กล้องดิจิตอล ส่วนประกอบของกล้อง Digital


931 ผู้ชม


ส่วนประกอบของกล้อง Digital
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของกล้องดิจิทัล มีดังนี้

1. ตัวกล้อง มีลักษณะเป็นกล่องทึบแสงซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้แสงสว่างผ่านเข้าไปยังตัวกล้องได้ ตัวกล้องมีขนาดแตกต่างกันไปตามคุณภาพและราคาของกล้อง

2. เลนส์ กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะไม่สามารถถอดหรือเปลี่ยนเลนส์ได้ แต่หากกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้จะมีราคาแพงและมักใช้งานในระดับมืออาชีพ เลนส์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนจากวัตถุเข้ามายังตัวรับแสงของกล้อง วัสดุที่ใช้ในการทำเลนส์มี 2 ชนิดคือ พลาสติกและแก้ว ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งคุณภาพและราคา


<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
2.1 เลนส์พลาสติก ซึ่งมีราคาถูก ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพต่ำ มักจะใช้ในกล้องรุ่นเก่า

2.2 เลนส์ที่ทำจากแก้ว มีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สามารถซูมได้ทั้งแบบ Digital Zoom และ Optical Zoom จะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3. ช่องมองภาพ เพื่อใช้มองภาพและจัดองค์ประกอบของภาพแล้วถ่ายภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังมีช่องมองภาพที่เป็นจอ LCD ติดอยู่กับตัวกล้อง ทำงานเช่นเดียวกับช่องมองภาพธรรมดา ภาพที่ปรากฎจะเหมือนกับภาพที่ถ่ายออกมาได้ทุกประการ ช่องมองภาพมี 2 ชนิดคือ

3.1 ช่องมองภาพแบบเล็งแล้วถ่าย (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพแบบที่ใช้ในกล้องราคาถูกให้ภาพที่ละเอียดไม่มากนัก การใช้งานสามารถเล็งได้โดยตรงจากช่องมองภาพแล้วออกไปได้ทันทีกล้องดิจิทัลที่มีช่องมองภาพแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิทัลอัตโนมัติ ไม่ต้องปรับแต่งค่ามากนักก็สามารถเล็งผ่านช่องแล้วกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพได้ทันที


3.2 ช่องมองภาพแบบจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นช่องมองภาพที่สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างยิ่งสำหรับกล้องดิจิทัล เพราะสามารถมองผ่านทางจอ LCD แล้วจัดองค์ประกอบของภาพได้ และยังสามารถเลือกภาพที่ได้ถ่ายไปแล้วขึ้นมาดูได้ทันที หากไม่พอใจก็สามารถลบภาพออกได้ ทำให้ไม่เสียเวลาในการถ่ายและเลือกภาพที่ต้องการ จอ LCD จะมีขนาดและคุณภาพแตกต่างกันตามราคาและยี่ห้อของกล้อง หากเป็นจอคุณภาพต่ำจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างหรือมองจากพื้นที่ ๆ มีแสงสว่างมาก ๆ ข้อจำกัดของจอ LCD คือสิ้นเปลืองพลังงาน ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในกล้องดิจิทัลเสื่อมเร็วเมื่อเปิดจอ LCD ไว้ตลอดเวลา ดังนั้น ควรปิดหน้าจอ LCD ไว้ขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

4. แบตเตอรี่ การทำงานของกล้องดิจิทัลต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่หรือพลังงานจากหม้อแปลงไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล้องดิจิทัลมีหลายประเภท ดังนี้

4.1 แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์ AA มีอายุการใช้งานไม่นานนัก เนื่องจากกล้องดิจิทัลส่วนใหญ่มีจอภาพLCD ซึ่งใช้พลังงานสูง

4.2 แบตเตอรี่แบบ NiCD เป็นแบตเตอรี่ที่เก็บไฟได้น้อยและใช้งานได้ไม่นานนัก จึงไม่นิยมใช้แม้ว่าจะมีราคาถูก แต่สามารถชาร์จไฟและนำมากลับมาใช้ได้อีก แต่การชาร์จไฟนั้นจะต้องรอให้ใช้งานจนหมดก่อนจึงทำการชาร์จได้

4.3 แบตเตอรี่แบบ NiMH เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหนักเบา เก็บไฟได้นาน สามารถชาร์จได้ทันทีและบ่อยครั้งโดยไม่ต้องรอให้แบตเตอรี่ หมดก่อน คุณภาพดี ราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย

4.4 แบตเตอรี่แบบ Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและราคาแพง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา เก็บกระแสไฟได้นานและมากกว่าแบตเตอรี่แบบ NiMH สามารถชาร์จไฟได้ทันทีที่ต้องการ นิยมใช้ กับกล้องที่มีราคาแพงและคุณภาพสูงนอกจากแบตเตอรี่แล้ว ที่ชาร์จแบตเตอรี่นับเป็นอุปกรณ์เสริมสำคัญต่อการใช้งานกล้องดิจิทัล ที่ชาร์จแบตเตอรี่มี 2 ชนิดคือ การชาร์จแบบเร็ว คือใช้เวลาชาร์จเพียง2-3 ชั่วโมง แต่ประจุไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าไปจะไม่เต็มที่นัก การชาร์จแบบช้า ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยถนอมแบตเตอรี่มากกว่าและเกิดความร้อนน้อยกว่าแบบเร็ว

5. หน่วยความจำ เปรียบเทียบได้กับฟิล์มของกล้องถ่ายภาพธรรมดา หน่วยความจำทำหน้าที่ในการบันทึกภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดิจิทัลลงบนหน่วยความจำของตัวกล้องซึ่งมี 2 ประเภท ดังนี้

5.1 หน่วยความจำภายใน มีหน้าที่เก็บข้อมูลของภาพลงในตัวกล้อง เมื่อต้องการโอนถ่ายข้อมูลรูปภาพออกมาใช้งานต้องทำการต่อสายออกจากตัวกล้องผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ ที่ตัวกล้องใช้งานอยู่แล้ว ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้

5.2 หน่วยความจำภายนอก ส่วนใหญ่กล้องดิจิทัลจะใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory ซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็ก หน่วยเก็บข้อมูลที่นิยมใช้อยู่ในกล้องนั้นจะมี Compact Flash และ Smart Card ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกันออกไปตามราคา โดยส่วนมากจะเก็บข้อมูลได้ต่ำที่สุด 16 เมกะไบต์

5.3 หน่วยความจำแบบอื่น ๆ จะใช้งานแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของกล้อง ได้แก่

5.3.1 CompactFlash เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่พัฒนามาจากมาตรฐานของ PC Card (PCMCIA) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท SanDisk มีขนาด ประมาณกล่องไม้ขีดขนาดเล็ก และใช้ เทคโนโลยี Flash ในการเก็บข้อมูล

5.3.2 Ultra CompactFloash พัฒนาโดยบริษัท SanDisk เป็นหน่วยความจำ Flash ความเร็วสูงถึง 2.8 เมกะไบต์ต่อวินาที ทำให้สามารถนำไปใช้ งานกับกล้องดิจิทัลประสิทธิภาพสูงได้เป็นอย่างดี สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า CompactFlash ธรรมดาถึง 2 เท่า

5.3.3 Memmory Stick พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Sony ปัจจุบันมี 2 แบบคือ Memmory Stick ขนาด 21.5x50x2.8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 4 กรัม และขนาด 20x31x1.6 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2 กรัม ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 2MB/s สำหรับการบันทึกและ 2.45 MB/s สำหรับการอ่านข้อมูล

5.3.4 SmartMedia พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Tochiba เป็นหน่วยความจำแฟลช SSFDC (Solid State Floppy Disk Card) ขนาด 37x45x0.76 มิลลิเมตร น้ำหนักเพียง 1.8 กรัม แต่มีข้อเสียคือหน้าสัมผัสการอ่านข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการเสียหายของข้อมูลได้ง่ายกว่า Flash Memory ชนิดอื่น ๆ

5.3.5 Secure Digital (SD) ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Matsushita Electronic Industrial มีขนาด 24x32x2.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2 กรัม มีความเร็วแสงในการส่งผ่านข้อมูล 10 MB/s

5.3.6 Multimedia Card (MMC) ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง SanDisk Corporation และ Siemens มีขนาดเล็กที่สุดเพียง 24x31x1.4 มิลลิเมตร น้ำหนักน้อยกว่า 2 กรัม นิยมใช้ในกล้องดิจิทัลและอุปกรณ์เล่นเพลง MP3 หรืออุปกรณ์พกพาอีกหลายชนิด

6. ปุ่มควบคุมการทำงาน มีหน้าที่จัดการกับลักษณะของภาพถ่าย จะทำงานคู่กับเมนูการทำงานที่จะแสดงผลออกทางจอ LCD กับตัวกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานของปุ่มควบคุมการทำงานและเมนูควบคุม การทำงานที่ต่างกันออกไป กล้องราคาถูกแบบอัตโนมัติจะมีปุ่มควบคุมการทำงานไม่มากนัก แต่หากเป็นกล้องราคาแพงและประสิทธิภาพสูงจะมีปุ่มการทำงานมากและมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยึ่งขึ้น

7. ชัตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเปิดและปิดหน้ากล้องในการรับแสงว่าจะเปิดให้แสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านได้นานเท่าใด โดยส่วนมากชัตเตอร์ของกล้องดิจิทัลจะสามารถ กดได้ 2 ระดับคือ การกดชัตเตอร์แล้วยกขึ้นทันที ซึ่งเป็นการหาตำแหน่งโฟกัสของภาพ และการกดชัตเตอร์ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาทีเป็นการเปิดหน้ากล้องเพื่อทำการถ่ายภาพจริง ๆ

อัพเดทล่าสุด