ปลา คุณรู้จักปลามากพอรึยัง


1,067 ผู้ชม


ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว โลมา ปลาวาฬและปลาหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

ปลา  คุณรู้จักปลามากพอรึยัง

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ลักษณะทั่วไป

ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้ ดังนี้

  1. ปลาปากกลม (cyclostome) แบ่งเป็น แฮกฟิช (Hagfish) พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมเพรย์ (Lampreys) พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
  2. ปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลาฉนาก ปลากระเบน พบในปัจจุบันประมาณ 300 ชนิด
  3. ปลากระดูกแข็ง (bony fish) คือปลาอื่นๆที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด

ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดเท่าที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละสปีชีส์จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่นปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

สภาพแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปร่าง สีสันของเกล็ดรวมถึงลักษณะทางชีววิทยาของปลาในแต่ละชนิด ซึ่งปลาบางชนิดจะปรับเปลี่ยนอวัยวะบางส่วนที่ไม่จำเป็นต่อการอยู่รอดและสร้างอวัยวะใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแทน เพื่อให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้และเป็นการพัฒนาโครงสร้างทางกายวิภาคที่เป็นประโยชน์แก่ปลาอีกด้วย

ปลาแต่ละชนิดจะมีนิสัยและแหล่งที่อยู่อาศัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป เช่นปลาที่หากินตามบริเวณพื้นดินจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับหนอน ปลาที่อาศัยในกระแสน้ำที่เร็วและเชี่ยวกราด จะมีรูปร่างเปรียว หัวมีลักษณะมนเพื่อให้เหมาะกับการว่ายทวนน้ำ หรือปลาที่มีรูปร่างแบน ๆ เช่นปลากระดี่หรือปลาสลิด จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตื้น ๆ เช่นริมฝั่งแม่น้ำ

[แก้] ลักษณะทางกายวิภาค

ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวรก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในสปีชีส์อื่น ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่นครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่นปลาตีนเพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสระเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบไปด้วย

  • ปาก
  • จมูก
  • ตา
  • กระพุ้งแก้ม
  • ครีบหู
  • ครีบท้อง
  • ครีบหลัง
  • ครีบก้น
  • ครีบหาง
  • รูก้น
  • เส้นข้างตัว

มีซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่

[แก้] ครีบ

ปลามีครีบซึ่งทำหน้าที่แทนแขนและขาเช่นเดียวกับสัตว์บกชนิดอื่น ๆ ลักษณะของครีบปลาจะประกอบไปด้วยแผ่นผังผืดบาง ๆ ขึงอยู่ในบริเวณตอนบนของลำตัวและระหว่างบริเวณก้านครีบ มีลักษณะแข็งและอ่อนได้ตามแต่ละสปีชีส์ โดยโคนของก้านครีบจะอยู่ในบริเวณส่วนของลำตัว และเชื่อมติดกับข้อต่อของกระดูกและกล้ามเนื้อของปลา ทำให้สามารถเคลื่อนไหวครีบในแต่ละส่วนของลำตัวได้อย่างอิสระเสรี ครีบของปลานั้นนอกจากมีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวไปมาและการทรงตัวแล้ว ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมอีกหลายอย่าง เช่นใช้สำหรับการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว ใช้ในการผสมพันธุ์และปกป้องอาณาเขตของตัวเอง

ครีบเดี่ยวและครีบคู่ของปลา มีกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นมัดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม สำหรับทำหน้าที่ยกก้ามครีบให้ขึ้นลงในขณะว่ายน้ำ โดยส่วนมากปลาจะใช้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวในการว่ายน้ำ ซึ่งมีปลาอยู่ไม่เกิน 2-3 วงศ์ ที่ใช้ครีบในการว่ายน้ำ

อัพเดทล่าสุด