น่าน เมืองแห่งประวัติศาสตร์


1,597 ผู้ชม


จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี มีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นอันดับ 13 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน และมีลำน้ำหลายสายเช่น ลำน้ำน่าน ลำน้ำว้า ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] อาณาเขต

พื้นที่จังหวัดน่าน มีเขตแดนด้านเหนือและตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านใต้ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ นอกจากนี้แล้ว จังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดผ่านแดนถาวรสากลห้วยโก๋น-น้ำเงิน จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง

[แก้] ภูมิศาสตร์

จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับลาว แต่ก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญด้วยนั่นคือ แม่น้ำน่านซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง เป็นต้น

เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศหนาวจัด เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยภูเขาสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา ในอำเภอปัว มีความสูงถึง 1,980 เมตร

[แก้] ประวัติศาสตร์

เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ

[แก้] สมัยเมืองล่าง-วรนคร

เจ้าหลวงภูคา ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา

ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย

องค์พระบรมธาตุแช่แห้ง อนุสรณ์ความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้งใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

[แก้] สมัยล้านนา

ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

[แก้] สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่านเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อดีตเคยเป็นหอคำของเจ้าผู้ครองนครน่านในอดีต

ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่าง ๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านจนกระทั่งปัจจุบัน

ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

[แก้] กลุ่มชาติพันธุ์

ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (40 คนต่อตารางกิโลเมตร) กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์

1. ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสน และบริเวณต่าง ๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด

2. ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ ,ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนา และหัวเมืองต่าง ๆ บริเวรที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจ และอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง และอพยพมามากที่สุดยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของเจ้ากาวิลละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าอัตถวรปัญโญ แห่งนครน่าน และยุคของเจ้าสุมนเทวราช อีกทั้งมีการอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ ครั้งเกิดการปฏิวัติการปกครองประเทศของจีน ชาวไทลื้ออาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่กระจัดกระจายตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน มีมากที่สุด คืออำเภอปัว แทบทุกตำบล และอำเภอท่าวังผา สองแคว เชียงกลาง และทุ่งช้าง เลยไปถึงเฉลิมพระเกียตริ

ส่วนภาษาไทยลื้อในจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันออก ได้แก่ เมืองล้า เมืองมาง (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณชุมชนบ้านหนองบัวและแถวตำบลยอด อำเภอสองแคว) สำเนียงพูดใกล้เคียงกับภาษาไทยอีสานปนลาวพวน
  • ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันตก ได้แก่ เมืองยู้ เมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองเสี้ยว (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำย่าง บริเวณชุมชนตำบลยม-ศิลาเพชร เลยไปถึงศิลาแลง แถบลุ่มแม่น้ำปัว ถึงห้วยโก๋น) สำเนียงพูดเหมือนสำเนียงคนยองในจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่

3. ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน ตั้งบ้านเรือนที่บ้านฝายมูล อ.ท่าวังผา และบ้านหลับมืนพวน อ.เวียงสา

4. ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน ซึ่งอพยพมาจากเชียงตุง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางวัฒนธรรมจากคนเมือง ทั้งภาษาพูดและเครื่องแต่งกาย แต่บางหมู่บ้านยังมีการนับถือผีเจ้าเมืองของไทเขินอยู่ จึงรู้ว่าเป็นไทเขิน เช่นบ้านหนองม่วง อ.ท่าวังผา ส่วนบ้านเชียงยืน ตำบลยม ถูกชาวไทลื้อกลืนวัฒนธรรม จนไม่เหลือเค้าของชาวไทเขิน

5. ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง ซึ่งมีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง อาศัยอยู่บริเวณแถว อำเภอทุ่งช้าง ในปัจจุบันถูกกลืนวัฒนธรรม จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นชาวไทใหญ่


บริเวณที่สูงตามไหล่เขาเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่เรียกกันว่า ชาวเขา ได้แก่ ชาวม้ง เมี่ยน ลัวะหรือถิ่น ขมุ และรวมถึงชาวตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสาด้วย ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือหรือพูดคำเมืองสำเนียงน่าน

[แก้] ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1พระยาพิชัยชาญฤทธิ์พ.ศ. 2433-2435
2พระยาสุนทรนุรักษ์พ.ศ. 2435-2437
3หลวงชาญภูเบศร์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)พ.ศ. 2437-2439
4จหมื่นมหาดเล็ก (เรือง ภูมิรัตน์)พ.ศ. 2439-2444
5พระยาบรมนาทบำรุงพ.ศ. 2444-2449
6พระยาอุทัยมนตรี (พร จารุจินดา)พ.ศ. 2449-2450
7พระยาอมฤทธิ์ธำรง (ฉี่ บุญนาค)พ.ศ. 2450-2451
8พระยาทรธนพัฒน์ (เจิม จารุจินดา)พ.ศ. 2451-2454
9พระยาอารีราชการัณย (ม.ร.ว.ปาร นพวงศ์)พ.ศ. 2454-2467
10พระยาวรวิไชย วุฒิกรณ์ (เลื่อน สนธิรัตน์)พ.ศ. 2467-2470
11พระยาอนุบาล พายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา)พ.ศ. 2470-2471
12พระยากรุงศรี สวัสดิ์การ (จำรัส สวัสดิ์ชูโต)พ.ศ. 2471-2476
13พระเกษตร สรรพกิจ (นุ่ม วรรณโกมล)พ.ศ. 2476-2480
14พระบริหาร ทัณฑนิติ (ประเสริฐ เศวตกนิษฐ์)พ.ศ. 2480-2482
15พระชาติการ (ม.ร.ว.จิตร ดเนจร)พ.ศ. 2482-2482
16หลวงทรงประศาสน์ (ทองคำ นวลทรง)พ.ศ. 2482-2488
17ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์)พ.ศ. 2488-2488
18ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิจ อักษรสารสิทธิ์)พ.ศ. 2488-2489
19ขุนวิศิษฐ์ อุดรการ (กรี วิศิษฐ์อุดรการ)พ.ศ. 2489-2490
20นายชลอ จารุจินดาพ.ศ. 2490-2490
21นายนวล มีชำนาญพ.ศ. 2490-2496
22นายมานิต ปุรณพรรค์พ.ศ. 2496-2500
23หลวงอนุมัติ ราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ)พ.ศ. 2500-2503
24นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์พ.ศ. 2503-2510
25นายชิต ทองประยูรพ.ศ. 2510-2511
26พล.ต.ต.ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์พ.ศ. 2511-2514
27นายสุกิจ จุลละนันทน์พ.ศ. 2514-2517
28นายสวัสดิ์ ประไพพานิชพ.ศ. 2517-2518
29นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิพ.ศ. 2518-2520
30นายสายสิทธิ พรแก้วพ.ศ. 2520-2521
31พ.ท.น.พ.อุดม เพ็ชรศิริพ.ศ. 2521-2523
32นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญพ.ศ. 2523-2526
33นายประกอบ แพทยกุลพ.ศ. 2526-2528
34นายเฉลิม พรหมเลิศพ.ศ. 2528-2530
35นายกาจ รักษ์มณีพ.ศ. 2530-2532
36พ.ต.ปรีดา นิสัยเจริญพ.ศ. 2532-2533
37นายอำนวย ยอดเพชรพ.ศ. 2533-2535
38นายจิโรจน์ โชติพันธุ์พ.ศ. 2535-2536
39นายประวิทย์ สีห์โสภณพ.ศ. 2536-2537
40นายสุจริต นันทมนตรีพ.ศ. 2537-2539
41นายจเด็จ อินสว่างพ.ศ. 2539-2541
42นายเชิดพงษ์ อุทัยสางพ.ศ. 2541-2541
43ร.ต.ต.ธนะพงษ์ จักกะพากพ.ศ. 2541-2545
44นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุลพ.ศ. 2545-2548
45นายปริญญา ปานทองพ.ศ. 2548-2550
46นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์พ.ศ. 2550-2551
47นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตพ.ศ. 2551-2552
48นายวีรวิทย์ วิวัฒนวณิชพ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 99 ตำบล 848 หมู่บ้าน ได้แก่

 
  1. อำเภอเมืองน่าน อยู่ในบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นเมืองขนาดย่อม มีประชากรไม่หนาแน่น
  2. อำเภอแม่จริม อยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม
  3. อำเภอบ้านหลวง อยู่ทางตะวันตก ติดกับจังหวัดพะเยา มีผู้คนเบาบาง
  4. อำเภอนาน้อย ทางด้านใต้ของจังหวัด มีเส้นทางติดกับจังหวัดแพร่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และเสาดินนาน้อย
  5. อำเภอปัว อำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจทางตอนบนของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา พื้นที่โดยรอบมีสภาพเป็นภูเขา
  6. อำเภอท่าวังผา บริเวณช่วงกลางของจังหวัด มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้า ของหมู่บ้านไทยลื้อ และมีวัดเก่าแก่ คือวัดหนองบัว
  7. อำเภอเวียงสา เดิมเรียกอำเภอสา เป็นเสมือนประดูสู่จังหวัด มีน้ำตกดอยสวรรค์ วัดดอยไชย และวัดบุญยืน
  8. อำเภอทุ่งช้าง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่มั่นสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีอนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้างประดิษฐานอยู่
  9. อำเภอเชียงกลาง อำเภอเล็ก ๆ ทางตอนเหนือ มีรีสอร์ทสวย ๆ สำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง
  10. อำเภอนาหมื่น อำเภอทางใต้สุดของจังหวัด ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืด ที่อาศัยแอ่งน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ทำการประมง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
  11. อำเภอสันติสุข อำเภอขนาดเล็กทางตะวันออกของจังหวัด มีความสงบท่ามกลางขุนเขา
  12. อำเภอบ่อเกลือ มีบ่อเกลือโบราณและตำนานเก่าแก่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองภูคาสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะเป้นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่งน้ำว้า
  13. อำเภอสองแคว อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ติดกับจังหวัดพะเยา และมีด่านชายแดนไทยลาวทางตอนเหนือ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่า ชาวขมุ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูง
  14. อำเภอภูเพียง อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองน่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุแช่แห้ง
  15. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเหนือสุดของจังหวัดน่าน มีด่านชายแดนไทยลาวและหมู่บ้านชาวเขา เป็นแหล่งปลูกส้มสีทองที่สำคัญของจังหวัดและแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำน่าน

[แก้] อุทยาน วนอุทยาน สวนรุกขชาติ

  • อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางโดยมีพื้นที่ประมาณ 1,080,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน
  • อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ดอยเสมอดาว ผาหัวสิงห์ ผาชู้ เสาดิน แก่งหลวง หมู่บ้านประมงปากนาย เป็นต้น
  • อุทยานแห่งชาติแม่จริม อยู่ในอำเภอแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้า
  • อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 155,200 ไร่ หรือ 248.32 ตารางกิโลเมตร
  • อุทยานแห่งชาตินันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอบ้านหลวง เนื้อที่ประมาณ 548,125 ไร่ หรือ 877 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เนื้อที่ประมาณ 262,000 ไร่ หรือ 419.2 ตารางกิโลเมตร
  • อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีพื้นที่ประมาณ 155,375 ไร่ หรือ 248.6 ตารางกิโลเมตร
  • วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ในท้องที่บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 528 ไร่
  • สวนรุกขชาติแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง โดยมีอาณาเขตติดกับวัดพระธาตุแช่แห้ง มีเนื้อที่ประมาณ 72 ไร่
  • สวนรุกขชาติห้วยน้ำอุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา มีเนื้อที่ประมาณ 625 ไร่

[แก้] การคมนาคม

เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ของจังหวัดน่านมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ ไม่มาก และเป็นจังหวัดชายแดนติดกับประเทศลาว ดังนั้นการเดินทางมาจังหวัดน่านจึงมีเส้นทางที่จำกัด ไม่มีทางรถไฟ แต่ก็มีท่าอากาศยานน่าน รวมทั้งมีถนนสายหลักที่ตัดผ่านตลอดความยาวตั้งแต่เหนือลงมาและมีสภาพผิวถนนที่ดี สามารถใช้งานได้ตลอดปี

[แก้] ถนน

เครือข่ายถนนในจังหวัดประกอบด้วยแนวถนนในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันตก-ตะวันออก มีถนนลาดยางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ และจังหวัดใกล้เคียง

  • ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ ได้แก่
  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร – ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 (ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน - จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน(เขตแดนไทย/ลาว))
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (แยกทางหลวงหมายเลข 1021 (จุน) - น่าน)
  4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1083 (นาน้อย - บรรจบทางหลวงหมายเลข 1123 (ปางไฮ))
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 (ท่าวังผา - เชียงคำ)
  6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 (แยกทางหลวงหมายเลข 101 (ร้องกวาง) – นาน้อย)
  • ระยะทางระหว่างจังหวัด
  1. แพร่ 118 กิโลเมตร
  2. พะเยา 151 กิโลเมตร
  3. อุตรดิตถ์ 190 กิโลเมตร
  4. เชียงราย 220 กิโลเมตร
  5. เชียงใหม่ 331 กิโลเมตร
  6. กรุงเทพมหานคร 668 กิโลเมตร

การเดินทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ-น่านใช้เวลาประมาณ 9.20 ชั่วโมง

  • ระยะทางระหว่างอำเภอ
1.เมืองน่าน5 กิโลเมตร9.นาหมื่น80 กิโลเมตร
2.เวียงสา24 กิโลเมตร10.บ้านหลวง48 กิโลเมตร
3.ปัว60 กิโลเมตร11.สันติสุข32 กิโลเมตร
4.ทุ่งช้าง90 กิโลเมตร12.บ่อเกลือ90 กิโลเมตร
5.ท่าวังผา42 กิโลเมตร13.สองแคว78 กิโลเมตร
6.นาน้อย60 กิโลเมตร14.เฉลิมพระเกียรติ138 กิโลเมตร
7.เชียงกลาง76 กิโลเมตร15.ภูเพียง5 กิโลเมตร
8.แม่จริม38 กิโลเมตร

[แก้] ทางรถไฟ

จังหวัดน่านไม่มีเส้นทางรถไฟผ่าน แต่สามารถเดินทางมาลงที่สถานีรถไฟเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่่ แล้วเดินทางด้วยถนนระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มายังตัวจังหวัดได้

[แก้] เครื่องบิน

สนามบินพาณิชย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองห่างประมาณ 3 กิโลเมตร มีเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานน่าน สัปดาห์ละ 5 วัน

[แก้] แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้

วัดพระธาตุช้างค้ำภายในตัวเมืองน่าน ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

จังหวัดน่านอาจไม่มีชื่อเสียงเป็นอันดันต้น ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว แต่ความจริงแล้ว ที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้สนใจได้ท่องเที่ยวมากมายไม่รู้จบ ทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี แหล่งอารยธรรมโบราณ โดยที่เพิ่งค้นพบในเขตอำเภอเมืองน่าน ส่วนโบราณสถานโดยเฉพาะวัดเก่าแก่มีให้เห็นแทบทุกอำเภอ ได้แก่ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดด้าน วัดภูมินทร์ หอคอ วัดหนองบัว วัดบุญยืน ซึ่งล้วนแต่มีอายุนับร้อย ๆ มี มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทั้งสิ้น

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็มีความหลากหลาย เช่น เส้นทางชมธรรมชาติหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ในอำเภอทุ่งช้าง อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง และเสาดินที่อำเภอนาน้อย บ่อเกลือโบราณในอำเภอบ่อเกลือ หรือการล่องแก่งน้ำว้าที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดเส้นทาง เป็นต้น

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วทุกอำเภอ ด้วยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานบุญประเพณีที่สำคัญ เช่น งานแข่งเรือ งานไหว้พระธาตุ ส่วนผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงก็สามารถชมการแสดงนาฏศิลป์ที่งดงาม รวมทั้งดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ดนตรีวงปี่จุ้ม จ๊อยซอ ฟ้อนแง้น เป็นต้น

[แก้] ชาวน่านที่มีชื่อเสียง

[แก้] การศึกษา

[แก้] สถาบันอุดมศึกษา

[แก้] สถาบันอาชีวศึกษา

[แก้] โรงเรียน

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

อัพเดทล่าสุด