สุราษฎร์ธานี อีกหนึ่งเมืองจากใต้ที่น่าไป


1,947 ผู้ชม


จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า "สุราษฎร์" ใช้อักษรย่อ "สฎ" เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 64 ของประเทศ[1] นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่[2] และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลายหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่นเกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช [3] แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย

ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล

สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีผลิตผล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัด

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อ่าวบ้านดอนเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"[4]

นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าเจ้าศรีธรรมาโศก ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด[5] และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์"[4] โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "เมืองไชยา" ภายใต้สังกัดมณฑลชุมพร

เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ อ่าวบ้านดอน ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า อำเภอไชยา และให้ชื่อเมื่องเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" แต่เนื่องด้วยประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา"[6] และทรงพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปติไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัฎร์[4]

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด คือ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย [7]
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) ตั้งอยู่อำเภอพนม
  • คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
    • คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี: "สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"
  • เพลงประจำจังหวัด
    • สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี รุ่งเรืองสมเมืองคนดี อีกธารตาปี งามพระธีรราช ประทาน เป็นแดนอุดม ไม้ ปลา มะพร้าว มะเนิ่นนาน เหล่าราษฎร์สุขศานต์ มุ่งมั่นขยันทำกิน มิ่งขวัญ............. ชาวเมือง............. มีองค์พระธาตุ พุทธศาสน์ประเทืองถิ่น ชนกตัญญูยิ่ง เมตตาอยู่อาจินต์ ร่วมรักแผ่นดิน คนดีอยู่นี้ไชโย (ซ้ำอีกรอบ)

    • มนต์สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี สายน้ำตาปีไหลล่อง สองริมฝั่งน้ำเจิ่งนอง งามเรืองรองทั่วทั้งธานิน สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองมั่งมีทรัพย์สิน ผู้คนตั้งใจทำกิน ทั่วท้องถิ่นเจริญเพลินตา เขาศรีวิชัย อยู่ในอำเภอพุนพิน ดอนสัก พุมเรียง วังหิน ธารน้ำรินสวนโมกไชยา เขาสกเชี่ยวหลาน ท่าเพชร นาสารเคียนซา ทุ่งทองอนุรักษ์สัตว์ป่า น้ำตกวิภาวดี ร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดงแหล่งธรรม เกาะสมุยงามล้ำ ชุ่มฉ่ำชั่วนาตาปี หินตาหินยาย หินงูแหลมสอเจย์ดี เกาะพะงันแหล่งนี้ ยังมีสระมโนราห์ น้ำตกจอมทอง น่ามองอ่าวทองนายปาน เพลิดเพลินวนอุทยาท สมนามสุราษฎร์ธานี

[แก้] ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี [8]

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่งลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1พระยาวรฤทธิ์ฦาไชยไม่ทราบข้อมูล2พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขตพ.ศ. 2449-พ.ศ. 2458
3พระยาพิศาลสารเกษตร์พ.ศ. 2458-พ.ศ. 24594พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์พ.ศ. 2459-พ.ศ. 2461
5พระยาศรีมหาเกษตรพ.ศ. 2461-พ.ศ. 24636พระยาสุราษฎร์ธานีพ.ศ. 2464-พ.ศ. 2469
7พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์พ.ศ. 2470-พ.ศ. 24778หลวงสฤษฏสาราลักษ์พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2481
9หลวงอรรถกัลยาณวินิจพ.ศ. 2482-พ.ศ. 248510นายชลอ จารุจินดาพ.ศ. 2485-พ.ศ. 2486
11หลวงเกษมประศาสน์พ.ศ. 2486-พ.ศ. 248712ขุนสำราษราษฎร์บริรักษ์พ.ศ. 2487-พ.ศ. 2487
13นายแม้น อรจันทร์พ.ศ. 2487-พ.ศ. 248914ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2492
15นายเลื่อน ไขแสงพ.ศ. 2492-พ.ศ. 249616ขุนอักษณสารสิทธิ์พ.ศ. 2496-พ.ศ. 2497
17นายจันทร์ สมบูรณ์กุลพ.ศ. 2497-พ.ศ. 250118นายฉลอง รมิตานนท์พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2503
19นายประพันธ์ ณ พัทลุงพ.ศ. 2503-พ.ศ. 250920นายพร บุญยะประสพพ.ศ. 2509-พ.ศ. 2511
21นายคล้าย จิตพิทักษ์พ.ศ. 2511-พ.ศ. 251522นายอรุณ นาถะเดชะพ.ศ. 2515-พ.ศ. 2517
23นายอนันต์ สงวนนามพ.ศ. 2517-พ.ศ. 251924นายชลิต พิมลศิริพ.ศ. 2519-พ.ศ. 2521
25นายกาจ รักษ์มณีพ.ศ. 2521-พ.ศ. 252226นายสนอง รอดโพธิ์ทองพ.ศ. 2522-พ.ศ. 2524
27นายไสว ศิริมงคลพ.ศ. 2524-พ.ศ. 252628นายนิพนธ์ บุญญภัทโรพ.ศ. 2526-พ.ศ. 2530
29นายวิโรจน์ ราชรักษ์พ.ศ. 2530-พ.ศ. 253230นายดำริ วัฒนสิงหะพ.ศ. 2532-พ.ศ. 2533
31นายอนุ สงวนนามพ.ศ. 2533-พ.ศ. 253532นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2537
33นายประยูร พรหมพันธุ์พ.ศ. 2537-พ.ศ. 253834นายปรีชา รักษ์คิดพ.ศ. 2539-พ.ศ. 2540
35นายนิเวศน์ สมสกุลพ.ศ. 2540-พ.ศ. 254136นายภุชงค์ รุ่งโรจน์พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543
37นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์พ.ศ. 2543-พ.ศ. 254438นายยงยุทธ ตะโกพรพ.ศ. 2544-พ.ศ. 2545
39หม่อมหลวงประทีป จรูญโรจน์พ.ศ. 2545-พ.ศ. 254640นายธีระ โรจนพรพันธุ์พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2547
41นายวิจิตร วิชัยสารพ.ศ. 2547-พ.ศ. 254942ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้วพ.ศ. 2549-พ.ศ. 2550
43นายวินัย บัวประดิษฐ์พ.ศ. 2550-พ.ศ. 255144นายประชา เตรัตน์พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552
45นายดำริห์ บุญจริงพ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และอันดับ 1 ของภาคใต้[9] โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้

โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัดฯ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทองและยังมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่นเกาะนางยวน

[แก้] ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด [10] โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น

ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี

เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส [11] และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร [12]

[แก้] หน่วยการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,028 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

  1. อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  2. อำเภอกาญจนดิษฐ์
  3. อำเภอดอนสัก
  4. อำเภอเกาะสมุย
  5. อำเภอเกาะพะงัน
  6. อำเภอไชยา
  7. อำเภอท่าชนะ
  8. อำเภอคีรีรัฐนิคม
  9. อำเภอบ้านตาขุน
  10. อำเภอพนม
  1. อำเภอท่าฉาง
  2. อำเภอบ้านนาสาร
  3. อำเภอบ้านนาเดิม
  4. อำเภอเคียนซา
  5. อำเภอเวียงสระ
  6. อำเภอพระแสง
  7. อำเภอพุนพิน
  8. อำเภอชัยบุรี
  9. อำเภอวิภาวดี

แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 27 เทศบาลตำบล และ 119 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

