สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็ก ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง และคำว่า โบก เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ แหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล สำหรับในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น รูปดาว วงรี และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล มีความสวยงาม |
นายเรืองประทิน เขียวสด ครูโรงเรียนบ้านสองคอน ซึ่งเป็นในผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริเวณ ดังกล่าว ระบุว่า สามพันโบก ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า แกรนแคนยอนน้ำโขง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ สูงประมาณ 3-7 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ทางเข้าของแกรนแคนยอนแม่น้ำโขงมีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นาๆ บ้างก็ว่าแต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภกลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด บางตำนานก็ว่า ลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่ง และได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางเข้าระหหว่างการขุดกระทั่งสุนัขได้ตายลง หาดสลึง
| จุดชมวิวหาดสลึง
| เครื่องมือจับปลาแบบเดียวกับภาพเขียนสีผาแต้ม
| การตักปลา
|
การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร ควรเริ่มต้นที่หาดสลึง บ้านสองคอน ตรงนี้มีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ หาดสลึง เป็นหาดทรายขาวละเอียดทอดยาวไปตลอดแนวแม่น้ำโขง ปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุดตลอดระยะทางยาวกว่า 700 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของแม่น้ำเพียง 56 เมตร เท่านั้น ชาวบ้านในระแวกนี้ มีอาชีพจับปลา ซึ่งยังคงใช้วิถีชีวิตและเครื่องมือจับปลาแบบโบราณอยู่ ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ จะมีประเพณีแข่งตักปลา ซึ่งนับว่าคงเหลืออยู่ที่เดียวในประเทศไทยที่ยังจับปลาด้วยวิธีนี้อยู่ ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือ มีแก่งใหญ่ขวางกลางลำน้ำโขง เรียกว่า หินหัวพะเนียง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน และในบริเวณใกล้เคียงยังมี ถ้ำ ที่มีความสวยงามในลำน้ำโขงประกอบด้วย ถ้ำนางเข็นฝ้าย , ถ้ำนางต่ำหูก , หาดหงษ์ , หาดหินสี , หลักศิลาเลข , แก่งสองคอน , ภูเขาหิน และหาดแห่ โดยมีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักอย่างสะดวกสบายริมหาดสลึง และร้านอาหารไทยและอีสานที่ปรุงด้วยฝีมือชั้นยอด หินพัวพะเนียง
| จุดชมวิวบนหินหัวพะเนียง
|
การล่องเรือไปชมสามพันโบก จะล่องลงตามแม่น้ำโขงระยะทางจากหาดสลึงประมาณ 4 กิโลเมตร บริเวณสามพันโบกกินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แห่งนี้ เชื่อว่าในอดีตเกิดการกัดเซาะของพลังน้ำวนอย่างรุนแรงกระจายเต็มพื้นที่จนเกิดรู หรือโบกขึ้นมากมาย ชาวบ้านจึงพากันเรียนกว่าสามพันโบก เนื่องจากมีโบกนับไม่ถ้วนนั่นเอง และด้วยชั้นหินที่กินเนื้อที่กว้างใหญ่มาก จึงดูคล้ายกับแกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกามาก จนอาจขนานนามสถานที่แห่งนี้ได้ว่า แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล |