จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] ประวัติศาสตร์
สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงถูกเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเป็นซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์
สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย
[แก้] สภาพทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำ มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตก ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ตราประจำจังหวัดเป็น รูปยุทธหัตถี หมายถึง เป็นภาพยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแหงพม่า และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีย์อยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: สุพรรณิการ์
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเกลือ (Diospyros mollis)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
[แก้] รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
- 1. พระยาสุนทรสงคราม (จัน สุนทรพงษ์) 2394-2412
- 2. พระยาสุนทรสงครามรามพิไชย (แจ่ม สุนทรวิภาต) 2412-2425
- 3. พระยาสุนทรสงคราม (จัน แสงชูโต) 2426-2429
- 4. พระยาสุนทรสงครามรามภักดี (พัน) 2431-2435
- 5. พระยาอภัยพลภักดิ์ (ม.ล.อุกฤษ เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา) 2435-2439
- 6. พระอร่ามมณเฑียร (ม.ร.ว.ใหญ่ นรินทรกุล ณ อยุธยา) 2440-2440
- 7. พระยาสุนทรสงคราม (ถม ณ มหาไชย) 2440-2442
- 8. พระยาอินทรวิชิต (ทองคำ) 2442-2444
- 9. พระยาสุนทรสงคราม (ม.ร.ว.เล็ก พยัฆเสนา ณ อยุธยา) 2444-2454
- 10. พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) 2454-5 ตค. 2466
- 11. พระยาสุนทรสงคราม (ปุย สุวรรณศร) 5 ตค. 2466-13 พค. 2470
- 12. พระยาพิศาลสารเกษตร (พร พิมพสูตร) 13 พค. 2470-22 กพ. 2476
- 13. พระยารามราชภักดี (ม.ล.สวาสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) 22 กพ. 2476-1 มิย. 2479
- 14. พ.ท.พระเจนกระบวนหัด (ทองคำ พรโสภณ) 1 มิย. 2479-31 พค. 2481
- 15. หลวงศรีราชรักษา (ผิว ชาครียรัตน์) 1 มิย. 2481-31มีค. 2485
- 16. นายกังวาล วงษ์สกุล 1 มิย. 2485 -15 ตค. 2486
- 17. ร.อ.หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิศรสงคราม วุฒิราษฎร์รักษา) 15 ตค. 2486-18 ตค. 2487
- 18. นายอรรสิทธิ์ สิทธิสุนทร 18 ตค. 2487-15 พค. 2488
- 19. นายปรง พหูชนม์ 15 พค. 2488-5 มีค. 2489
- 20. นายชุบ พิเศษนครกิจ 5 มีค. 2489-7 ตค. 2489
- 21. ขุนธรรมรัฐธุราทร (ธรรมรัฐ โรจนสุนทร) 7 ตค. 2489-3 เมย. 2494
- 22. นายสนิท วิไลจิตต์ 3 เมย. 2494-28 มค. 2496
- 23. พ.ต.อ.จำรัส โรจนจันทร์ 28 มค. 2496-14 มค. 2497
- 24. นายพินิต โพธิ์พันธุ์ 14 มค. 2497-7 สค. 2500
- 25. นายพัฒน์ บุณยรัตนพันธุ์ 7 สค. 2500-13 มค. 2509
- 26. นายเวียง สาครสินธุ์ 13 มค. 2509-13 กพ. 2510
- 27. นายสวัสดิ์ มีเพียร 13 กพ. 2510-30 กย. 2518
- 28. นายสอน สุทธิสาร 1 ตค. 2518-30 กย. 2521
- 29. นายชลิต พิมลศิริ 1 ตค. 2521-30 กย. 2523
- 30. นายจรินทร์ กาญจโนมัย 1 ตค. 2523-11 กย. 2527
- 31. นายอารีย์ วงศ์อารยะ 1 ตค. 2527-30 กย. 2531
- 32. นายธานี โรจนลักษณ์ 1 ตค. 2531-30 กย. 2533
- 33. ร.ต.สมนึก เกิดเกษ 1 ตค. 2533-30 กย. 2534
- 34. ร.อ.ศรีรัตน์ หริรักษ์ 1 ตค. 2534-21 กค. 2535
