การสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม รูปดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ


1,367 ผู้ชม


 

คลิ๊กที่นี่ เพื่อดูภาพ Flash ที่แสดงความแตกต่าง

       ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะ ห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
         ที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต

 และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แ ต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอ

ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ


               หลั กฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาว เคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุ ทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของ ระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่เทหวัตถุท้องฟ้า หลายพันดวง จะมีระบบ โดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิด ร่วมกัน Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะ มีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้ อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้น จะเกิดการหดตัวลงเพราะแรงดึงดูดของก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการ หมุนรอบตังเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum)

ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยก ตัวออกไปจากศุนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้น ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณ ที่มีความ หนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัว เป็นดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ของดาว ดาวเคราะห์จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์ สำหรับดาวหาง และสะเก็ดดาวนั้น เกิดขึ้นจากเศษหลงเหลือระหว่าง การเกิดของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ

ดังนั้น ดวงอาทิตย์ในปัจจุบันก็คือ มวลก๊าซ ดั้งเดิมที่ทำให้เกิดระบบสุริยะขึ้นมานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีความเชื่อในการเกิดระบบสุริยะ แต่ในที่สุดก็มีความเห็นคล้ายๆ กับแนวทฤษฎีของ Laplace ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Coral Von Weizsacker นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวว่า มีวง กลมของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองหรือเนบิวลา ต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ (Solar Nebular) ห้อมล้อมอยู่รอบดวงอาทิตย์

ขณะที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่ๆ และ ละอองสสารในกลุ่มก๊าซ เกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน แล้วกลายเป็นกลุ่มก้อนสสาร ขนาดใหญ่ จนกลายเป็น เทหวัตถุแข็ง เกิดขั้นในวงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่า ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์นั่นเอง

Source: https://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2550/101/g10/suriya.html

 ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์
 

  ดาวพุธ (Mercury)  ดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งกินเวลาเพียง 44 วันหรือราวเดือนครึ่ง เราจะมองเห็นดาวพุธได้ในระดับต่ำทางของฟ้าตะวันออกหรือขอบฟ้าตะวันตกเท่านั้น ตำแหน่งที่เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ดีที่สุดคือตำแหน่งที่เรียกว่า Greatest Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอยู่สองตำแหน่งคือ
   1) Greatest Elongation
West (GEW) หรือสูงสุดทางขอบฟ้าซีกตะวันออกจะเห็นได้ก่อนรุ่งเช้า 

   2) Greatest Elongation
East  (GEE) หรือสูงสุดทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเห็นได้หลังอาทิตย์ตก
     ซึ่งจะทำให้ดาวพุธอยู่สูงสุดบนขอบฟ้าได้ราว 28 องศา (แต่ในความเป็นจริงเราเห็นดาวพุธได้สูงไม่เกิน 17 องศา เนื่องจากต้องรอให้แสงอาทิตย์อ่อนไปเสียก่อน) ทั้งสองตำแหน่งจะทิ้งระยะเวลาห่างกันราวเดือนครึ่ง โดยที่ดาวพุธจะมีความสว่างสูงสุด -0.45

      ตำแหน่งที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวพุธได้มีอีก 2 ตำแหน่ง คือ
     1) Inferier conjunction หรือตำแหน่งหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือทำให้ดาวพุธมีโอกาส Transit ดวงอาทิตย์ด้วยแต่ก็ไม่ทุกครั้ง ดาวพุธจะมีขนาดเชิงมุมสูงสุด 12 arcsec หรือ 1 ส่วน 6000 เท่าของดวงจันทร์ เมื่ออยู่ใกล้โลกหรือที่ตำแหน่ง inferier conjunction นี้เอง   และ
     2) ตำแหน่ง Superier conjunction หรือตำแหน่งด้านหลังดวงอาทิตย์ ก็เป็นตำแหน่งที่เราไม่เห็นดาวพุธเช่นกัน และเป็นตำแหน่งที่ดาวพุธอยู่ห่างจากโลกที่สุด และมีขนาดเชิงมุมเล็กสุดกว้างราว 5 arcsec เท่านั้น 
     ดังนั้นการเลือกใช้กำลังขยายของกล้องดูดาวสูงสุดที่ 300 เท่า จะช่วยให้เห็นดาวพุธมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียง 1 ใน 50 ส่วนของฟิลด์ภาพเท่านั้น
    
 

