เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
- มหาพีระมิดแห่งกิซ่า ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
- สวนลอยบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
- เทวรูปเทพเซอุส ที่อารามโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
- วิหารไดอานา (หรืออาร์เทมิส) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธจากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
- ที่บรรจุศพแห่งมอสโซลอส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี)สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
- เทวรูปเฮลิออส แห่งโรเดส ของกรีก ในทะเลเอเจียน (ประเทศกรีก)เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของเทพแห่งพระอาทิตย์หรือเฮลิออส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
- ประภาคารฟาโรส แห่งอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลือ
[แก้] เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง
สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของโลกสมัยกลาง ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครได้กำหนดไว้ และรายการในยุคกลางก็ระบุไว้ไม่ตรงกัน แต่โดยมากจะยอมรับกับรายการต่อไปนี้
- โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
- หลุมฝังศพแห่งอะเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
- กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
- สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ
- เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานกิง ประเทศจีน
- หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
- สุเหร่าโซเฟีย แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ กรุงอีสตันบูล) ประเทศตุรกี
[แก้] เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน
กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้
- อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
- ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
- เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
- ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
- เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
- สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
- คลองปานามา ทวีปอเมริกาใต้
เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ หรือเดิมคือ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน จัดทำขึ้นโดยองค์กรของสวิตซ์ The New Open World Corporation (NOWC) ซึ่งผลสรุปสุดท้ายได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยไม่เรียงตามลำดับคะแนน
อย่างไรก็ตามเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ชุดนี้ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] รายชื่อเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
สถานที่ | เหตุผล | สถานที่ | รูปภาพ |
---|---|---|---|
ชิเชนอิตซา | การบวงสรวง ความรู้ (Worship, knowledge) | ยูกาตัน เม็กซิโก | |
รูปปั้นพระเยซูคริสต์ | การต้อนรับ การเปิดกว้าง (Welcoming, Openness) | รีโอเดจาเนโร บราซิล | |
กำแพงเมืองจีน | ความมานะ, ความคงทน (Perseverance, Persistence) | จีน | |
มาชูปิกชู | อารยธรรมชุมชน การอุทิศ (Community, Dedication) | คุซโก เปรู | |
เปตรา | วิศวกรรมศาสตร์ การรักษา (Engeneering) | จอร์แดน | |
โคลอสเซียม | ความสนุก ความทุกข์ | โรม อิตาลี | |
ทัชมาฮัล | ความรัก ความหลงใหล (Love, Passion) | อัครา อินเดีย |
[แก้] รายชื่อสิ่งมหัศจรรย์ใหม่ที่ถูกเสนอชื่อ
สิ่งมหัศจรรย์อีก 14 แห่งที่ได้รับคัดเลือกในรอบสุดท้าย
สถานที่ | เหตุผล | สถานที่ | รูปภาพ |
---|---|---|---|
อาโครโปลิสแห่งเอเธนส์ | อารยธรรม ประชาธิปไตย (Civilization, democracy) | เอเธนส์ กรีซ | |
อัลฮัมบรา | ความสง่างาม, Dialogue | กรานาดา สเปน | |
นครวัด | ความงดงาม น่าสักการะ (Sanctity) | เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา | |
โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ | ความลึกลับ น่าเกรงขาม (Awe) | เกาะอีสเตอร์ ชิลี | |
หอไอเฟล | ความท้าทาย ความล้ำสมัย (Challenge, Progress) | ปารีส ฝรั่งเศส | |
ฮาเจีย โซเฟีย | ความเชื่อถือ นับถือ | อิสตันบูล ตุรกี | |
วัดคิโยะมิซุ | Clarity, Serenity | เกียวโต ญี่ปุ่น | |
เครมลิน จัตุรัสแดง และ วิหารเซนต์บาซิล | ความแข็งแกร่ง สัญลักษณ์ (Fortitude, Symbolism) | มอสโก รัสเซีย | |
ปราสาทนอยส์ชวานสไตน์ | มหัศจรรย์ จินตนาการ (Fantasy, Imagination) | Füssen เยอรมนี | |
เทพีเสรีภาพ | ความเอื้อเฟื้อ ความหวัง (Generosity, Hope) | นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา | |
สโตนเฮนจ์ | Intrigue, Endurance | Amesbury สหราชอาณาจักร | |
ซิดนีย์โอเปราเฮาส์ | สัญลักษณ์ การสร้างสรรค์ (Abstraction, Creativity) | ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | |
ทิมบุคตู | Intellect, Mysticism | มาลี |