โดย อ.มุรีดทิมะเสน
วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันสิ้นปี ต่อเนื่องกับ วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลนิยม ประชาชนทุกชาติทุกภาษาจะมีการเฉลิมฉลองในวันนี้
ในครั้งโบราณต่างชาติต่างก็ขึ้นปีใหม่กันตามความนิยมของตนที่เห็นว่า วันปีใหม่ควรจะเป็นวันไหน เช่น ต้นฤดูหนาวเพราะเป็นเวลาพ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า เป็นต้น, ปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่าง ร้อนเหมือนเวลากลางวันเป็นกลางปี ฤดูฝนที่เป็นเวลามืดคลุ้มโดยมากและฝนพร่ำเพรื่อเที่ยวไปไหนไม่ได้เป็นเหมือนกลางคืน ชาวเยอรมันสมัยโบราณแบ่งฤดู 2 ฤดู คือฤดูหนาวกับฤดูร้อน ขึ้นปีใหม่ราวปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่พื้นภูมิภาคกำลังเริ่มเย็นขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนซึ่งแยกย้ายกันไปหากินในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในฤดูร้อนได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ทำได้และนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมชุมนุมกันฉลองขึ้นใหม่ เมื่อชาวโรมันได้รุกรานเข้าไปในอาณาเขตเยอรมัน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น 1 มกราคม
ชาวไอยคุปค์ เฟนิเซียนและอิหร่านเริ่มปีใหม่เมื่อกลางฤดูสารทคือราววันที่ 21 กันยายน โยนกสมัยก่อนพุทธกาลขึ้นไป เริ่มปีใหม่ราววันที่ 21 ธันวาคม โรมันโบราณก็เริ่มปีใหม่วันที่ 21 ธันวาคม สมัยซีซาร์เมื่อใช้ปฏิทินที่เรียกว่าแบบยูเลียนได้เลื่อนปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม พวกยิวขึ้นปีใหม่เป็น 2 อย่าง ตามทางการเริ่มปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนติษรีราววันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม ทางศาสนาเริ่มราววันที่ 21 มีนาคม ตอนต้นยุคกลางชาวคริสเตียนเริ่มปีใหม่ วันที่ 25 มีนาคม อังกฤษเชื้อสายแองโกลซักซอนเริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังให้เลื่อนวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ต่อมาก็กลับเลื่อนไปขึ้นปีใหม่ราว 2242-2296 1
โปรดสังเกตว่า ในอดีตทุกๆ ดินแดน ทุกๆ เผ่าพันธุ์ต่างมีเทศกาลเป็นของตนเอง หรือมีประเพณีของเผ่าพันธุ์ของตนเองอยู่เสมอ แม้กระทั่งวันรื่นเริง วันซึ่งถูกอุบัติขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลอง หรือเพื่อแสดงความสนุกสนานนั้น ทุกๆ เผ่าพันธุ์,ทุกๆ ดินแดนต่างก็มีวันรื่นเริงเป็นของตนเองทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าวัน และรูปแบบการเฉลิมฉลองก็จะแตกต่างกันไป สรุปคือ ทุกๆ ชาติ ทุกๆ เผ่าพันธุ์ต่างก็มีวันเฉลิมฉลอง หรือวันรื่นเริงแทบทั้งสิ้น ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ
อนึ่ง หากย้อนถามวันรื่นเริง หรือวันเฉลิมฉลองของอิสลามนั้นมีหรือไม่? คำตอบคือมี ดังหลักฐานจากท่านอนัส บุตรของมาลิกเล่าว่า كان لأهل الجاهلية يومان في كل سنة يلعبون فيهما فلما قدم النبي صلى الله عليه وسلم المدينة قال كان لكم يومان يلعبون فيهما وقد أبدلكم الله فيهما خيرا منهما يوم الفطر ويوم الأضحى ความว่า ปรากฏว่ากลุ่มชนญาฮิลียะฮฺ (กลุ่มชนที่อิสลามยังไม่อุบัติขึ้นแก่พวกเขา) สำหรับพวกเขามีอยู่สองวันในทุกๆ ปีซึ่งเป็นวันที่พวกเขารื่นเริงสนุกสนานในสองวันดังกล่าว, ครั้นเมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ
ฉะนั้นหะดีษข้างต้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ก่อนหน้านี้จะมีวันรื่นเริงวันใด หรือกี่วันก็ตามนั่นไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือภายหลังที่อิสลามได้ถูกอุบัติขึ้น อิสลามได้ทดแทนวันที่อนุญาตให้บรรดามุสลิมสนุกสนานรื่นเริงได้เพียงแค่สองวันเท่านั้น นั่นคือ วันอีดิลฟิฏริ และวันอีดิลอัฎหา
ครั้นเมื่อหลักการของศาสนาอนุมัติให้มุสลิมฉลอง หรือรื่นเริงได้เพียงสองวันในรอบปีเท่านั้น บรรดามุสลิมจะแสวงหาวันรื่นเริง หรือวันฉลองอื่นจากวันอีดิลฟิฏริ (عيد الفطر) หรืออีดิลอัฎหา (อ่านว่า อัด-ฮา عيد الأضحى ) ไม่ได้ เพราะเมื่อท่านรสูล
อีกทั้งท่านรสูลุลลอฮฺยังกำชับให้ออกห่างจากการเลียนแบบแนวคิด,วิถีชีวิต และพฤติกรรมของพวกยะฮูดีย์ และพวกนัศรอนีย์อีกด้วย ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ
หะดีษข้างต้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มุสลิมมีจุดยืนของมุสลิมโดยมีอุดมการณ์อันแน่วแน่ว่าไม่ยอมเลียนแบบพฤติกรรม, ประเพณี หรือวัฒนธรรมของประชาชาติอื่น โดยเฉพาะประชาชาติยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์โดยเด็ดขาด เพราะนั่นคือคำสั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ
ใช่แต่เท่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ
หะดีษข้างต้นทำให้มุสลิมต้องพิจารณาถึงท่าทีของตนเองให้มากๆ เพราะมุสลิมบางคนยังคงไปเที่ยวงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ โดยไปร่วมงานนับถอยหลังเพื่อเข้าวันที่ 1 มกราคม โดยต้องการมีส่วนร่วมเฉลิมฉลองปีใหม่กับประชาชาติอื่นอย่างสนุกสนาน แต่ท่านรสูลุลลอฮฺ
อนึ่ง อาจมีบางท่านอ้างว่า จริงอยู่ถึงแม้ว่าไม่อนุญาตให้บรรดามุสลิมเฉลิมฉลองในวันที่ 1 มกราคมซึ่งเป็นวันปีใหม่สากลก็ตาม แต่มุสลิมสามารถเฉลิมฉลองปีใหม่อิสลามได้ นั่นคือให้รื่นเริงและฉลองกันในวันที่ 1 มุหัรฺร็อมของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันปีใหม่อิสลาม โดยอ้างหลักฐานจากข้อมูลที่ว่า
วันที่ 1 เดือนมุฮัรรัม เป็นวันแรกของการเริ่มศักราชใหม่ ตามประวัติศาสตร์ถือเป็นวันที่ท่านศาสดามูฮัมมัดลี้ภัยจากนครมักกะฮ์ไปสู่นครมะดีนะฮ์ เมื่อวันนี้ได้เวียนมาบรรจบ มุสลิมจึงรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น แต่เพื่อมิให้การรำลึกภาพเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นเป็นการสูญเปล่าก็ประกอบกิจกรรมกุศล เช่น การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน การเอ่ยคำสดุดีสรรเสริญองค์ศาสดา ตลอดจนขอพรมาปฏิบัติเสริมอันเป็นสิริมงคล 2
ข้อมูลข้างต้นที่อ้างมานั้นถือว่าเป็นการอ้างอิงที่ไม่ใช่หลักวิชาการ แต่เป็นการอ้างอิงด้วยการวินิจฉัยเอาเองว่าการทำพิธีกรรมในวันที่ 1 มุหัรฺร็อม เป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งยังเป็นการรำลึกภาพเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือว่าเป็นการอุตริกรรมขึ้นใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) หากว่าแนวคิดข้างต้นเป็นสิ่งที่ดีแล้วไซร้ ท่านนบีมุหัมมัด
