จังหวัดเชียงใหม่ สุดยอดแดนท่องเที่ยว


1,956 ผู้ชม


จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งใน 75 จังหวัดของประเทศไทย และตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 20,107 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 1.67 ล้านคน มีอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ และปกครองจังหวัด การแบ่งการปกครองประกอบด้วย 25 อำเภอ ยังเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่นๆ ทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นเอกนครของภาคเหนือ และเป็นเมืองใหญ่ อันดับ 2 ของไทย รองจากกรุงเทพมหานคร เท่านั้น จนได้รับสมญานาม "เชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย"[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง

เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมาและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นรัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพหรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

[แก้] การปกครอง

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน

อำเภอ
  1. อำเภอเมืองเชียงใหม่
  2. อำเภอจอมทอง
  3. อำเภอแม่แจ่ม
  4. อำเภอเชียงดาว
  5. อำเภอดอยสะเก็ด
  6. อำเภอแม่แตง
  7. อำเภอแม่ริม
  8. อำเภอสะเมิง
  9. อำเภอฝาง
  10. อำเภอแม่อาย
  11. อำเภอพร้าว
  12. อำเภอสันป่าตอง
  13. อำเภอสันกำแพง
  1. อำเภอสันทราย
  2. อำเภอหางดง
  3. อำเภอฮอด
  4. อำเภอดอยเต่า
  5. อำเภออมก๋อย
  6. อำเภอสารภี
  7. อำเภอเวียงแหง
  8. อำเภอไชยปราการ
  9. อำเภอแม่วาง
  10. อำเภอแม่ออน
  11. อำเภอดอยหล่อ
  12. อำเภอกัลยาณิวัฒนา
 

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีจำนวน 211 อปท. แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 54 เทศบาลตำบล 153 องค์การบริหารส่วนตำบล มีรายชื่อดังนี้

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

อำเภอเมืองเชียงใหม่

อำเภอจอมทอง

อำเภอแม่แจ่ม

อำเภอเชียงดาว

อำเภอดอยสะเก็ด

อำเภอแม่แตง

อำเภอแม่ริม

อำเภอสะเมิง

อำเภอฝาง

อำเภอแม่อาย

อำเภอพร้าว

อำเภอสันป่าตอง

อำเภอสันกำแพง

อำเภอสันทราย

อำเภอหางดง

อำเภอฮอด

อำเภอดอยเต่า

อำเภออมก๋อย

อำเภอสารภี

อำเภอไชยปราการ

อำเภอแม่วาง

[แก้] การเลือกตั้ง

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 4 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 11 คน โดยแต่ละเขตแบ่งออกดังนี้

  • เขต 1 ประกอบด้วยอำเภอเมืองเชียงใหม่ หางดง สารภี และสันกำแพง
  • เขต 2 ประกอบด้วยอำเภอพร้าว แม่ออน ดอยสะเก็ด สันทราย แม่ริม สะเมิง แม่วาง และสันป่าตอง
  • เขต 3 ประกอบด้วยอำเภอแม่อาย ฝาง ไชยปราการ เชียงดาว เวียงแหง และแม่แตง
  • เขต 4 ประกอบด้วยอำเภอแม่แจ่ม จอมทอง ดอยหล่อ ฮอด ดอยเต่า และอมก๋อย

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ที่ตั้ง

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

[แก้] อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว และมีพื้นที่ติดต่อใน 5 อำเภอได้แก่

  1. อำเภอแม่อาย: 4 ตำบลได้แก่ ตำบลแม่อาย, ตำบลมะลิกา, ตำบลแม่สาว, ตำบลท่าตอน เมืองที่ติดต่อคือ เมืองยอน รัฐฉาน
  2. อำเภอฝาง: 2 ตำบลได้แก่ ตำบลม่อนปิ่น และตำบลแม่งอน เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
  3. อำเภอเชียงดาว: 1 ตำบลได้แก่ ตำบลเมืองนะ เมืองที่ติดต่อคือ บ้านน้ำยุม เมืองต่วน รัฐตองยี
  4. อำเภอเวียงแหง: 3 ตำบลได้แก่ ตำบลเปียงหลวง, ตำบลเมืองแหง และตำบลแสนไห เมืองที่ติดต่อคือ บ้านบางใหม่สูง บ้านปางเสือเฒ่า บ้านกองเฮือบิน เมืองต่วน รัฐตองยี
  5. อำเภอไชยปราการ: 1 ตำบลได้แก่ ตำบลหนองบัว เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน

รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศบ่อยครั้ง

[แก้] ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,575 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
  2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

[แก้] ภูมิอากาศ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่

  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

[แก้] ทรัพยากร

[แก้] ทรัพยากรป่าไม้

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 11,694,133 ไร่ (พื้นที่ป่าตามกฎหมาย) คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า

[แก้] ทรัพยากรสัตว์ป่า

พื้นที่ป่าในจังหวัด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าสำคัญที่พบ ได้แก่ เลียงผา หมูป่า หมาจิ้งจอก เสือดาว อีเห็น ชะมด พังพอน ชะนี ลิง เม่น แมวป่า หมูหริ่ง กระต่ายป่า ตะกวด กิ้งก่า งู ตุ๊กแก ด้วง บึ้ง ไก่ป่า นกขมิ้น นกกระรางหัวขวาน นกกระขาบทุ่ง นกขุนทอง นกขุนแผน นกบั่งรอก นกกางเขน นกกาเหว่า นกเขียวคราม นกกระติ๊ต นกกระจิบ นกกระจาบ นกปรอด นกระวังไพร นกแซงแซว นกโพระดก นกนางแอ่น นกคุ่ม นกเขาเขียว นกเขาใหญ่ นกเขาขวาน นกเอี้ยง นกกระปูด เป็นต้น

[แก้] ทรัพยากรน้ำ

แม่น้ำกก ในอำเภอแม่อาย

จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้

  • ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน แม่ตื่น
  • ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด ประเทศพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.
  • ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโททางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย

[แก้] ทรัพยากรธรณี

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง ส่วนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี มีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ แมงกานีส ซีไลท์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น

[แก้] ประชากร

จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,666,024 คน แยกเป็นชาย 818,958 คน หญิง 851,066 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 83 คน/ตร.กม. (ข้อมูลวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552) ส่วนประชาชนบนพื้นที่สูง มีจำนวนทั้งสิ้น 312,447 คน กระจายอยู่ใน 20 อำเภอ มีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ รวม 13 ชนเผ่า แบ่งเป็นชาวเขา 7 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) ลีซอ (ลีซู) และลัวะ จำนวน 229,382 คน เป็นชนกลุ่มน้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ ปะหล่อง ไทใหญ่ ไทลื้อ จีนฮ่อ และอื่นๆ รวมจำนวน 34,022 คน

[แก้] ภาษา

ตัวอักษรล้านนา (คำเมือง)

ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"

[แก้] ศาสนา

ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ 0.02% และอื่นๆ 1.14% โดยมีสำนักสงฆ์ 471 แห่ง โบสถ์คริสต์ 356 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง และโบสถ์พราหมณ์ 3 แห่ง

[แก้] การศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา 10 แห่ง อาชีวศึกษา 7 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 8 แห่ง สถาบันการศึกษาเอกชน 140 แห่ง สถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง และอื่นๆ

