จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดในภาคกลางตอนบน ของประเทศไทย
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1261 หมู่บ้าน
[แก้] อาณาเขต
- ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดกับ จังหวัดเลย
- ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ
- ทิศใต้ มีอาณาเขตติดกับ จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดกับ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์
[แก้] อุทยาน
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ |
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
[แก้] การศึกษา
- โรงเรียน
- ระดับอุดมศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์
- มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
- สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์
[แก้] เศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจจังหวัด ภาวะการค้าของจังหวัดโดยทั่วไป เศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นจากภาคการเกษตร โดยผลผลิตที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวผิวมัน และข้าวฟ่าง เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจให้ขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง
[แก้] ภาคอุตสาหกรรม
ขยายตัวตามการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น โรงสีข้าว ไซโลอบเมล็ดพืช ซึ่งเป็นโรงงานขนาดกลางใช้เงินทุน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป การท่องเที่ยว อยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นมากในช่วงฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัด เนื่องจากภาครัฐบาลและเอกชน ได้จัดรายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น
[แก้] การก่อสร้าง
ชะลอตัวลดจากปีก่อน โดยการก่อสร้างการให้สินเชื่อ เพื่อการลงทุนยังคงหดตัว จากการจดทะเบียนนิติบุคคล ของบุคคลของผู้ ประกอบการรับเหมาก่อสร้างลดลง ร้อยละ 17.64 เงินทุนลดลงร้อยละ 41.56 ตามลำดับภาวะการค้าของจังหวัดในปี 2543 ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว
[แก้] ภาคการเงิน
ในปี 2543 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ประชาชนทั้งสิ้น 46 แห่ง ซึ่งสถาบันการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัทประกันชีวิต
[แก้] การจัดเก็บภาษีอากร
มีการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล อากรแสตมป์ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะและอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 346,963 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 394,292 ล้านบาท หรือการจัดเก็บภาษีอากรลดลง ร้อยละ 12.00 ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จำนวนทั้งสิ้น 8,591.38 บาท
[แก้] รายได้ประชากรต่อหัว
รายได้ประชากรต่อหัว / ปี 28,982 บาท สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ในปี 2539 พบว่า ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 28,982 บาทต่อปี เป็นอันดับ 56 ของประเทศ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 26,576.729 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการเกษตรมากที่สุดถึงร้อยละ 33.30 คิดเป็นมูลค่า 8,849.064 ล้านบาท รองลงมา เป็นสาขาค้าส่ง และค้าปลีกร้อยละ 20.64 คิดเป็นมูลค่า 5,486.151 ล้านบาท และสาขาบริการร้อยละ 12.52 คิดเป็นมูลค่า 3,327.126 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.03