จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย
ปรากฏเป็นบันทึกของสตรีชาวอเมริกัน เอ็ดนา บรูเนอร์ บัลก์ลีย์ (Edna Bruner Bulkley) ที่เดินทางมาถึงตรังและได้บันทึกว่า ตรงกลางระหว่างทะเลทั้งสองนี้เอง คือสถานที่ที่ฉันเรียนได้เต็มปากว่าเป็นบ้านของฉัน ซึ่งฉันได้ได้เที่ยวไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ในรัศมีสีสิบไมล์โดยรอบจนทะลุปรุโปร่งมาแล้วตลอดช่วงเวลาเกือนยี่สิบปี ในความคิดของฉัน ตรังเป็นจังหวัดที่สวยงามที่สุดในสยาม ธรรมชาติที่นีมีทั้งพื้นดินสีแดง เนินเขา ลำธาร ทะเลสาบ แม่น้ำ และน้ำตก ซึ่งในช่วงเวลาต่อมา ทางการได้ดำเนินแผนการพัฒนาอันชาญฉลาดโดยการตัดถนนอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้คนสามารถเข้าไปยังสถานที่เหล่านั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น (Siam Was Our Home: A Narrative Memoir of Edna Bruner Bulkley's Years in Thailand in the Early 1900's)
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] อาณาเขตและการการปกครอง
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ จดจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ จดจังหวัดสตูลและทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันออก จดจังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันตก จดจังหวัดกระบี่และทะเลอันดามัน
การปกครอง แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน
[แก้] ประชากร
ประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน รองลงมาเป็นชาวไทย รวมไปถึงชาวมุสลิม คนกลุ่มนิกริโต และชาวเลในท้องถิ่น ประชากรร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัดทั้งหมด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้าและโรงเจ 19 แห่ง
ไฟล์:Http://lh3.ggpht.com/ BoBn BPQSg8/R3yM49-LtLI/AAAAAAAAARA/-ekq2pHRqCs/s720/AFp173 ToMarket.jpg ภาพสตรีขาวตรังในสมัยอดีตกำลังเดินทางในอดีต ภาพโดย Edna Bruner Bulkley
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ตราประจำจังหวัด:ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
- คำขวัญประจำเมือง: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา (The city of Phraya Rasda; broad-hearted citizen; delicious roast pork; origin place of para rubber; Lovely Sri Trang flower; beautiful coral reef; charming sandy beach; and wonderful waterfalls.)
[แก้] ธนาคาร
ธนาคาร (อำเภอเมือง) | จำนวนสาขา |
---|---|
|
|
รวม | 23 |
[แก้] การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาตรัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
โรงเรียน
[แก้] อุทยาน
[แก้] บุคคลสำคัญจากจังหวัดตรัง
- ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีประเทศไทย 2 สมัย (รัฐบาลสมัยที่ 50, 53)
- ทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของประเทศไทย (รัฐบาลสมัยที่ 12)
- สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.จังหวัดตรัง หลายสมัย
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรีนครตรัง 4 สมัย 2537-ปัจจุบัน ผู้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตรัง (RCE Trang)
- พุฒ ล้อเหล็ก อดีตนักมวยไทย
- จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์พ.ศ. 2532 จากกวีนิพนธ์เรื่อง ใบไม้ที่หายไป
- อาคม เฉ่งไล่ นักมวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองแดงโอลิมปิก
- โอเล่ห์ดง ศักดิ์เสมอชัย แชมป์โลกของไทยคนแรกที่เป็นชาวภาคใต้
- แสงหิรัญ ลูกบ้านใหญ่ แชมป์มวย ABC
- เป็ด เชิญยิ้ม ผู้ก่อตั้งคณะเชิญยิ้ม
- อัยยูบ ยอมใหญ่ หรือชื่อจริง ยืนยง ยอมใหญ่ นักแปล นักเขียน หนังสือสำคัญเกี่ยวกับอิสลามหลายสิบเล่มก็เป็นคนจังหวัดตรัง
- หลวงไก่ นักร้องลูกทุ่งคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
- บ่าววี นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ซึ่งมีผลงานดัง ๆ เช่นเพลงขอนไม้กับเรือ ฯลฯ
- สุรินทร์ โตทับเที่ยง เจ้าของปลากระป๋องตราปลายิ้ม
- สุวัฒน์ กลิ่นเกษร (น้าติ่ง) นักพากษ์มวยปล้ำ
- ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ ผู้ประกาศข่าว ช่อง 7 สี