จังหวัดนครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] ภูมิศาสตร์
ตัวเมืองตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช โดยมีลำตะคองและลำน้ำสาขาอื่นๆไหลหล่อเลี้ยงบริเวณด้านเหนือของเมือง และ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตัวเมืองประกอบด้วยประตูเมืองนครราชสีมาทั้ง 4 ทิศ คือ ประตูชุมพล (ทิศตะวันตก) ประตูพลแสน (ทิศเหนือ อีกชื่อคือประตูน้ำ) ประตูพลล้าน (ทิศตะวันออก) และประตูไชยณรงค์ (ทิศใต้ อีกชื่อคือประตูผี) ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 4 สระ คือ สระแก้ว สระแมว สระขวัญ และสระบัว
บริเวณรอบเมืองเป็นที่ราบ ทุ่งนา สวนผัก-ผลไม้ และ ที่เกษตรกรรม ปัจจุบันจากการขยายตัวของเมืองทำให้ค่อยๆเปลี่ยนสภาพเป็นแหล่งการค้า อุตสาหกรรม และ ที่อยู่อาศัย ในบริเวณด้านใต้ของเมืองเป็นเขตทหาร คือ ค่ายสุรนารี ของกองทัพบก และ กองบิน 1 ของกองทัพอากาศ
โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้เมืองเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกทั้งทางถนนและทางราง ของภาคอีสาน โดยมีทางหลวงสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพผ่าน และ เป็นชุมทางรถไฟของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองสายคือ สายนครราชสีมา-อุบลราชธานี และ สายนครราชสีมา-ท่านาแล้ง(ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
[แก้] ประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองเสมา (Sema) ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ต่อมาในสมัยขอมพระนครมีการสร้างเมืองโคราช(Angkor Raj) หรือ นครราช อยู่ในบริเวณเดียวกัน และ มีเมืองพิมาย(อำเภอพิมายในปัจจุบัน)เป็นเมืองสำคัญของขอมในบริเวณนี้
มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับ เมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช [Angor Riaj หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด] (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมือง อโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ หรือในความหมายของ รัฐกันชน ในปัจจุบัน นครราชสีมา จึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่น ๆ
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย) จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า "เมืองนครราชสีมา" ทรงโปรดให้พระยายมราชเป็นเจ้าเมือง
เดอ ลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง
ในช่วงเริ่มต้นสองปีแรกของแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาจึงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน
หลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เจ้าเมืองพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธได้ตั้งตังเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดยพระเจ้าตาก หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ และ พระยาอนุชิตราชา ในการสงครามกับล้านช้างและเขมร
รัชกาลที่ 1 ทรงยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเมืองประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมร มีเจ้าพระยานครราชสีมาเป็นผู้สำเร็จราชการ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวเมืองนครราชสีมามีบทบาทในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา ได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี จากนั้นโคราชได้กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ - นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ในสมัยรัชกาลที่ 7
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานอยู่หน้า ประตูชุมพล ประตูเมืองทางด้านทิศตะวันตก
- รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานอยู่หน้า ประตูชุมพล ประตูเมืองทางด้านทิศตะวันตก
- ต้นสาธร (Millettia leucantha Kurz var. buteoides)
- ต้นสาธร (Millettia leucantha Kurz var. buteoides)
[แก้] เพลงประจำจังหวัด
เพลง "นครราชสีมา"
เนื้อร้อง : พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
บรรเลงโดย วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร เปิดฟัง ตัวอย่างบทเพลง นครราชสีมา - หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ media help
(สร้อย) ราชสีมาเหมือนดังศิลาที่ก่อกำแพง
สยามจะเรืองกระเดื่องเขตแดน ด้วยมีกำแพงคือราชสีมา
(ชาย) ชาวนครราชสีมาแต่โบราณ
เหี้ยมฮึกกล้าหาญยิ่งหนักหนา
ศึกเสือ เหนือใต้ที่ไหนมา
เลือดนครราชสีมาไม่แพ้ใคร (สร้อย)
(หญิง) แต่ก่อนกาลท่านวีรสตรี
ท้าวสุรนารีผู้เป็นใหญ่
กล้าหาญยอดยิ่งผู้หญิงไทย
มิ่งขวัญธงชัยของเมืองเรา (สร้อย)
(ชาย) มาพวกเราชาวนครราชสีมา
หน้าเดินรีบมาสู้กับเขา
หากศัตรูไม่เกรง ข่มเหงเรา
สู้เขา สู้กันอย่าพรั่นใจ (สร้อย 2 ครั้ง )
[แก้] ข้อมูลการปกครอง
[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค
แบ่งปกครองแบ่งออกเป็น 32 อำเภอ 289 ตำบล 3743 หมู่บ้าน
[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 77 เทศบาลตำบล และ 261 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมืองนครราชสีมา
อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอบัวใหญ่ อำเภอปักธงชัย | อำเภอพิมาย อำเภอโนนสูง
อำเภอโชคชัย อำเภอด่านขุนทด
อำเภอครบุรี | อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอขามสะแกแสง อำเภอคง อำเภอโนนไทย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเสิงสาง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจักราช | อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชุมพวง อำเภอโนนแดง อำเภอบัวลาย อำเภอประทาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีดา อำเภอหนองบุญมาก อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอเทพารักษ์ |
[แก้] เศรษฐกิจ
นักลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างชาติต่างให้ความสำคัญกับจังหวัดนี้มาก จึงได้ตั้งฉายาให้กับจังหวัดนี้ว่าเป็น "มหานครแห่งอิสาน" เป็นเสมือนเมืองหลวงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นศูนย์กลางทางด้านต่าง ๆ ของภูมิภาค ได้แก่ การปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การลงทุน การสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ มีคำขวัญของเมืองโคราชว่า มหานครแห่งอิสาน เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ประตูเชื่อมโยงพันธมิตร สร้างเศรษฐกิจสู่สากล
[แก้] กลุ่มประชากร
ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช) และอีกกลุ่มคือ ลาว (หรือไทยอีสาน) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก
[แก้] ไทย
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนไทยในส่วนกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล (ไท-เสียม) อาจมีเขมรและมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา
กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั่น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และละหานทราย)
[แก้] ลาว
ลาว (ลาวเวียง ไทยลาว หรือไทยอีสาน) เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทยโคราช แต่อพยพเข้ามาทีหลัง อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน และบางส่วนของอำเภอประทาย ห้วยแถลง ชุมพวง และสีคิ้ว เป็นต้น ไทยอีสานพูดภาษาอีสานและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่น ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ สมัยธนบุรี มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นใน และอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง
[แก้] มอญ
จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่า มีชาวมอญอยู่จำนวน 2,249 คน จากจำนวนประชากรของนครราชสีมา 402,668 คน ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีพระมหาโยธา (เจ่ง) เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น
[แก้] ข่า หรือส่วย
เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหัดบุรีรัมย์ ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น
[แก้] ชาวญัฮกุร หรือเนียะกุล
ชาวญัฮกุร หรือเนียะกุล เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุนนาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช
[แก้] ไทยวน
ไทยยวน หรือไทยโยนก และภาษาไทยยวน เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยยวน ใช้พูดในหมู่ไทยยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน
นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม ชาวจีน ชาวเวียดนาม และชาวแขก
[แก้] การศึกษา
จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง แบ่งตามเขตการศึกษา ทั้งหมด 7 เขต
[แก้] โรงเรียน
[แก้] โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง
- โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดนครราชสีมา(ชาย)
- โรงเรียนสุรนารีวิทยาโรงเรียนมัธยมศึกษา(สตรี)
- โรงเรียนบุญวัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์โรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนมหิศราธิบดีโรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์โรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนโคราชพิทยาคมโรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมาโรงเรียนมัธยมศึกษา(สห)
- โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา(เอกชน/สห)
- โรงเรียนมารีย์วิทยาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา(เอกชน/สห)
- โรงเรียนเมืองนครราชสีมาโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนอนุบาลเมืองนครราชสีมาโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนสุขานารีโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนวัดสระแก้วโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนสวนหม่อนโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนโยธินนุกูลโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนทหารอากาศบำรุงโรงเรียนประถมศึกษา(สห)
- โรงเรียนเสนานุเคราะห์โรงเรียนประถมศึกษา(สห)
[แก้] โรงเรียนนานาชาติ
- โรงเรียนนานาชาติเซนต์สตีเฟ่นเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง
- โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนติสมิชชั่นนครราชสีมา อำเภอเมือง
[แก้] สถาบันอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน)
- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย และ ศูนย์การศึกษาโคราช
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- วิทยาลัยนครราชสีมา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวัน
[แก้] สถาบันการอาชีวศึกษา
เป็นสถาบันที่จะเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติร่างกฏกระทรวงให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 19 สถาบัน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 สำหรับกลุ่มจังหวัด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ สุรินทร์ จะจัดตั้งสถาบันภายใต้ชื่อ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 มีวิทยาลัยในสังกัด 31 แห่ง เป็นสถาบันที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติ สำหรับระดับปริญญาตรี คาดว่าจะเปิดการเรียนการสอนได้ในปี 2553 โดยจะรับจากนักศึกษาที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เข้าศึกษาต่อเท่านั้น โดยจะเปิดในวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน วิทยาลัยในสังกัดในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย
- วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ - ปริญญาตรี (สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ)
- วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา
- วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา
- วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี
- วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย
- วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา
- วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา (NR-CBAT) เปิดสอนระดับ ปวช. - ปวส. ในด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง
- วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่
- วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง
- วิทยาลัยการอาชีพพิมาย
[แก้] วิทยาลัยเฉพาะทาง
- วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรนาฎศิลป์ชั้นต้น กลาง และสูง
[แก้] สถาบันวิจัย
[แก้] การสาธารณสุข
[แก้] อำเภอเมืองนครราชสีมา
- โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- โรงพยาบาลนครราชสีมา(โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาแห่งที่ 2 โคกกรวด เดิม)
- โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
- โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
- โรงพยาบาลหัวทะเล
- โรงพยาบาลกองบิน 1
- โรงพยาบาลกรุงเทพ ราชสีมา
- โรงพยาบาลเซนต์แมรี่
- โรงพยาบาล ป.แพทย์
- โรงพยาบาลโคราชเมโมเรียล
- โรงพยาบาลดิโกลเด้นท์เกต
- ศูนย์แพทย์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
[แก้] ศูนย์แสดงศิลป วัฒนธรรม
- โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
- เวทีแสดงเพลงโคราช ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม)
[แก้] พิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
[แก้] การคมนาคม
[แก้] รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง คือ
- เส้นทางผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านรังสิต วังน้อย จนถึงจังหวัดสระบุรี ข้ามทางต่างระดับมิตรภาพ ทางทิศตะวันออก ไปยัง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอแก่งคอย มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เรื่อยไปจนถึง อำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนินและจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 256 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เส้นทางผ่านเขตมีนบุรี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย จนถึงจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว ปักธงชัย เรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
[แก้] รถโดยสารประจำทาง
- เดินทางจากกรุงเทพฯ
มีรถโดยสารธรรมดา และ รถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 21 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีบริษัทเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 21 จำนวน 3 รายคือ
- บริษัท ราชสีมาทัวร์ จำกัด
- บริษัท แอร์โคราชพัฒนา จำกัด
- บริษัท สุรนารีแอร์ จำกัด
ซึ่งจะให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีขนส่งทั้งสองแห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 (ถนนบุรินทร์) และ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะเลือกเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ ปลายทางจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมาได้อีกด้วย
- เดินทางภายในจังหวัด
การเดินทางภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มีขนส่งสาธารณะให้บริการดังนี้คือ