     ดาวศุกร์(Venus) ดาวเคราะห์วงในอีกดวงที่มีเราจะเห็นได้เพียงทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก หรือ ตะวันตก เท่านั้นแบบเดียวกับดาวพุธ  มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224 วันครึ่ง หรือราว 7 เดือนครึ่ง น้อยกว่าโลกของเราเล็กน้อย ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจากซีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกด้านหนึ่งนั้นค่อยข้างนานเมื่อเทียบกับตำแหน่งของโลก กินเวลาราวๆ 9 เดือนครึ่งแตกต่างจากดาวพุธ ทำให้ใน 1 รอบปี ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยครั้งกว่าดาวพุธ  และเช่นเดียวกับดาวพุธตำแหน่งที่เราจะเห็นดาวศุกร์ได้ดีที่สุดคือตำแหน่ง Greatest Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์ แต่ดาวศุกร์มีตำแหน่งมุมบนขอบฟ้าสูงกว่าดาวพุธคืออยู่ได้สูงสุด 48 องศา  ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งช้า ทำให้เราสามารถเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าได้ก่อนตำแหน่ง Greatest Elongation และหลังจากผ่านตำแหน่ง Greatest Elongation ไปแล้ว ทำให้เราเห็นดาวศุกร์อยู่บนขอบฟ้าแต่ละด้านได้นานราว 7-9 เดือน
     ตำแหน่ง 
Greatest Elongation West หรือ สูงสุดทางขอบฟ้าซีกตะวันออก จะเห็นได้ก่อนรุ่งเช้า เราเรียกดาวศุกร์ช่วงนี้ว่า ดาวประกายพฤก(Morning Star)
     ตำแหน่ง
Greatest Elongation East  หรือ สูงสุดทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเห็นได้หลังอาทิตย์ตก เราเรียกดาวศุกร์ช่วงนี้ว่า ดาวประจำเมือง (Evening Star) ดาวศุกร์มีความสว่างสูงสุดบนท้องฟ้าที่ -4.38 และเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างอันดับหนึ่งบนท้องฟ้าด้วย
 
         ตำแหน่งที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้มีอีก 2 ตำแหน่งเช่นเดียวกับดาวพุธ คือ
     ตำแหน่ง
 Inferier conjunction หรือ ตำแหน่งหน้าดวงอาทิตย์ เป็นตำแหน่งที่น่าสนใจอีกอย่างของดาวศุกร์ ด้วยขนาดเชิงมุมที่ใหญ่ถึง 58 arcsec ซึ่งใหญ่กว่าดาวพุธประมาณ 5 เท่า ทำให้เราเห็นทรานซิทดาวศุกร์ได้เด่นชัดกว่าดาวพุธ แต่Transit ของดาวศุกร์เกิดขึ้นได้ยากกว่าดาวพุธ
     ตำแหน่ง  Superier conjunction หรือ ตำแหน่งด้านหลังดวงอาทิตย์ โดยจะทิ้งระยะห่างกัน 9 เดือนครึ่ง
        เฟสของดาวศุกร์และดาวพุธ จะมีลักษณะเว้าแหว่งคล้ายกับเสี้ยวของดวงจันทร์เมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์  เฟสของดาวศุกร์และดาวพุธจะเปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งของดาวเคราะห์บนวงโคจร ขณะที่ดาวเคราะห์อยู่ในตำแหน่ง Greatest Elongation เฟสของดาวเคราะห์จะมีลักษณะเป็นเสี้ยวเกือบ ครึ่งดวง โดยจะหันด้านสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ เสี้ยวของดาวเคราะห์จะบางลงเรื่อยๆเมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านหน้าดวง อาทิตย์แต่ขนาดเชิงมุมจะใหญ่ขึ้น  ในทางกลับกันเสี้ยวของดาวเคราะห์จะใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ไปด้านหลังดวง อาทิตย์หรือกำลังออกจากดวงอาทิตย์ แต่ขนาดเชิงมุมจะเล็กลงไปด้วย 
                  
                     เฟสของดาวเคราะห์วงใน (ดาวพุธ ดาวศุกร์) เมื่อมองจากโลก 
 

ตำแหน่งสูงสุดทางขอบฟ้าตะวันออก
ของดาวพุธและดาวศุกร์
Greatest Elongation West
 ตำแหน่งสูงสุดทางขอบฟ้าตะวันตก
ของดาวพุธและดาวศุกร์
Greatest Elongation Eest
      ดาวอังคาร (Mars)   ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ เราจึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก ต่างจากดาวพุธดาวศุกร์ที่เราจะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น
      สิ่งที่เราสนใจมองจากดาวอังคารคือ ขั้วน้ำแข็งและแถบพายุฝุ่นสีดำ เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งใสสามามารถมองทะลุผ่านได้ดี จึงเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้ จนเป็นที่น่าสนใจมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เริ่มมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นใช้   ซึ่งตำแหน่งของดาวอังคารที่เหมาะจะดูก็ช่วงตำแหน่ง
Opposition
    
