อุบลราชธานี จังหวัดของไทยที่ต้องรู้จัก


1,454 ผู้ชม


จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ

จังหวัดอุบลราชธานีมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

ในอดีต อุบลราชธานี คือพื้นที่ของอาณาจักรเขมร จนกระทั่งสมเด็จพระรามาธิบดีแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รวบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน หลังจากนั้นไม่นาน ปี พ.ศ. 2310 ก็ได้มีการแตกแยกเป็นหมู่เป็นเหล่าปกปักหลักฐานที่นั่น 20 ปีต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รวมก๊กหมู่เหล่า เป็นอาณาจักรสำเร็จ และได้สถาปนากรุงธนบุรี ครั้งนั้นพระวอ พระตา พร้อมด้วยท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้อพยพมาจากหนองบัวลำภู มาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณอำเภอดอนมดแดงในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2326 บริเวณของแม่น้ำมูล และต่อมาได้เกิดน้ำท่วมเกาะนั้น แล้วได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บริเวณตัวจังหวัดในปัจจุบัน และได้ตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และในปี พ.ศ. 2335 ได้กลายเป็นมณฑลอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการบริหารของมณฑลอิสาน ต่อมามณฑลอุบลราชธานีได้ยุบ โอนมาขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2468

(นามของเมืองในอดีต คือ นครเขตขันธ์กาบแก้วบัวบาน) (มีอารยะธรรมเก่าแก่มายาวนาน มีสมญาเรียกขานกันจากรุ่นสู่รุ่น ว่า เมืองอุบล คนนักปราชญ์)

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ และได้กลายเป็นจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 จังหวัดอุบลราชธานี ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในปีเดียวกัน จังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก โดยอำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2515 ต่อมาปี 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ

[แก้] อาณาเขต

แนวพรมแดน ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชาชนลาว และประเทศกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กม.

  • ติดต่อกับ สปปล. 361 กม. (จากอำเภอเขมราฐ-อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวง สะหวันนะเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาสัก)
  • ติดต่อกับ กัมพูชา 67 กม. (อำเภอน้ำยืนติดต่อกับจังหวัดเขาพระวิหาร)

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Khorat basin) โดยสูง จากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัด จากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอ โขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่ง ทางบริเวณชายแดน ตอนใต้ที่สำคัญคือ เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา ลักษณะภูมิสัณฐานของ จังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้

  • บริเวณ ที่เป็นสันดินริมน้ำ (River levee) เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนิน สันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบาง บริเวณสัน ดินริมฝั่งลำเซบาย
  • บริเวณที่ เป็นแบบลานตะพักลำน้ำ (Terrace) ที่เกิดจากการกระทำของขบวน การของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลาน ตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบ ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณ ที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงขึ้นมาพื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณ ทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออกและทางใต้บางแห่งใช้สำหรับทำนาและ บางแห่ง ใช้สำหรับปลูกพืชไร่
  • บริเวณที่เป็นแอ่ง (Depression) หรือที่ราบต่ำหลังแม่น้ำ (Back swamp) เกิดจากการกระทำของ ขบวนการของน้ำ พบบางแห่งใน บริเวณ ริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบายและลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
  • บริเวณที่ เป็นเนินตะกอนรูปพัด (Coalescing fans) สภาพพื้นที่แบบนี้มีลักษณะเด่น คือ รูปร่างจะเป็นรูปพัด เกิดจากหินในบริเวณ เหล่านั้น ถูกทำให้แตกหักสะสมอยู่กับพวกที่มีอนุภาคละเอียดกว่าเมื่อฝนตกลงมาในปริมาณมาก กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอน เหล่านั้น ออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลงก็จะ ตกตะกอนในบริเวณน้ำจะพบอยู่ ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
  • บริเวณที่ เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา (Lava flow hill) เป็นเนินเขา ที่เกิดจากการไหลของธาร ลาวา ดินบริเวณนี้จะมี ศักยภาพ ทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะชอลท์ บริเวณนี้จะพบ อยู่ในอำเภอน้ำยืน
  • บริเวณที่ ลาดเชิงเขา (Foot hill slope) เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิด จากขบวนการของน้ำ นานมาแล้วทับถมกัน บริเวณ นี้จะพบ อยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอ ตระการพืชผล
  • บริเวณที่ ลาดเชิงซ้อน (Slope complex) ลักษณะเป็นภูเขาหรือเทือกเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์จะพบบริเวณเทือกเขา พนมดงรักในอำเภอน้ำยืนอำเภอนาจะหลวยและอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่ง คือ เทือกเขาภูเขา ซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียม และอำเภอ ศรีเมืองใหม่

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา

จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ของจังหวัดอื่น ๆ

ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยไป จนถึงปลายเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วง ในเดือน มิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี และในช่วงปลายฤดูฝน มักจะมีพายุดีเปรสชั่นฝนตกชุกบางปีอาจมีภาวะ น้ำท่วมแต่ภาวะการณ์ไม่รุนแรงนัก

ฤดูหนาว เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อน ภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงตั้งแต่เดือนตุลาคมและจะสิ้นสุดปลายเดือนมกราคม