- รถโดยสารประจำทางหมวด 1 และหมวด 4 (รถสองแถว) วิ่งบริการภายในเขตเทศบาล และ บริเวณใกล้เคียง รถโดยสารหมวด 1 แบ่งออกเป็น 21 สาย วิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงไปตามเส้นทางต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีรถเมล์โดยสารปรับอากาศจำนวน 2 สายวิ่งให้บริการคือ สาย 15 และ สาย 17
- รถจักรยานยนต์รับจ้าง, รถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อ วิ่งให้บริการผู้โดยสารภายในเขตตัวเมือง
- รถแท็กซี่มิเตอร์ (TAXI-METER) เปิดให้บริการในช่วงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดจอดรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 และศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้บริการโดยโทรศัพท์เลขหมายด่วน ปัจจุบันมีรถให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 50 คัน
ถ้าต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ จะมีรถโดยสารประจำทางหมวด 4 ให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายสายด้วยกัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งประเภทรถสองแถว และ รถบัสโดยสารประจำทางให้บริการ สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 นั้น จะมีรถโดยสาร ไปเฉพาะ อำเภอพิมาย และ ด่านเกวียน, อำเภอโชคชัย
- เดินทางระหว่างจังหวัด
มีทั้งรถโดยสารประจำทางธรรมดา และปรับอากาศ หมวด 2 และ 3 จำนวนหลายเส้นทางในจังหวัดต่าง ๆ วิ่งให้บริการผ่านจังหวัดนครราชสีมาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) ทุกวัน
นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางให้บริการรับส่งผู้โดยสาร จากต้นทางจังหวัดนครราชสีมา ไปยังปลายทางจังหวัดอื่น ในภาคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ภาคอีสาน ได้แก่ ชัยภูมิ, ขอนแก่น, อุดรธานี, หนองคาย, นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และ บุรีรัมย์
- ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ, สระบุรี, อยุธยา และ ลพบุรี
- ภาคตะวันออก ได้แก่ สระแก้ว, จันทบุรี, ชลบุรี, พัทยา, ระยอง และ ตราด
- ภาคตะวันตก ได้แก่ หัวหิน
- ภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, เชียงใหม่ และ เชียงราย
- สถานีขนส่งผู้โดยสาร
จังหวัดนครราชสีมา มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังอำเภอ หรือ จังหวัดต่างๆ ดังนี้
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
- พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร
- ห้องสุขา จำนวน 25 ห้อง (ห้องสุขาชาย 15 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 10 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 เครื่อง
สถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 480 เที่ยว สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 30,000 คน / วัน
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา เป็นสถานีขนส่งฯที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ นครราชสีมา ประกอบด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
- พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
- ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน
- ห้องสุขา จำนวน 76 ห้อง (ห้องสุขาชาย 24 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 52 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 68 เครื่อง
สถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 1,530 เที่ยว สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 150,000 คน / วัน
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย มีเนื้อที่ 7 ไร่ บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ประกอบด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 16 ช่องจอด พื้นที่ 3,280 ตารางเมตร
- ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 40 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 50 คัน
- ห้องสุขา จำนวน 10 ห้อง (ห้องสุขาชาย 5 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 เครื่อง
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 210 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน /วัน
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย ตั้งอยู่บริเวณตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ 54 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่งคือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ประกอบด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 18 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
- ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 15 คัน และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 25 คัน
- ห้องสุขา จำนวน 10 ห้อง (ห้องสุขาชาย 5 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 5 เครื่อง
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 230 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน / วัน
[แก้] รถไฟ
มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี) และ (กรุงเทพ - หนองคาย)ทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ, รถด่วน, รถเร็ว, รถธรรมดา วิ่งให้บริการจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ผ่าน จังหวัดนครราชสีมา ทุกวัน
นอกจากนี้ ยังมีขบวนรถท้องถิ่น วิ่งให้บริการระหว่างสถานีรถไฟนครราชสีมา ไปยังสถานีรถไฟจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี, อุดรธานี, หนองคาย, แก่งคอย จังหวัดสระบุรี อีกด้วย
[แก้] กีฬา
จังหวัดนครราชสีมา เป็นรับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง และ ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2007 ได้รับเกียรติให้เป็นเมืองหลัก ในการจัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 จนประสพผลสำเร็จเป็นอย่างดี
- นักมวยโคราช ได้สร้างชื่อจนเป็นที่ยอมรับในวงการมวยไทย และมวยสากล มาเป็นระยะเวลายาวนาน
- ทีมวอลเลย์บอลของโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ผลิตนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าสู่ทีมชาติอย่างต่อเนื่อง
- ทีมฟุตบอลประจำจังหวัดคือ สโมสรฟุตบอลนครราชสีมาKorat f.c.เคยชนะเลิศกีฬาเขต และชนะเลิศไทยแลนด์คัพ
- ทีมเซปัคตะกร้อประจำจังหวัด ทำการแข่งขันในตะกร้อไทยแลนด์ลีก
[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงจากนครราชสีมา
[แก้] บุคคลในประวัติศาสตร์
- พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาคนแรก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- เจ้าพระยานครราชสีมา (บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองนครราชสีมา ในฐานะหัวเมืองชั้นเอก เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ต้นตระกูล "ณ ราชสีมา")
- สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
- ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย ช่วยกอบกู้อิสรภาพให้เมืองนครราชสีมา
- เจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ) ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา
- นางสาวบุญเหลือ ผู้ร่วมกอบกู้เมืองนครราชสีมาร่วมกับท้าวสุรนารี จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์
- พระเทวาภินิมมิต ( ฉาย เทียมศิลป์ชัย - ศิลปินเอกในสมัย รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7 )
- เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)
[แก้] พระสงฆ์
[แก้] นายกรัฐมนตรี
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16,ประธานองคมนตรี
- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24,องคมนตรี
[แก้] นักการเมือง
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- น.พ.วรรณัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- นาย เทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
- นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวีอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์
- นายอัสนี เชิดชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- นาย ประทีป กรีฑาเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
- นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
- ร.ต.อ.คมกริช อินทรักษา นายกเทศมนตรีตำบลปรุใหญ่
- นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
[แก้] นักมวยไทย/นักมวยสากลอาชีพ
- หมื่นชงัดเชิงชก นักมวยไทยคาดเชือก
- ทับ จำเกาะ นักมวยไทยคาดเชือก
- บัว วัดอิ่ม นักมวยไทยคาดเชือก
- วิหค เทียมกำแหง
- สุข ปราสาทหินพิมาย ตำนานนักมวยไทยอาชีพ
- สามารถ ศรแดง ยอดมวยไทยในอดีต
- เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลกคนที่ 6 ของไทย
- พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ นักมวยสากลอาชีพ ผู้ถูกจารึกชื่อใน WBC Hall of fame
- รัตนพล ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก IBF
- รัตนชัย ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBO
- วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC และ WBA
- ฉัตรชัย สาสกุล นักมวยสากล ทีมชาติโอลิมปิก และ แชมป์โลก WBC
- นภา เกียรติวันชัย นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC
- สกัด พรทวี นักมวยสากลอาชีพ
- ไก่ชน ส.วรพิน
[แก้] นักกีฬา
- อุดมพร พลศักดิ์ นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004
- สุริยา ปราสาทหินพิมาย นักมวยสากล เหรียญทองแดงโอลิมปิก 2004
- สมจิตร จงจอหอ นักมวยสากล เหรียญทองโอลิมปิก 2008
- พัชรี แสนเมือง อดีตกัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย
- ปิยมาศ ค่อยจะโป๊ะ อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย
- อานนท์ สังข์สระน้อย นักฟุตบอลทีมชาติไทย ซีเกมส์ 2007
- หนึ่งนัดดา วรรณสุข นักกีฬาเทนนิส
- เรวดี วัฒนสิน (ศรีท้าว) อดีตนักกรีฑาทีมชาติไทย
- เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร อดีตนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นโค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- กัมปนาท อั้งสูงเนิน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- วิลาวัลย์ อภิญญาพงศ์ กัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย
- จารุณี สารนอก นักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิง ทีมชาติไทย
[แก้] นักวิชาการ
- สิทธิชัย โภไคยอุดม ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหานคร,อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
- นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
- วิสา คัญทัพ
- กำจัด มงคลกุล (อดีต นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)
[แก้] ผู้กำกับการแสดง
- ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับ "องค์บาก" และ "ต้มยำกุ้ง"
- ทรนง ศรีเชื้อ
[แก้] ผู้ประกาศข่าว
- วิเชียร ก่อกิจกุศล ผู้ประกาศข่าว "ช่อง 7 สี" (ศูนย์ข่าว 7 สี นครราชสีมา)
- ศุภกิจ กลางการ ผู้ประกาศข่าว "ช่อง 7 สี " (ศูนย์ข่าว 7 สี ภาคอีสาน)
[แก้] นักเขียน
- สยุมภู ทศพล (ประจิม วงศ์สุวรรณ)
- คำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)
- ชัยวัฒน์ คุประตกุล (ชัยคุปต์)
[แก้] นักแสดง / นางงาม
- นันทวัน เมฆใหญ่
- ปิยะมาศ โมนยะกุล (ปุ๊)
- ธงชัย ประสงค์สันติ (ธง)
- เพ็ญพิสุทธิ์ เลิศรัตนชัย (ส้มโอ)
- เวนย์ ฟอคคอร์เนอร์
- วรัทยา นิลคูหา (จุ๋ย)
- วงศกร ปรมัตถากร (นิว)
- กฤษณกันท์ มณีผกาพันธ์ (เต็งหนึ่ง)
- พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์ (เมจิ)
- เจเน็ท เขียว (นงนุช สมบูรณ์)
- ธงธง มกจ๊ก (คัชฑาเทพ เอี่ยมศิริ)
- พิศเพลิน พงษ์เจริญ (รองอันดับ 2 นางสาวไทย พ.ศ. 2527)
- ดวงเดือน จิไธสงค์ (รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529, รองอันดับ 1 นางสาวไทย พ.ศ. 2530)
- จริญญา หาญณรงค์ (รองอันดับ 3 นางสาวไทย พ.ศ. 2532)
- ยลรตี โคมกลอง (ส้มโอ ;ประณต นฤมิตสุวิมล )
- ปิยะภรณ์ ดีจริง (เดียร์) (รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส พ.ศ. 2551, Top 16 Miss Earth 2008)
- พรรณนภา ปราบภัย (น้ำตาล) (รองอันดับ 2 นางสาวไทย พ.ศ. 2549, Miss Model of Asia 2009)
[แก้] นักร้อง/นักดนตรี
[แก้] เพลงไทยสากล
- มนัสวิน นันทเสน (มนัสวิน นันทเสน),(ติ๊ก ชิโร่ )
- เสกสรร สุขพิมาย ( เสก โลโซ )
- แช่ม แช่มรัมย์ (วิวัฒน์ แช่มรัมย์ )
- ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF 4)
- กฤษณกัณท์ มณีผกาพันธ์ (เต็งหนึ่ง วง บี.โอ.วาย)
- รวิวรรณ จินดา (อุ้ย)
- อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม)
- นิตยา บุญสูงเนิน
- เทวัญ ทรัพย์แสนยากร นักดนตรีแจ๊ส
[แก้] เพลงลูกกรุง, ลูกทุ่ง และ เพื่อชีวิต
- สุเทพ วงศ์กำแหง
- แสนรัก เมืองโคราช(วิษณุ ศรีลอง )
- ศรชัย เมฆวิเชียร
- กำปั่น บ้านแท่น
- สัญญา พรนารายณ์
- คำมอด พรขุนเดช
- พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
- สุนารี ราชสีมา (สุนารี สอนนา)
- จักรพรรณ์ ครบุรีธีรโชติ (จักรพรรณ อาบครบุรี),(ก็อต)
- พรพรรณ วนา
- สมมาส ราชสีมา (บำรุง บุญสูงเนิน)
- ตั๊กแตน ชลดา (ชลดา ทองจุลกลาง)
- แอร์ สุชาวดี (ศิริพร พลรนา )
- สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ (เอิร์น เดอะสตาร์ 2)
- เจิน เจิน (พรประเชิญ บุญสูงเนิน)
- พาเมล่า เบาว์เด้นท์ (ศศิกาญจน์ชญา เจริญในเมือง),(ลูกน้ำ)
- ไหมไทย ใจตะวัน,ไหมไทย อุไรพร (มนต์ชัย รักษาชาติ)
- โจ สูงเนิน
- ดาวเรือง เมืองย่าโม
- สมชาย ใหญ่
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้] ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒธรรม
- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
- อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
- ประตูชุมพล
- อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย
- อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
- ปราสาทหินพนมวัน
- เมืองโบราณที่ตำบลโคราช และเมืองเสมา อ.สูงเนิน
- แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง
- ปรางค์กู่ อ.บัวใหญ่
- ปรางค์สีดา อ.สีดา
- ปราสาทพะโค อ.โชคชัย
- ปราสาทนางรำ อ.ประทาย
- วัดศาลาลอย
- วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง)
- วัดโนนกุ่ม (วัดหลวงพ่อโต) อ.สีคิ้ว
- วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด
- วัดป่าสาลวัน
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
- ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จมหาวีรวงศ์
- หมู่บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย
- แหล่งทอผ้าไหมปักธงชัย
- ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
[แก้] ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน
- อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (มรดกโลก World Heritage) อ.ปากช่อง
- อุทยานแห่งชาติทับลาน (มรดกโลก World Heritage) อ.วังน้ำเขียว
- พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินบ้านโกรกเดือนห้า อ.เมือง
- สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อ.วังน้ำเขียว
- สวนสัตว์นครราชสีมา
- เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว
- เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย