำบลท่าแพ 4,101 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 108,022
[แก้] ศาสนา
ชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 92.08% รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม 7.03% ศาสนาคริสต์ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,508,096 คน ณ ตุลาคม 2549)
[แก้] การคมนาคม
ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร และรถไฟ
[แก้] รถยนต์
การเดินทางจากกรุงเทพมายังนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่นๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้ โดยมีระยะทางดังนี้
- จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภออื่นๆ
- อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
- อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
- อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
- อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
- อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
- อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
- อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
- อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
- อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
- อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
- อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
- อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
- อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
- อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
- อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
- อำเภอพระพรหม 15 กิโลเมตร
- อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
- อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
- อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
- อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร
- จากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง
- กระบี่ 152 กิโลเมตร
- ตรัง 123 กิโลเมตร
- พัทลุง 115 กิโลเมตร
- สงขลา 161 กิโลเมตร
- สุราษฎร์ธานี 141 กิโลเมตร
[แก้] การบริการด้านคมนาคม
ดูเพิ่มที่ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
- รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถเร็ว และรถด่วน ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร รายละเอียดดูที่สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช
- รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี อำเภอขนอม มีรถวี ไอ พี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอม
- เครื่องบิน สายการบิน นกแอร์และ ไทยแอร์เอเชีย มีบริการเครื่องบินเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน
[แก้] ธนาคาร
ธนาคาร | รวมสาขา(อำเภอเมือง) | รวมสาขา (ทังจังหวัด) |
---|---|---|
|
|
|
รวม | 42 | 109 |
[แก้] สถาบันการศึกษา
[แก้] การอุดมศึกษา
[แก้] รัฐบาล
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ อำเภอทุ่งสง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ขนอม อำเภอขนอม
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนานครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
[แก้] เอกชน
- พณิชยการคณะพล อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยศรีโสภณ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- พณิชยการทุ่งสง อำเภอทุ่งสง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง
[แก้] การอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคนิคสิชล อำเภอสิชล
- วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง อำเภอทุ่งสง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช อำเภอช้างกลาง
- วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม
- วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร อำเภอหัวไทร
- วิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี
- วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อำเภอพรหมคีรี
- โรงเรียนเทคโนโลยีภาคใต้ (เอส.เทค) [3] อำเภอทุ่งสง
- โรงเรียนจรัสพิชากรอาชีวศึกษา [4] อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
[แก้] โรงเรียน
โรงเรียนทุ่งใหญ่เทคนิคพณิชยการ
[แก้] ความเป็นที่สุด
- ชายฝั่งทะเลยาวที่สุด 236 กิโลเมตร
- แหลมทะเลยาวที่สุดในประเทศไทย คือ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง เกิดจากการทับถมของทรายที่น้ำทะเลพัดพามา จนกลายเป็น สันดอนจะงอย ยื่นยาวเป็นแหลมออกไปจากชายฝั่งทะล มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ส่วนกว้างที่ของแหลมประมาณ 5 กิโลเมตร
- มหาวิทยาลัยที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่มากกว่า 9,000 ไร่
- จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้
- มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาหลวง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง