พิษณุโลก เมืองน่าเที่ยวของไทยที่เราต้องขอยอมรับ


1,457 ผู้ชม


พิษณุโลก ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนสุดของประเทศไทย หรือเรียกว่า "เหนือล่างกลางบน" มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที

เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่านกับแม่น้ำเหตุ แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร

ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพิษณุโลกตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างและอยู่ในเขตภาคกลางตอนบนสุดของประเทศไทย เรียกกันว่า "เหลือล่างกลางบน" ห่างจากกรุงเทพมหานคร 320 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือติดต่อกับ อำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด (จังหวัดอุตรดิตถ์) และแขวงไชยบุรี ประเทศลาว
ทิศใต้ติดต่อกับ อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอสากเหล็ก (จังหวัดพิจิตร)
ทิศตะวันออกติดต่อกับ อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์) อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว (จังหวัดเลย)
ทิศตะวันตกติดต่อกับ อำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง (จังหวัดสุโขทัย) และอำเภอลานกระบือ (จังหวัดกำแพงเพชร )

[แก้] ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง วัดโบสถ์ เนินมะปราง นครไทย และชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง

จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส

ลานหินปุ่ม

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] สมัยก่อนกรุงสุโขทัย

ก่อนราชวงศ์พระร่วง ซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม

พ่อขุนศรีนาวนำถมเสวยราชย์เมืองเชลียง ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1762 พระองค์ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่

  1. พ่อขุนผาเมือง ครองเมืองราด-เมืองลุม
  2. พระยาคำแหงพระราม ครองเมืองสรลวงสองแคว

ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพงเข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาวซึ่งปกครองเมืองบางยาง ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาวตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

(ดูเพิ่ม อาณาจักรสุโขทัย)

[แก้] สมัยสุโขทัย

เมืองสองแควอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ยึดเมืองสองแคว ซึ่งเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย

ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่)

[แก้] สมัยอยุธยา

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จกรีธาทัพมาหมายจะชิงสุโขทัยซึ่งพระยายุทธิษฐิระ (พระอนุชาของพระองค์) ได้ไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระองค์จึงทรงสร้างเมืองใหม่บริเวณเมืองสองแควและเมืองชัยนาท ขนานนามว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว[2][3][4][5] โดยทรงหมายมั่นปั้นมือ ให้เป็นราชธานีฝ่ายเหนือคู่กับกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา

พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมืองการปกครอง ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006-พ.ศ. 2031 รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก

ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ. 2112-พ.ศ. 2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

[แก้] ด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐทางเหนือคือล้านนากับกรุงศรีอยุธยาในทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกัน ทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจพิษณุโลกเป็นเส้นทางสินค้า ของป่า และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ในปัจจุบันที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา

[แก้] ด้านการปกครอง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดระเบียบการปกครองที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วยในการบริหารงานคือ สมุหกลาโหมและสมุหนายก โดยหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า

[แก้] ด้านศาสนา

แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด

ในปัจจุบัน ทั้งพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร มีเรื่องเล่ากันว่า จากเดิมจะอัญเชิญพระพุทธชินราชมาด้วย แต่เมื่อเอาลงแพ เตรียมที่จะล่องลำน้ำน่านนั้น แพก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้จะตรวจเท่าไร ก็ไม่พบว่าแพติดอะไร แต่แพที่ใช้ในการย้ายก็ไม่ยอมไหลตามน้ำ จึงทำการบวงสรวงขอขมา แล้วนำขึ้นมาประดิษฐานไว้ตามเดิมจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่า ท่านเป็นห่วงเมืองของท่าน จะอยู่ปกป้อง

ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน และในปี พ.ศ. 2025 ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย

ในส่วนของวัดสุดสวาทดิ์นั้น ว่ากันว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับวัดนางพญา โดยวัดสุดสวาทดิ์นั้นเป็นวัดที่กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพิษณุโลกสร้างให้กับมเหสีที่รักมากที่สุด จึงตั้งชื่อให้ว่า "สุดสวาท" และมีการสร้างพระนางสุดสวาสดิ์ขึ้นมาด้วย พุทธคุณเท่ากับพระนางพญา วัดนางพญา

ในส่วนของวัดวังหินนั้น ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดที่ใช้ในการจัดทัพและปลุกขวัญกำลังใจให้กับทหาร กำลังพลก่อนที่จะทำการออกศึก โดยวัดนี้ ก็มีการจัดสร้างพระเครื่องที่เชื่อกันว่าถูกสร้างโดยพระนเรศวรด้วย คือ ลีลาวังหิน โดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี

[แก้] ด้านวรรณกรรม

หนังสือมหาชาติคำหลวงได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรมว่า เป็นวรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่านิพนธ์ขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาส และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยา เคยเป็นทั้งราชธานี เมืองลูกหลวง และเมืองเอก ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทำนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในสภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้าง แต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของชาวไทย มาจนถึงปัจจุบัน

[แก้] สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชสำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกโดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี

พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวข้าศึก จึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก

กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่าแต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดรบกัน 1 วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทยและแม่ทัพพม่ายืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้ก็เห็นรูปลักษณะของเจ้าพระยาจักรีแล้ว จึงได้กล่าวสรรเสริญและบอกเจ้าพระยาจักรีว่า

ท่านนี้รูปงามฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์... ...จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พระองค์จึงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ทราบข่าวว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพเมืองกำแพงเพชรไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองทัพหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้ เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทยไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลกและต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย

ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริเห็นว่า ไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จ พาทัพผ่าน บ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์

พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกนานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น

[แก้] สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นตั้งแต่ช่วงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงก่อนปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาคมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช

เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 15,000 คนซึ่งมีชาวจีน ประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสรสำแดง ชุมแสงสงครามพิพัฒน์ นครชุมทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่

พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย

เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลกได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วันจึงเสด็จกลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทุกพระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชและเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวเหล่านี้ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ทรงประทับพระทัยในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดเกล้าฯ ให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น

ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก

[แก้] หน่วยการปกครอง

แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองพิษณุโลก
  2. อำเภอนครไทย
  3. อำเภอชาติตระการ
  4. อำเภอบางระกำ
  5. อำเภอบางกระทุ่ม
  1. อำเภอพรหมพิราม
  2. อำเภอวัดโบสถ์
  3. อำเภอวังทอง
  4. อำเภอเนินมะปราง

[แก้] ประชากร

ประชากร ณ พ.ศ. 2551 รวมทั้งสิ้น 841,914 คน เป็นชาย 414,436 คน หญิง 427,478 คน

[แก้] การคมนาคม

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด - มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ตาคลี - เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายถนนทางหลวงวงแหวนเลี่ยงเมืองหมายเลข 126

นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้ว การเดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกยังสามารถมาด้วยรถไฟ หรือเครื่องบินก็ได้ โดยการบินไทย มีเที่ยวบินมายังท่าอากาศยานพิษณุโลกทุกวัน

[แก้] การศึกษา

จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงดังนี้

โรงเรียน
อาชีวศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องในด้านการเรียนรู้ ก็คือ โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล

[แก้] การรักษาพยาบาล

จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย, ศูนย์สุขภาพชุมชน, คลินิก, โรงพยาบาลรัฐ, โรงพยาบาลทหาร, โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือ โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และโรงพยาบาลกองบิน 46

จังหวัดพิษณุโลกยังมีโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย เช่น

[แก้] หมายเลขโทรศัพท์สถานที่สำคัญ

  • สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก โทร. 0 5525 8777, 0 5524 0199, 0 5522 5021-2
  • ตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก โทร. 0 5524 5357-8 หรือ 1699
  • สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. 0 5524 2430
  • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานพิษณุโลก โทร. 0 5524 3116-8
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 3 โทร. 0 5525 2742-3
  • สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. 0 5525 8005, 0 5524 4824
  • การบินไทย สำนักงานพิษณุโลก โทร. 0 5525 8020, 0 5525 8029
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โทร. 0 5596 5595-8
  • โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โทร. 0 5524 1608
  • โรงพยาบาลรวมแพทย์ โทร. 0 5524 2574, 0 5521 9307-11
  • โรงพยาบาลพิษณุเวช โทร. 0 5522 5245-54, 0 5524 4911-21
  • โรงพยาบาลรัตนเวช โทร. 0 5525 8620, 0 5521 0819-28
  • โรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ โทร. 0 5528 4228-32
  • สถานีดับเพลิงเทศบาลนครพิษณุโลก โทร. 0 5525 8000, 0 5523 0666
  • ที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก โทร. 0 5525 8013, 0 5525 8313, 0 5525 8037
  • ท่าอากาศยานพิษณุโลก โทร. 0 5530 1002
  • วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) โทร. 0 5525 8966, 0 5525 8609, 0 5521 3612

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

จังหวัดพิษณุโลก มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางด้านศิลปวัฒนะรรมและทางธรรมชาติ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

[แก้] ของดีจังหวัดพิษณุโลก

  • แหนมและหมูยอสุพัตรา
  • กล้วยตากบางกระทุ่ม
  • ไม้กวาดบ้านนาจาน
  • น้ำปลาบางระกำ
  • สุนัขพันธุ์บางแก้ว
  • ไก่ชนพันธุ์ไทยเหลืองหางขาว
  • พระเครื่อง
  • สมุนไพรทอด

อัพเดทล่าสุด