การนับวันและเดือนในอิสลามกำหนดให้ใช้ระบบจันทรคติเป็นหลัก แต่อาหรับในยุคก่อนยังไม่มีการกำหนดวิธีนับปี มีแต่เพียงเล่าขานต่อๆกันมาด้วยเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้น เช่น กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด
ในปีนั้นมีเหตุการณ์สำคัญคือ อับเราะหะฮฺ เจ้าเมืองยะมันยกกองทัพช้างมุ่งตรงมายังมักกะฮฺหมายจะทำลายอัลกะอฺบะฮฺ แต่อัลลอฮฺได้ทรงพิทักษ์รักษาบ้านของพระองค์โดยทรงบันดาลให้ฝูงนกอะบาบีลคาบก้อนหินมาถล่มใส่กองทัพช้างของอับเราะหะฮฺจนย่อยยับไป
ต่อมาหลังจากท่านนบีมุฮัมมัด
ท่านอุมัรได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกของท่านนบีที่ร่วมบริหารงานอยู่ก็มีมติให้ ปรับปรุงการกำหนดปีกันใหม่ บางคนเสนอให้ใช้ศักราชโรมัน บางคนเสนอให้ใช้ศักราชเปอร์เชีย บ้างก็เสนอให้ใช้วันเกิดของท่านนบีเป็นศักราชอิสลามบ้าง ให้ใช้วันที่ท่านนบีได้รับการแต่งตั้งเป็นนบี
ในที่สุด ท่านอะลี หนึ่งในคณะที่ปรึกษา (ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺคนที่ 4) ได้เสนอให้ เอาการอพยพ (หิญเราะฮฺ) ของท่านนบีจากมักกะฮฺไปสู่มะดีนะฮฺเป็นจุดเริ่มต้นนับศักราชใหม่ของอิสลาม เนื่องจากเป็นนิมิตหมายถึงความสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสลามของท่านนบี
ท่านอุมัรเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอนี้ การปรึกษาหารือเรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณปีที่ 17-18 หลังจากการหิญเราะฮฺ จึงมีมติให้เริ่มนับศักราชอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนบีอพยพ เรียกว่า หิญเราะฮฺศักราช
พิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวอาหรับที่มีมาแต่โบราณคือพิธีหัจญ์ ซึ่งจะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมพิธีที่นครมักกะฮฺ และเมื่อเสร็จสิ้นพิธีหัจญ์ก็พอดีย่างเข้าเดือนมุหัรรอม จะเป็นจุดเริ่มต้นการค้าขายและธุรกิจต่างๆ ชาวอาหรับจึงนับเดือนมุหัรรอมนี้เป็นเดือนแรกของปี ศักราชอิสลามก็ยังคงนับเดือนมุหัรรอมเป็นเดือนแรก มิใช่เริ่มนับ ณ วันที่ท่านนบีอพยพ (ท่านนบีอพยพในเดือนเราะบีอุลเอาวัลซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ของปี) แต่เริ่มนับวันที่ 1 มุหัรรอม ของปีที่ท่านนบี
สรุปว่าสาเหตุที่ศาสนาไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมงาน หรือจัดงานปีใหม่มีดั่งนี้
1. สิ่งข้างต้นเป็นการอุตริกรรมขึ้นใหม่ซึ่งไม่ปรากฏจากบทบัญญัติที่อนุญาตให้เฉลิมฉลองในวันดังกล่าว
2. สิ่งข้างต้นนั้นมาจากพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์ ซึ่งมีบทบัญญัติศาสนาให้ออกห่างการเลียนแบบตามทั้งสองกลุ่มนั้นอย่างสิ้นเชิง
3. มุสลิมถูกสั่งสอนให้ตามแนวทางจากอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด
4. การที่มุสลิมหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่สนุกสนานรื่นเริงนั้น จะทำให้หัวใจของมุสลิมหมกมุ่น และสาละวนอยู่กับสิ่งที่ไร้สาระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้านกับทางนำแห่งสัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาชี้ทางนำให้แก่ผู้ที่หลงผิดด้วยเถิด
การให้ของขวัญ และบัตรอวยพรในวันปีใหม่
บัตรอวยพรคริสต์มาสพิมพ์ครั้งแรกโดยบริษัทลอนดอนจำกัด ทำออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1843 ต่อมามีบริษัทอื่นๆ พิมพ์ออกมาและจำหน่ายอย่างกว้างขวาง เป็นที่นิยมกันอย่างมากมายจนพิมพ์แทบไม่พอขาย ปัจจุบันการส่งบัตรอวยพรคริสต์มาสและปีใหม่กลายเป็นธรรมเนียมถือปฏิบัติกันทั่วโลก โดยส่งคำอวยพรถึงกันและกันในครอบครัว และระหว่างเพื่อนฝูงมิตรสหาย เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงความระลึกถึงกันได้เป็นอย่างดีในโอกาสฉลองเทศกาลอันสำคัญนี้ ซึ่งเป็นวาระแห่งความปีติยินดี
จุดประสงค์ของการส่งบัตรอวยพรนั้น เพื่อแสดงความสุข ความยินดีในวันคริสต์มาส และส่งความปรารถนาดีรำลึกถึงกันและกันด้วยใจจริง ถ้าหากขาดเป้าหมายเหล่านี้แล้ว บัตรอวยพรราคงแพงที่สวยหรู และถ้อยคำอวยพรที่ไพเราะเพราะพริ้งจะไร้ความหมายทันที 4
ธรรมเนียมที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนนิยมทำกันมากที่สุดคือ การส่งบัตรอวยพร (Greeting Card) ไปยังญาติสนิทมิตรสหาย โดยบรรจุข้อความที่สำคัญและประทับใจเช่น Merry Christmas อวยพรขอให้ผู้รับมีความสุข สดชื่น และสมปรารถนาด้วยอำนาจแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า 5
สรุปที่มาของบัตรอวยพรปีใหม่
การส่งบัตรอวยพรในวันปีใหม่ ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติกันสำหรับคริสต์ศาสนิกชน
ประเด็นชี้แจง
ศาสนาอิสลามอนุญาตให้มอบของขวัญ หรือแม้แต่การเขียนบัตรอวยพรให้แก่มุสลิมด้วยกันได้ เพราะนั่นถือว่าเป็นเรื่องของสังคม แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่กำหนดวันเจาะจงที่จะมอบให้อย่างตายตัว มุสลิมสามารถมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรได้ตลอดเวลา แต่ถ้ามุสลิมคนใดเจาะจงมอบให้เฉพาะวันคริสต์มาส หรือวันปีใหม่ เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังเลียนแบบกลุ่มอื่นแล้ว ดั่งเช่นที่ท่านรสูลุลลอฮฺ
ดังนั้น เมื่อศาสนาไม่อนุญาตในรื่นเริง และเฉลิมฉลองในวันปีใหม่ หรือเทศกาลปีใหม่ เช่นนี้มุสลิมก็ต้องหลีกเลี่ยงโดยไม่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมใดในเทศกาลดังกล่าว ไม่ว่าจะมีส่วนร่วมให้นำสิ่งของต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเราได้มีส่วนร่วมในวันนั้น ไม่ว่าจะในเรื่องของการกิน การดื่ม เสื้อผ้า ของขวัญ หรืออย่างอื่นๆ อีก เป็นหน้าที่เหนือมุสลิมทุกคนที่จะต้องภาคภูมิใจในศาสนาของตนเอง และเขาจะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับทุก ๆ เทศกาลที่ไม่ใช่อิสลามอย่างสิ้นเชิง
เราขอให้พระองค์อัลลอฮผู้ทรงสูงส่งทรงโปรดปกป้องพี่น้องมุสลิมจากการทดสอบทั้งหลาย ไม่ว่าในที่ลับและที่แจ้ง และขอให้พระองค์ทรงคุ้มครองและประทานทางนำ หรือแนวทางแห่งสัจธรรมให้กับพวกเราด้วยเถิด อามีน (ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงรับคำวิงวอนนี้ด้วยเถิด)