ฤดูร้อน ถึงแม้ว่าเคยปรากฏบ่อยครั้งว่าอากาศยังคงหนาวเย็นยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนใหญ่แล้วอากาศจะ เริ่มอบอ้าว ในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งอาจจะมีฝน เริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน แต่ปริมาณน้ำฝนมักจะ ไม่เพียงพอ เพาะปลูก นอกจากนั้นลักษณะภูมิอากาศทั่วไป คล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ จะมีอากาศร้อนและค่อนข้าง หนาวใน ฤดูหนาว ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ในช่วงเดือน มกราคมถึงเดือน พฤศจิกายน 2541 มีฝนตก ประมาณ 106 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,297.3 มิลลิเมตร

[แก้] หน่วยการปกครอง

จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2469 หมู่บ้าน

1.อำเภอเมืองอุบลราชธานี
2.อำเภอศรีเมืองใหม่
3.อำเภอโขงเจียม
4.อำเภอเขื่องใน
5.อำเภอเขมราฐ
6.อำเภอเดชอุดม
7.อำเภอนาจะหลวย
8.อำเภอน้ำยืน
9.อำเภอบุณฑริก
10.อำเภอตระการพืชผล
11.อำเภอกุดข้าวปุ้น
12.อำเภอม่วงสามสิบ
13.อำเภอวารินชำราบ
14.อำเภอพิบูลมังสาหาร
15.อำเภอตาลสุม
16.อำเภอโพธิ์ไทร
17.อำเภอสำโรง
18.อำเภอดอนมดแดง
19.อำเภอสิรินธร
20.อำเภอทุ่งศรีอุดม
21.อำเภอนาเยีย
22.อำเภอนาตาล
23.อำเภอเหล่าเสือโก้ก
24.อำเภอสว่างวีระวงศ์
25.อำเภอน้ำขุ่น

หมายเลข 6,13,16,17,18,23,27,28 เป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร

[แก้] ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง)พ.ศ. 2325-2338
2พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม)พ.ศ. 2338-2388
3เจ้าราชบุตรสุ้ยถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง
4พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ)พ.ศ. 2388-2409
5เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ)พ.ศ. 2409-2425
6หลวงจินดารัตน์พ.ศ. 2425-2426
7พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์)พ.ศ. 2426-2430
8พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์)ไม่ทราบข้อมูล
9พระโยธีบริรักษ์ไม่ทราบข้อมูล
10พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)ไม่ทราบข้อมูล
11พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์)ไม่ทราบข้อมูล
12หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร)ไม่ทราบข้อมูล
13อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต)พ.ศ. 2456-2458
14อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์)พ.ศ. 2458-2465
15อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา)พ.ศ. 2465-2469
16อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน)พ.ศ. 2469-2471
17อำมาตย์โทพระยาสิงหบุทนุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ)พ.ศ. 2471-2473
18อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส)พ.ศ. 2473-2476
19พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี)พ.ศ. 2476-2478
20อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์)พ.ศ. 2478-2481
20อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา)พ.ศ. 2481-2481
21อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร)พ.ศ. 2481-2482
22อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์)พ.ศ. 2482-2483
23พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร)พ.ศ. 2483-2484
24หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์)พ.ศ. 2484-2487
25หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา)พ.ศ. 2487-2489
26นายเชื้อ พิทักษากรพ.ศ. 2489-2490
27หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร)พ.ศ. 2490-2492
28นายชอบ ชัยประภาพ.ศ. 2492-2494
29นายยุทธ จัณยานนท์พ.ศ. 2494-2495
30นายสง่า สุขรัตน์พ.ศ. 2495-2497
31นายเกียรติ ธนกุลพ.ศ. 2497-2498
32นายสนิท วิไลจิตต์พ.ศ. 2498-2499
33นายประสงค์ อิศรภักดีพ.ศ. 2499-2501
34นายกำจัด ผาติสุวัณณ์พ.ศ. 2501-2509
35นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์พ.ศ. 2509-2513
36พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตรพ.ศ. 2513-2516
37นายเจริญ ปานทองพ.ศ. 2516-2518
38นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์พ.ศ. 2519-2520
39นายประมูล จันทรจำนงพ.ศ. 2520-2522
40นายบุญช่วย ศรีสารคามพ.ศ. 2522-2526
41นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์พ.ศ. 2526-2528
42เรือตรีดนัย เกตุสิริพ.ศ. 2528-2532
43นายสายสิทธิ พรแก้วพ.ศ. 2532-2535
44นายไมตรี ไนยกูลพ.ศ. 2535-2537
45นายนิธิศักดิ์ ราชพิธพ.ศ. 2537-2538
46นายยุวัฒน์ วุฒิเมธีพ.ศ. 2538-2540
47นายชาติสง่า โมฬีชาติพ.ศ. 2540-2541
48นายศิวะ แสงมณีพ.ศ. 2541-2543
49นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์พ.ศ. 2543-2544
50นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์พ.ศ. 2544-2546
51นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตรพ.ศ. 2546-2548
52นายสุธี มากบุญพ.ศ. 2548-2550
53นายชวน ศิรินันท์พรพ.ศ. 2550-ปัจจุบัน

[แก้] การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางบก

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

อัพเดทล่าสุด