  1. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
  2. เทศบาลเมืองท่าข้าม
  3. เทศบาลเมืองนาสาร
  4. เทศบาลเมืองเกาะสมุย
  5. เทศบาลตำบลวัดประดู่
  6. เทศบาลตำบลดอนสัก
  7. เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์
  8. เทศบาลตำบลเวียงสระ
  9. เทศบาลตำบลพุมเรียง
  10. เทศบาลตำบลตลาดไชยา
  1. เทศบาลตำบลท่าทองใหม่
  2. เทศบาลตำบลท่าฉาง
  3. เทศบาลตำบลพนม
  4. เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
  5. เทศบาลตำบลเกาะพะงัน
  6. เทศบาลตำบลบางสวรรค์
  7. เทศบาลตำบลท่าชนะ
  8. เทศบาลตำบลบ้านนา
  9. เทศบาลตำบลย่านดินแดง
  10. เทศบาลตำบลท่าขนอน
  1. เทศบาลตำบลเขาวง
  2. เทศบาลตำบลเคียนซา
  3. เทศบาลตำบลบ้านส้อง
  4. เทศบาลตำบลเขานิพันธ์
  5. เทศบาลตำบลช้างซ้าย
  6. เทศบาลตำบลขุนทะเล
  7. เทศบาลตำบลทุ่งหลวง
  8. เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น
  9. เทศบาลตำบลเมืองเวียง

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] การเกษตร

การประกอบอาชีพประมง

ประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 116,202 บาท ต่อปี[13] โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยใช้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกประมาณ 45% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ[14]

นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก่ กระบือ และเป็ดตามลำดับ ส่วนด้านการประมงนั้น มีทั้งการประมงน้ำเค็ม น้ำกร่อย การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และการประมงน้ำจืด [15][14]

[แก้] อุตสาหกรรม

ทางด้านอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด[14]

นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิบซั่ม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์[14]

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย

[แก้] ประชากร

ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัด ได้แก่ ชนพื้นเมืองนิกริโต ต่อมาเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับภายนอกมากขึ้น ก็ทำให้ชาวต่างชาติมาตั้งรกรากอยู่ที่สุราษฎร์ธานีมากขึ้น เช่น ชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวญวน จึงเกิดการผสมผสานสายเลือดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนและญวนมักจะตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในชุมชนเมือง ในขณะที่ชาวไทยมุสลิมและอินเดีย มักอาศัยอยู่ในชนบท และตามชายฝั่งทะเล[16]

[แก้] ศาสนา

ในอดีตจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับอิทธิพลการนับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธจากประเทศอินเดีย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเผยแพร่เข้ามาเมื่อใด[16] โดยในปัจจุบัน ประชากรของจังหวัดสุราษฎร์ธานีนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 97.5% ศาสนาอิสลามประมาณ 2% และศาสนาคริสต์ประมาณ 0.5% [17]

[แก้] การศึกษา

สุราษฎร์ธานีนับได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา ในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษานั้น ดูแลโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี แบ่งออกเป็น 3 เขต โดยแต่ละเขตจะรับผิดชอบการศึกษาของแต่ละอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีโรงเรียนในจังหวัดประมาณ 490 แห่ง [18] นอกจากนี้ ยังมีการจัดการเรียนในระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (และที่เปิดสาขาเป็นศูนย์การศึกษาสุราษฎร์ธานี) ดังต่อไปนี้ เช่น

สำหรับโรงเรียน ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

[แก้] ประเพณีและวัฒนธรรม

บริเวณริมฝั่งแม่น้ำตาปี ปัจจุบัน เป็นที่พักผ่อนของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี

[แก้] พระเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว

ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คืองานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ ซึ่งรถและเรือพนมพระ อาจจะตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลัก หรือฉลุไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ในงานพิธีจะใช้คนลาก เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมลากจูงรถหรือเรือพนมพระจะได้อานิสสงค์หลายประการ

การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอนๆ ด้วยการนำต้นไม้หรือกิ่งไม้ ประดับกับหลอดไฟสีต่างๆ บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว อุปกรณ์ประกอบฉากจะไม่นิยมนำสิ่งมีชีวิตเช่นปลาสวยงาม เต่า หรือสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งชนิดไดมาจัดประกอบฉาก เพราะเชื่อว่าเป็นการทรมานสัตว์ และจะไม่ได้รับอานิสสงค์ และตกแต่งด้วยเครื่อง อัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทำพิธีทอดผ้าป่า การจัดพุ่มผ้าป่ามีทั้งหน่วยงานในจังหวัด ทังภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประกวดกันด้วยงานประเพณีนี้จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึงโรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใด

ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้

[แก้] งานวันเงาะโรงเรียน

ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และกรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มีการนำผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี

[แก้] การละเล่นพื้นบ้าน

การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัด อาทิเช่น[19]

  • การละเล่นเด็ก ได้แก่ จุ้มจี้ จี้จิบ ลูกหวือ ชักลูกยาง ทองสูง กบกับ หมากโตน บอกโผละ ลูกฉุด ทอยหลุม เหยก เตย และหมากขุม
  • การละเล่นผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงชักพระอำเภอเกาะพะงัน เพลงบอก เพลงนา คำตัด ลิเกป่า มโนห์รา และหนังตะลุง

[แก้] อาหารพื้นบ้าน

  • ได้แก่ ผัดไทยไชยาและผัดไทยท่าฉาง โดยมีความแตกต่างกับผัดไทยภาคกลาง ที่ใส่น้ำกระทิ มีรสเผ็ดเล็กน้อย อาจจะใส่ เต้าหู้ หรือกุ้งเปนเครื่องเคียงด้วยก็ได้ทานพร้อมผัก ประเภทแกง แกงเหลือง แกงส้มอ้อดิบ ผัดสะตอใส่กะปิ แกงหมูกับลูกเหรียงเห็ดแครงปิ้งสาหร่ายข้อ แกงป่า ยำปลาเม็ง (เฉพาะที่อำเภอบ้านนาเดิมและอำเภอบ้านนาสาร) โล้งโต้ง (เฉพาะที่สุราษฎร์ธานี) ประเภทน้ำพริก น้ำพริกกะปิ น้ำพริงมุงมัง (น้ำพริกตะลิงปิง) น้ำพริกปลาทู ประเภทอาหารทะเล เนื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นชื่อเรื่องหอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และสดแล้ว ยังมีหอยหวาน ที่มีรสชาติดีเช่นกัน แล้วยังมีกุ้งแม่น้ำตาปีด้วย[20]

[แก้] ของดีเมืองสุราษฎร์

หอยนางรม

จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีของขึ้นชื่อที่เป็นที่รู้จักและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่

ไข่เค็มไชยา

มีแหล่งผลิตอยู่ในแถบอำเภอไชยา โดยใช้ไข่เป็ดในการทำไข่เค็ม โดยมีลักษณะพิเศษต่างจากถิ่นอื่น คือ ไข่จะแดงเป็นพิเศษและไม่คาว โดยวิธีการผลิตนั้นแตกต่างจากแหล่งอื่น คือ ใช้วิธีนำดินผสมแกลบเผาและเกลือมาพอกไข่เป็ด โดยไม่ใช้วิธีดองไข่ในน้ำเกลือ[21] [22]

เงาะโรงเรียน

มีต้นกำเนิดที่อำเภอบ้านนาสาร เป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม โดยชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค วอง นำเงาะมาปลูกที่เหมืองแร่ อำเภอบ้านนาสาร ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น ๆ ได้แก่ เงาะมีผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบาง ต่อมาพื้นที่แห่งนั้นได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนนาสาร ดังนั้น พันธุ์เงาะจึงได้ชื่อว่า "เงาะโรงเรียน" โดยในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้มีการขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะใหม่ แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ดังนั้น จึงได้ใช้ชื่อเงาะโรงเรียนอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา[23][24]

หอยนางรม

มีจุดกำเนิดการเพาะเลี้ยงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแหล่งเลี้ยงหอยนางรมที่ใหญ่ที่สุดคือบริเวณอ่าวที่ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าหอยนางรมมีขนาดใหญ่ เนื้อขาว สะอาด รสหวาน ไม่มีกลิ่นคาว[25][26]

ผ้าไหมพุมเรียง

ผ้าไหมพุมเรียงเป็นงานหัตถรรมของกลุ่มหมู่บ้านชาวไทยมุสลิม ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา เริ่มจากการความต้องการใช้ภายในครัวเรือน ต่อมา ได้พัฒนาเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม ซึ่งเดิมนั้นใช้การทอด้วยมือเป็นหลัก และได้พัฒนามาเป็นการทอด้วยกี่กระตุก เพื่อความสามารถในการผลิต ส่วนเส้นไหมที่นำมาทอผ้านั้นได้ใช้ไหมทอที่สั่งซื้อมาจากกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีการผลิตเส้นไหมขึ้นใช้เองแต่อย่างใด ส่วนลวดลายของผ้าไหมพุมเรียงที่ชาวบ้านพุมเรียง นิยมทอกันในปัจจุบันมี 5 ลาย ได้แก่ ลายราชวัตร ลายดอกพิกุล ลาบดอกโคม ลายนพเก้า และลายยกเบ็ด ปัจจุบันได้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้านุ่ง เสื้อ เนกไท กระเป๋าถือ กรอบรูป พวงกุญแจ โดยได้ผลิตส่งออกตลาดหาดใหญ่ และกรุงเทพมหานครเป็นหลัก[27]

ผ้าบาติกและผ้าถุง

เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคใต้ ซึ่งจะมีลวดลายที่มีเอกลักษณ์ สวยงาม นิยมนำไปใช้ เพราะมีราคาถูกและสวยงาม โดยจะมีแหล่งในการซื้อที่ตลาดสดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีชั้น 2 และ ร้านค้าตามสถานที่ท่องเที่ยว

ขนมใต้

เป็นขนมทั่วไปที่นิยมซื้อกันที่ภาคใต้เพราะมีราคาที่ถูก และหลากหลาย เช่น ขนมรูปหมี ช๊อกกาแลต เม็ดมะม่วงหิมพาน กาแฟ ปลากระป๋อง ลูกอม ลูกเกด อินทผลัม ขนมทานเล่น โดยจะมีแหล่งในการซื้อที่ตลาดสดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีชั้น 2

ผัดไทยไชยา และ ผัดไทยท่าฉาง

เป็นผัดไทยสุราษฎร์ธานี โดยจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมแล้วมีรสชาติที่เข้มข้นและเผ็ดกว่าผัดไทยปกติเล็กน้อย เครื่องเคียงจะเป็นกุ้งหรือเต้าหู้ ทานพร้อมกับผักหลากหลายชนิด มีขายทั่วไปตามร้านอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ตลาดศาลเจ้า

ขนมจีน

ขนมจีนเป็นอาหารใต้อีกชนิดหนึ่ง ที่จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นชื่อ โดยส่วนใหญ่จะรับประทานพร้อมกับน้ำยาปักษ์ใต้ หรือแกงไตปลา โดยเครื่องเคียงก็จะเป็นผักหลากหลายชนิด

[แก้] การคมนาคม

ป้ายบอกเส้นทางบริเวณ หน้า สนง.เทศบาลท่าข้าม อ.พุนพิน

สถานีรถไฟจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถานีขนส่ง จ. สุราษฎร์ธานี

บรรยากาศเมื่อมองออกจากห้องรับรองผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี

ระยะทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ

[แก้] ทางรถไฟ

ในเขตกรุงเทพมหานครสามารถใช้บริการรถไฟได้จากสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีรถไฟบางบำหรุ มีบริการเดินรถทุกวัน ระยะทาง 650 กิโลเมตร ผู้โดยสารต้องไปลงที่สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี(อยู่ที่อำเภอพุนพิน) ซึ่งใช้เวลาเดินทางปกติไม่เกิน 9 ชั่วโมง แล้วโดยสารรถประจำทาง หรือรถรับจ้างส่วนบุคคล ประชาชนแถวสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี จะเรียกว่า รถแท็กซี่ (เป็นรถป้ายดำ สีรถยนต์เหมือนกับรถนั่งส่วนบุคคล มีการจัดการคล้ายรถจักรยานยนต์รับจ้าง) เข้าตัวจังหวัด ระยะทาง 12 กิโลเมตร บริเวณสถานีรถไฟ หากเดินเลี้ยวซ้ายออกมา จะมีจุดบริการประชาชนของตำรวจ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอยู่ในบริเวณนั้น และสามารถตรวจสอบตารางการเดินรถไฟได้จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย

[แก้] ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานีทุกวัน ใช้เวลาเดินทางปกติไม่เกิน 8 ชั่วโมง รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี จุดเด่นของการโดยสารโดยรถประจำทางคือ สามารถเดินทางได้ถึงสถานีขนส่งจังหวัดสุราษฏร์ธานี แล้วสามารถใช้บริการรถสองแถวเข้าไปตัวเมืองอีกเล็กน้อยและยังมีบริษัทเดินรถเอกชนอีกหลายรายที่ให้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการรถโดยสารปรับอากาศกรุงเทพฯ-เกาะสมุย และกรุงเทพฯ-เกาะพะงันอีกด้วย

[แก้] ทางรถยนต์ส่วนบุคคล

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร แล้วตรงเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณแยกปฐมพร (จังหวัดชุมพร) ผ่านรอยต่อระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับ จังหวัดชุมพรที่อำเภอหลังสวนและอำเภอท่าชนะ เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านสหกรณ์สุราษฏร์ธานี (Co-Op) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 401 ผ่านอำเภอพุนพินซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานีเข้าสู่ตัวเมืองสุราษฎร์ธานี รวมระยะทางประมาณ 685 กิโลเมตร

[แก้] ทางอากาศยาน

การเดินทางระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางจากท่าอากาศยาน 4 แห่ง 4 เส้นทางคือ

  • เส้นทางแรก

เส้นทางระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพ (ดอนเมือง) - สุราษฎร์ธานี -กรุงเทพ (ดอนเมือง) เฉพาะสายการบิน วัน-ทู-โก

  • เส้นทางที่สอง

เส้นทางระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) - สุราษฎร์ธานี -กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) การบินไทยการบินไทย และ แอร์เอเชีย

  • เส้นทางที่สาม

เส้นทางระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) - สุราษฎร์ธานี (สมุย) -กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) เฉพาะสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ให้บริการบินไปกลับสมุย-กรุงเทพฯ

  • เส้นทางที่สี่

เส้นทางระหว่างท่าอากาศยานอู่ตะเภา (พัทยา) -สมุย-อู่ตะเภา (พัทยา) เฉพาะสายการบินบางกอกแอร์เวยส์

ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฏร์ธานีอยู่ในพื้นที่กองบิน 7 กองทัพอากาศ อำเภอพุนพิน ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 25 กิโลเมตร มีรถโดยสารบริการรับส่งระหว่างสนามบินและตัวเมืองในทุกเที่ยวบิน ไม่มีรถรับจ้าง (แท็กซี่ สามล้อ) หากจะเดินทางไปอำเภออื่น ๆ โดยรถโดยสารประจำทางจะต้องกลับเข้าตัวเมืองเสียก่อนถึงจะสะดวก บางครั้งหากต้องการไปจังหวัดชุมพรหรือจังหวัดระนองแบบไม่ต้องเดินทางเข้าตัวอำเภอเมืองฯ อาจจะพยายามหาวิธีเดินทางออกจากสนามบิน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร มายังถนนหลวงหมายเลข 41 รอรถโดยสารประจำทางบริเวณทางเข้าสนามบินได้เลย (ไม่มีป้ายหยุดรถประจำทางบริเวณนั้น และไม่ต้องข้ามถนนไปฝั่งตรงข้าม) แต่หากต้องการไปเกาะสมุยสามารถขึ้นรถโดยสารปรับอากาศที่บริการรับส่งตั้งแต่สนามบินไปยังเกาะสมุยได้ โดยจะมีรถโดยสารมารับทุกเที่ยวบินหรืออาจจะพักท่องเที่ยวในตัวเมืองสุราษฎร์ธานีเสียก่อนก่อนแล้วไปยังท่าเรือต่อไป