  • โรงเรียน

ดูบทความหลักที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่

[แก้] ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง

[แก้] เจ้านายฝ่ายเหนือ

[แก้] การเมือง


[แก้] โทรทัศน์

[แก้] บันเทิง

[แก้] อื่นๆ

[แก้] รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่งลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์พ.ศ. 24442พระยายอดเมืองขวางไม่ทราบข้อมูล
3พระยามหินทรบดีไม่ทราบข้อมูล4พระยาวรวิไชยวุฒิกรไม่ทราบข้อมูล
5พระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์ (แมน วสันตสิงห์)พ.ศ. 2461-24716พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา)พ.ศ. 2471-2481
7พระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง)พ.ศ. 2481-24848พระชาติตระการ (ม.ร.ว. จิตร์ คะเนจร)พ.ศ. 2484-2485
9ขุนประสงค์สุขการี (ประสงค์ ลาภเจริญ)พ.ศ. 2485-248810นายทวี แรงขำ18 มิ.ย. 2488-30 ก.ย. 2489
11ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล)22 ต.ค. 2489-30 ม.ค. 249412นายอุดม บุญยประสพ30 ม.ค. 2494-30 มิ.ย. 2495
13นายประเสริฐ กาญจนดุล1 ก.ค. 2495-12 มิ.ย. 250114พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาค16 มิ.ย. 2501-28 ส.ค. 2502
15นายสุทัศน์ สิริสวย31 ส.ค. 2502-30 มิ.ย. 250316พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม1 ก.ค. 2503-30 ก.ย. 2514
17นายวิสิษฐ์ ไชยพร1 ต.ค. 2514-15 ก.ค. 251518นายอาษา เมฆสวรรค์1 ต.ค. 2515-1 ต.ค. 2518
19นายชลอ ธรรมศิริ1 ต.ค. 2518-11 พ.ค. 252020นายประเทือง สินธิพงษ์22 พ.ค. 2520-22 พ.ค. 2523
21นายชัยยา พูนศิริวงศ์1 ต.ค. 2523-30 ก.ย. 253022นายไพรัตน์ เดชะรินทร์1 ต.ค. 2530-26 พ.ค. 2534
23นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์16 มิ.ย. 2534-18 ต.ค. 253624นายวีระชัย แนวบุญเนียร18 ต.ค. 2536-30 ก.ย. 2539
25นายพลากร สุวรรณรัฐ1 ต.ค. 2539-11 ม.ค. 254126นายประวิทย์ สีห์โสภณ12 ม.ค. 2541-22 เม.ย. 2544
27นายโกสินทร์ เกษทอง23 เม.ย. 2544-9 ต.ค. 254528นายพิสิษฐ เกตุผาสุข28 ต.ค. 2545-4 มิ.ย. 2546
29นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์5 มิ.ย. 2546-12 พ.ย. 254930นายวิชัย ศรีขวัญ13 พ.ย. 2549-30 ก.ย. 2550
31นายวิบูลย์ สงวนพงศ์1 ต.ค. 2550-13 มี.ค.255232นายอมรพันธุ์ นิมานันท์16 มี.ค. 2552-ปัจจุบัน

[แก้] องค์กรบริการสังคม

  • สโมสรโรตารีภาค 3360 โรตารีสากล
    • สโมสรโรตารีเชียงใหม่
    • สโมสรโรตารีช้างเผือกเชียงใหม่
    • สโมสรโรตารีล้านนาเชียงใหม่
    • สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม
    • สโมสรโรตารีเชียงใหม่แอร์พอร์ต
    • สโมสรโรตารีหางดง เชียงใหม่
  • สโมสรโรตาแรคท์
  • สโมสรอินเตอร์แรคท์
    • สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนสันทรายวิทยาคม
    • สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนเมตตาศึกษา
    • สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
    • สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนรังษีวิทยา

[แก้] ประเพณีและวัฒนธรรม

การปล่อยโคมลอย ในเทศกาลยี่เป็ง

เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
  • ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
  • เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
  • งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน

[แก้] การคมนาคม

การจราจรในเชียงใหม่ และรถสองแถวรู้จักในชื่อ"รถแดง"

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวก

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจัวหวัดต่างๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 20 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากใกล้ไปไกล[2] ดังนี้

  • อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร
  • อำเภอสารภี 10 กิโลเมตร
  • อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร
  • อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร
  • อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร
  • อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยหล่อ 34 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร
  • อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร
  • อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร
  • อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร
  • อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร
  • อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร
  • อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร
  • อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร
  • อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร
  • อำเภอกัลยาณิวัฒนา

สถานีรถไฟเชียงใหม่

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วน สี แดง - เหลือง เป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่างๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (สถานีขนส่งอาเขต)

ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์ - เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่

การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ มีเส้นทางบินไป - กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ลาว พม่า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

สำหรับระบบรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System หรือ CTS) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานขนส่งจังหวัด (สนข.)