ตำแหน่ง Opposition จะเป็นตำแหน่งที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยมีโลกของเราอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ นั่นคือจะเป็นตำแหน่งที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด โดยมีระยะทางใกล้สุดประมาณ 55 ล้านกิโลเมตร ซึ่งบันทึกไว้เมื่อ 22 สิงหาคม พศ.2467 แต่ระยะห่างนี้จะเปลี่ยนแปลงเพราะวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรี ล่าสุดการเข้าใกล้ของดาวอังคารที่สุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พศ.2546 และหลังจากนั้นตำแหน่ง Opposition ของดาวอังคารก็ไม่มีตำแหน่งใดที่ใกล้แบบนี้อีกจนกว่าจะถึงปี พศ.2561 ดังนั้นช่วงนี้ถ้าดาวอังคารมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition อีกก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่เพราะอยู่ไกลพอสมควร
 

    ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่ มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา  11 ปี 11 เดือน หรือ ราว 12 ปี ทำให้ดาวพฤหัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้าๆปีละ 1 จักราศี 
    ตำแหน่งที่เราจะสังเกตดาวพฤหัสที่ดีที่สุดก็คือตำแหน่ง Opposition เช่นกัน แม้ตำแหน่งนี้จะเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับดาวเคราะห์ชั้นนอกที่อยู่ไกลๆจะมีผลของเรื่องความแตกต่างของระยะห่างน้อยมากจนเกือบตัดทิ้งไปได้
    สิ่งที่เราสนใจในตำแหน่ง Opposition อีกเรื่องก็คือ เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์อยู่บนท้องฟ้านานที่สุด โดยปกติจะปรากฏสว่างสุกใสให้เห็นทางขอบฟ้าตะวันออกตั้งแต่หัวค่ำ และ ตกลับฟ้าทางทิศตะวันตกใกล้รุ่งเช้า ทำให้ดาวเคราะห์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานเกือบ 12 ชั่วโมง
      ดาวพฤหัสมีสิ่งที่เราสนใจมองผ่านกล้องดูดาวก็คือ จุดแดงยักษ์ (Great Res Spot) รือ GRS ึ่งเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดราว 3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก  GRS จะมีลักษณะเป็นจุดสีแดงเข้มแต่เห็นได้ยากจากกล้องขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะต้องใช้ฟิลเตอร์สีช่วย  GRS มีการเปลี่ยนไปตามการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสทุกๆ 10 ชั่วโมงโดยประมาณ ดังนั้นการสังเกตจะต้องหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมด้วย
      ดวงจันทร์กาลิเลียน หรือ ดวงจันทร์ 4 ดวงใหญ่ของดาวพฤหัส คือ ไอโอ  ยูโรป้า แกนิมีด และ คาลิสโต ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากกล้องดูดาวขนาดเล็กที่มีกำลังขยายตั้งแต 30 เท่าขึ้นไป  สิ่งที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ทั้ง 4 ซึ่ง ไอโอ และ ยูโรป้า ดวงจันทร์วงในสุดจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่เร็วมาก
     

        

     ดาวเสาร์ (Saturn) ดาวเคราะห์วงนอกลำดับถัดมาต่อจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 29.5 ปี จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งในกลุ่มดาวจักราศีอย่างช้าประมาณ 2 ปี ต่อ 1 จักราศีขึ้นอยู่กับอาณาเขตของจักราศีกว้างแค่ไหน  
     ตำแหน่ง
Opposition ของดาวเสาร์ก็เช่นเดียวกันเป็นตำแหน่งที่ดาวเสาร์อยู่ใกล้โลกโดยเฉลี่ยนประมาณ 8 au. ซึ่งไกลพอสมควรทำให้ความแตกต่างของวงรีสามารถตัดทิ้งได้
     สิ่งที่เราสนใจดูจากดาวเสาร์คือ วงแหวน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของก้อนหิน ฝุ่นและก้อนน้ำแข็ง ที่หนาเพียง 10 กิโลเมตร แต่มีรัศมีกว้างหลายแสนกิโลเมตร  มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้มองเห็นได้จากบนโลก ซึ่งกล้องโทรทรรศน์คุณภาพดีๆจะสามารถแยกออกได้เป็น 3 ชั้นจากทั้งหมด 7 ชั้น
     เนื่องจากดาวเสาร์มีแกนหมุนเอียงทำมุม 26.7 องศากับแนวดิ่งที่ตั้งฉากระนาบโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ระนาบของวงแหวนที่อยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรเอง 26.7 องศาไปด้วย ซึ่งความสว่างของดาวเสาร์เมื่อมองจากโลก จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปด้วยตามระนาบของวงแหวนที่เอียงมาหาโลก โดยความสว่างของดาวเสาร์จะเปลี่ยนแปลง อยู่ระหว่างแมคนิจูด  -0.3 ถึง +0.8 
 


      
       ด้วยเหตุที่ระนาบของวงแหวนเอียงตามแกนเอียงของดาวเสาร์ เมื่อดาวเสาร์โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ ระนาบของวงแหวนเมื่อมองจากโลกก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้เนื่องจากวงแหวนมีความหนาน้อยมาก (10 ไมล์) ซึ่งจะเกิดปรากฏการณ์วงแหวนหาย (the ring edge-on) จะเกิดขึ้นทุกๆ ครึ่งรอบของการโคจรรอบดวงอาทิตย์หรือ ราว 14 ปี ต่อครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดเมื่อปี พศ.2538 (คศ.1995) และจะเกิดปรากฏการณ์นี้ให้เห็นอีกครั้งในปี พศ.2552 (คศ.2009)

 

       ดาวยูเรนัส(Uranus)  ดาวเคราะห์อันดับ 7 ของระบบสุริยะ ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 84 ปี นั่นหมายความว่าดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักราศี 1 ราศีกินเวลาประมาณ 7 ปีโดยเฉลี่ย   
      ดาวยูเรนัสมีความสว่างปรากฏ 5.85 ซึ่งเป็นความสว่างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าที่มืดสนิท แต่จะกลมกลืนไปกับดาวอื่นบนท้องฟ้าทำให้มองเห็นได้ลำบากถ้าไม่รู้ตำแหน่งที่แท้จริง ซึ่งกล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กก็สามารถมองเห็นได้ 
       

 

       ดาวเนปจูน(Neptune)  ดาวเนปจูนมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 165 ปี จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักราศีช้ามากคือราว 14 ปีต่อ 1จักราศี  
      ดาวเนปจูน
มีความสว่างปรากฏ 7.8 มองเห็นได้ลำบากต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาดตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไปและต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนด้วย 


     การเลือกกำลังขยายของอุปกรณ์ดูดาวที่เหมาะสม จะช่วยทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุท้องฟ้าได้ขนาดที่เหมาะสมตามไปด้วย  การใช้กำลังขยายต่ำไปอาจทำให้มองเห็นรายละเอียดได้ไม่ชัดนัก เช่น วัตถุท้องฟ้าห่างกัน 1 ใน 10 องศาหรือ 6 arcmin แต่ใช้กล้องสองตากำลังขยาย 7 เท่าซึ่งให้ฟิลด์ภาพกว้าง 7 องศา เราจะเห็นภาพวัตถุดังกล่าวอยู่ชิดกันมากจนแยกไม่ออกว่ามีวัตถุสองชิ้นอยู่ใกล้กัน
    ในทางตรงกันข้ามหากใช้กำลังขยายมากไปอาจจะทำให้ภาพที่เราต้องการเห็นล้นฟิลด์ภาพมองไม่เห็นทั้งหมด เช่น หากวัตถุอยู่ห่างกันราว 2 องศา แต่ใช้กำลังขยาย 50 เท่าฟิลด์ของภาพจะกว้างเพียง 1 องศาทำให้วัตถุท้องฟ้าล้นฟิลด์ออกไป

ตารางเทียบกำลังขยาย และ ขนาดของฟิลด์ภาพ

กล้องสองตา 7
x                   7 องศา
กล้องสองตา 10
x                 5 องศา
กล้องสองตา 12
x                 3 องศา
กล้องดูดาว   25
x                 2 องศา
                  30
x               1.5 องศา
                  50
x                1 องศา
                  70
x               40 arcmin
                100 x               30 arcmin 
                150
x               19 arcmin 
                200
x               15 arcmin 
                250
x               12 arcmin   
                300 x               10 arcmin 

ไม่ควรใช้กล้องดูดาวกำลังขยายเกิน 300 เท่า

การดูดาวเคราะห์มักใช้กำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป

  

Source: https://www.darasart.com/startonight/planet/planet.htm

ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะ และรูปภาพดาวเคราะห์ต่างๆ ได้ที่นี้ (คลิก)

อัพเดทล่าสุด