- 35. นายสมพงศ์ ศรียะพันธุ์ 22 กค. 2535-30 กย. 2536
- 36. นายอำนวย ยอดเพชร 1 ตค. 2536-30 กย. 2538
- 37. นายประเสริฐ เปลี่ยนรังสี 1 ตค. 2538-27 มค. 2541
- 38. นายวิพัฒน์ คงมาลัย 16 เมย. 2541-30 กย.2546
- 39. นายทรงพล ทิมาศาสตร์ 1 ต.ค.2546-30 ก.ย. 2549
- 40. นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ 13 พ.ย. 2549 - ปัจจุบัน
[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น
และองค์การบริหารส่วนตำบลอีก 100 แห่ง
[แก้] โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗
- โรงพยาบาลอู่ทอง
- โรงพยาบาลด่านช้าง
- โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
- โรงพยาบาลสามชุก
- โรงพยาบาลศรีประจันต์
- โรงพยาบาลดอนเจดีย์
- โรงพยาบาลบางปลาม้า
- โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ
- โรงพยาบาลศุภมิตร
- โรงพยาบาลพรชัย
- โรงพยาบาลเทวพร
- โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง
- โรงพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สถานีอนามัยดอนขุนราม)
[แก้] การศึกษา
[แก้] โรงเรียน
[แก้] ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สุพรรณบุรี (ด่านช้าง)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาเขตสระยายโสม สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
[แก้] การคมนาคม
[แก้] ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี
สำหรับถนนในหมายเลขที่1-10 เป็นถนนที่ใช้ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนนิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรีได้แก่
1. ถนนพระพันวษา
2. ถนนขุนไกร
3. ถนนม้าสีหมอก และ ถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
4. ถนนเณรแก้ว
5. ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
6. ถนนนางพิม
7. ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
8. ถนนหลวงทรงพล
9. ถนนพลายชุมพล
10. ถนนขุนไกร
_______________________________________________
ส่วนถนนต่อไปนี้ เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่
9. ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
10 ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
11. ถนนประชาธิปไตย
[แก้] สะพานที่สำคัญ
- สะพานอาชาสีหมอก ๑
- สะพานอาชาสีหมอก ๒
- สะพานอาชาสีหมอก ๓
- สะพานวัดพระรูป
[แก้] บุคคลสำคัญ
- แจ้ง คล้ายสีทอง
- สุรพล สมบัติเจริญ
- บรรหาร ศิลปอาชา
- วาณิช จรุงกิจอนันต์
- สายัณห์ สัญญา
- พุ่มพวง ดวงจันทร์
- อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) นักร้องนำวง บอดี้แสลม
- ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) นักร้องนำวง คาราบาว
- พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
- พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
- ศักดา พัทธสีมา (ดา) นักร้องนำวง อินคา
- ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
- เสรี รุ่งสว่าง
- ก้าน แก้วสุพรรณ
- สังข์ทอง สีใส
- วรเวช ดานุวงศ์ (แดน) นักร้องวงดีทูบี
- เทอดศักดิ์ ใจมั่น
- มานิตย์ น้อยเวช
- ขวัญจิตร ศรีประจันต์
- ศรเพชร ศรสุพรรณ
- วงสุนทรี
- เจ้าพระยายมราช
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
|
|
[แก้] ศูนย์การค้า
- เทสโก้ โลตัส
- แม็คโคร
- บิ๊กซี
- เทสโก้ โลตัส คุ้มค่า สามชุก
- ตลาด โลตัส สองพี่น้อง
- Tops Super
- Naza Mall