[แก้] ถนนสายสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่

  • ถนนเจริญเมือง
  • ถนนเจริญประเทศ
  • ถนนท่าแพ
  • ถนนช้างคลาน
  • ถนนอินทวโรรส
  • ถนนสนามบิน
  • ถนนไปรษณีย์
  • ถนนลอยเคราะห์
  • ถนนศรีดอนไชย
  • ถนนสุเทพ
  • ถนนห้วยแก้ว
  • ถนนวังสิงห์คำ
  • ถนนวัวลาย
  • ถนนบุญเรืองฤทธิ์
  • ถนนทิพเนตร
  • ถนนนิมมานเหมินทร์
  • ถนนเลียบคลองชลประทาน
  • ถนนศิริมังคลาจารย์
  • ถนนกำแพงดิน
  • ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
  • ถนนเชียงใหม่-หางดง
  • ถนนบำรุงบุรี
  • ถนนบำรุงราษฎร์
  • ถนนมณีนพรัตน์
  • ถนนวิชยานนท์
  • ถนนสุริยวงศ์
  • ถนนรัตนโกสินทร์
  • ถนนสนามกีฬา
  • ถนนศรีภูมิ
  • ถนนเวียงแก้
  • ถนนช่างหล่อ
  • ถนนท้ายวัง
  • ถนนราษฎร์อุทิศ
  • ถนนเมืองสมุทร
  • ถนนเมืองสาตร
  • ถนนมูลเมือง
  • ถนนราชภาคินัย
  • ถนนนันทาราม
  • ถนนเจริญราษฎร์
  • ถนนมหิดล (วงแหวนรอบใน)
  • ถนนราชเชียงแสน

[แก้] เศรษฐกิจ

จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2550) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 120,972 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ แบ่งออกเป็น ภาคเกษตร 20,052 ล้านบาทและนอกภาคการเกษตร 100,921 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาพืชผล ปศุสัตว์ และป่าไม้ รองลงมาได้แก่ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 76,388 บาทต่อคนต่อปี อยู่อันดับที่ 3 ของภาคเหนือ รองจากจังหวัดลำพูน และกำแพงเพชร อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดขยายตัวร้อยละ 3.36 ในปี พ.ศ. 2550 และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปัญหาทางการเมือง ระดับราคาน้ำมันที่สูง แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ส่วนรายได้ของประชากรในเขตชนบทเฉลี่ย 40,987 บาทต่อคนต่อปี (ข้อมูล จปฐ. พ.ศ. 2551) โดยอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุดคือ อำเภออมก๋อย และอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดคือ อำเภอสันกำแพง

[แก้] การเกษตร

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ถือครองการเกษตรจำนวน 1.685 ล้านไร่ (ร้อยละ 13.4 ของพื้นที่จังหวัด) เป็นพื้นที่ที่ได้รับน้ำจากชลประทาน 1.304 ล้านไร่ พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ ลำไย ข้าว ส้ม กระเทียม มะม่วง

[แก้] การอุตสาหกรรม

จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนโรงงาน 2,251 แห่ง เงินลงทุน 25,048 ล้านบาท แรงงาน 40,841 คน มีอุตสาหกรรมที่สำคัญ 4 ประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีจำนวน 16 โครงการ (พ.ศ. 2551) การลงทุนจากต่างประเทศผ่าน BOI ภาคเหนือ โดยประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่สูงสุด ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ

[แก้] การท่องเที่ยว

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สวยงาม โดยในปี พ.ศ. 2549 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 5,590,326 คน มีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 39,785 ล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ภูเก็ต และชลบุรี

[แก้] การค้าและบริการ

มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่า 4,305.43 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันในปีก่อน ลดลงทั้งปริมาณการส่งออกและราคาสินค้า สาเหตุหลักมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การแข่งขันด้านราคาสินค้าของประเทศจีน เวียดนาม ที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า

[แก้] กีฬา

ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเล่นกีฬาหลายประเภทและมีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้งที่เชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 (เฉพาะฟุตบอลที่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี) ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง และล่าสุดคือ การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดในปี 2552[3]

กีฬาอาชีพในเชียงใหม่นั้น มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมจังหวัดที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในภาคเหนือ โดยปัจจุบันในปี 2549 เล่นฟุตบอลอาชีพ ใน โปรลีก และในเดือน ตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [4]

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป

[แก้] ศาสนสถาน

ดูบทความหลักที่ รายชื่อวัดในจังหวัดเชียงใหม่

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

ดูบทความหลักที่ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย#เชียงใหม่

[แก้] กำลังทหาร และตำรวจ

[แก้] เมืองพี่น้อง

[แก้] ดูเพิ่ม

อัพเดทล่าสุด