[แก้] ทางเรือ

ปัจจุบัน มีบริษัทเดินเรือให้บริการเดินเรือด่วน จากพัทยาตรงมายังเกาะสมุย การเดินทางโดยวิธีนี้เป็นการเดินทางเชิงท่องเที่ยวเสียมากกว่า เพราะไม่สะดวกและไม่รวดเร็ว ภายในจังหวัดฯ ยังมีท่าเทียบเรือ อ.ดอนสัก ซึ่งมีบริการเรือโดยสารขนาดใหญ่เส้นทางระหว่าง อ.เกาะสมุยและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่าเทียบเรือ อ.เกาะสมุย ซึ่งบริการเรือโดยสารทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เส้นทางระหว่างอ.เมือง อ.ดอนสัก อ.เกาะพะงัน หมู่เกาะอ่างทอง เกาะนางยวน

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] โบราณสถาน

วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร

[แก้] พระอารามหลวง

[แก้] อุทยานแห่งชาติ

สภาพเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ในอุทยานแห่งชาติเขาสก

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
อำเภอกาญจนดิษฐ์
อำเภอพุนพิน
อำเภอเกาะพะงัน
อำเภอเกาะสมุย
อำเภอเคียนซา
อำเภอไชยา
อำเภอดอนสัก
อำเภอบ้านนาสาร
อำเภอบ้านตาขุน
อำเภอพนม


[แก้] บุคคลสำคัญ

[แก้] ด้านกระทำคุณุประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

[แก้] ด้านการศาสนา

[แก้] พระราชาคณะ

[แก้] ด้านการศึกษา

  • วิชา การพิศิษฎ์ ครูและบุคคลตัวอย่างของจังหวัดสุราษฏร์ธานี
  • ลำยอง วิศุภกาญจน์ ครูและผู้มีบทบาทสำคัญของจังหวัดสุราษฏร์ธานีในการนำยุวชนทหารของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตลอดแนวจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคใต้ในสงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามโลกครั้งที่ 2
  • ธรรมทาส พานิช นักเขียนและผู้ก่อตั้งโรงเรียนพุทธนิคม
  • มานิดา การพิศิษฎ์ ผู้อุทิศตนเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ศิษย์ทุกคนเคารพและแทนตัวครูว่า "คุณแม่ครู" นอกจากนั้นยังเคยเป็นเทศมนตรีหญิงคนแรกของสุราษฎร์ธานี
  • วรท ศรีไพโรจน์ ผู้บุกเบิกการอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว เมธีวิจัยอาวุโส ปี 2549

[แก้] ด้านการเมืองการปกครอง

[แก้] ด้านศิลปวัฒนธรรม

[แก้] อื่น ๆ

[แก้] ผู้อำนวยการโรงเรียนเชี่ยวชาญ

[แก้] เหตุการณ์สำคัญ

[แก้] ศาลากลางจังหวัดสุราษฏร์ธานีถูกลอบวางระเบิด

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2525 ประมาณเที่ยงถึงบ่ายโมงเกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สำคัญ คือ การระเบิดศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากเหตุการความขัดแย้งทางการเมือง ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปี ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง [28]

[แก้] อื่น ๆ

  • เรือยาวใหญ่ นาม "เจ้าแม่ตาปี" และเรือยาวกลาง นาม "เจ้าแม่ธารทิพย์" ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์ประเทศไทยถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีเดียวกัน
  • พายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มจังหวัด
  • การสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัด
  • เครื่องบินตกที่สนามบินสุราษฎร์
  • การรื้อสัมปทานเรือข้ามฟากสุราษฏร์ธานีเกาะสมุย
  • มติชาวสุราษฎร์ ห้ามปลุกเสกจตุคาม ณ วัดพระธาตุไชยา

อัพเดทล่าสุด