สระบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และพรั่งพร้อมด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย
จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดทั้งภาคอีสานและภาคกลาง ได้แก่ ตอนเหนือ ติดกับจังหวัดลพบุรี ทางตะวันออกติดกับนครราชสีมา ทางใต้ติดกับนครนายก ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนทางตะวันตกติดกับพระนครศรีอยุธยาและลพบุรี
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] ภูมิศาสตร์
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
[แก้] ประวัติศาสตร์
สระบุรี เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งแต่โบราณ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ์ การตั้งเมืองนี้สันนิษฐานว่า พระองค์โปรดเกล้าฯให้แบ่งเขตพื้นที่บางส่วนของเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายกมารวมกัน ตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามศึกสงคราม เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จึงมักพบเรื่องราวของจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับการศึกสงครามอยู่เสมอ สำหรับที่มาของคำว่า สระบุรี สันนิษฐานว่า เพราะเหตุที่ทำเลที่ตั้งครั้งแรกมีบึงอยู่ใกล้ คือ บึงหนองโง้ง เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า สระ มารวมเข้ากันกับคำว่า บุรี เป็นชื่อเมือง สระบุรี
[แก้] ภูมิอากาศ
สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1147.6 มิลลิเมตร มีฤดูต่าง ๆ 3 ฤดูคือ 1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง 2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน 3. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 111 ตำบล 965 หมู่บ้าน
[แก้] อุทยาน
[แก้] การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาสระบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
[แก้] เส้นทางคมนาคม
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ที่ตัดผ่านขึ้นไปยังภาคเหนือ และหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่ตัดผ่านขึ้นไปยังจังหวัดภาคอีสาน ขณะเดียวกัน ยังมีทางรถไฟสายอีสานและสายเหนือตัดผ่านด้วย
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
Inthaninnam.jpg อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia floribunda) ต้นไม้ประจำจังหวัด |
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสุพรรณิการ์ (Cochlospermum regium)
- คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง
- คำขวัญประจำจังหวัด (เดิม) : พระพุทธบาทลือนาม แหล่งน้ำอุดม นมเนื้อมากมาย หลากหลายโรงงาน ถิ่นข้าวสารพันธุ์ดี มีมะม่วงรสเลิศ งามบรรเจิดธรรมชาติ