กล้องดิจิตอล การจัดการถ่ายภาพของกล้องดิจิตอล


726 ผู้ชม


การจัดการถ่ายภาพของกล้องดิจิตอล
หลังจากการถ่ายภาพได้ตามต้องการแล้ว ภาพทั้งหมดจะถูกเก็บในการ์ดหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้งานจะต้องถ่ายโอนภาพลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะตกแต่งภาพหรือนำไปพิมพ์ภาพ วิธีการจัดการกับภาพถ่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีวิธีการดังนี้
1. การเชื่อมต่อกล้องดิจิทัลเข้ากับคอมพิวเตอร์การนำภาพที่ถ่ายไว้ออกมาจากตัวกล้องมีวิธีต่าง ๆ กัน สามารถเลือกบันทึกชนิดของไฟล์รูปภาพ เพื่อนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ และรวดเร็วมากที่สุดการเชื่อมต่อกล้องดิจิทัลเข้ากับคอมพิวเตอร์ทำได้หลายวิธี วิธีที่นิยมใช้และสะดวกในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
1.1 การส่งภาพผ่านทางพอร์ต USB เป็นการเชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงด้วยการเสียบสายUSB จากตัวกล้องเข้าไปยังด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการติดตั้งไดรเวอร์ซึ่งจะมีซอฟ์แวร์จัดการภาพถ่ายติดตั้งให้มาด้วยแล้ว จะมองเห็นไดรว์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ไดรว์ที่มีการใช้งานเช่นเดียวกับไดรว์ทั่วไปคือสามารถลบและจัดการไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในไดรว์ได้ และการอ่านหน่วยความจำโดยตรงจากตัวกล้องซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องอ่าน Flash Memoryอยู่ภายในกล้องเอง การเชื่อมต่อประเภทนี้จะพบในกล้องที่มีราคาไม่สูงนัก หากเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูง ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถเก็บลงในตัวกล้องได้เพียงพอ ต้องอาศัยหน่วยความจำจากภายนอกเข้ามาเป็นตัวจัดเก็บข้อมูลแทน จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1.2 การส่งภาพผ่านทาง Adapter Card เป็นการส่งข้อมูลสำหรับกล้องดิจิทัลที่ใช้หน่วยความจำภายนอกประเภท Flash Memory ซึ่งใช้หน่วยความจำที่แตกต่างกันออกไป ส่วนมากจะใช้หน่วยความจำที่เรียกว่า Compact Flash และ Smart Media เครื่องอ่าน Flash Memory จะใช้งานเชื่อมต่อ กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางพอร์ต USB และสามารถใช้งานได้ทันทีที่ติดตั้งไดรเวอร์ โดยจะมองเห็นไดรเวอร์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ไดรว์เช่นเดียวกับการส่งภาพโดยตรงจากกล้องดิจิทัลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB จะส่งข้อมูลภาพได้รวดเร็ว จึงทำให้การส่งข้อมูลภาพผ่านทางพอร์ตUSB ของ Adapter Card ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

2. การอ่านรูปภาพจากกล้องดิจิทัลผ่านโปรแกรม ACDSee และ Photoshopซอฟ์ตแวร์ที่ให้มาพร้อมกับตัวกล้องจะสามารถดึงภาพจากกล้องดิจิทัลมาไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะไม่สามารถตกแต่งภาพและจัดการภาพถ่ายนั้นได้ หรือได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่าโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับการตกแต่งภาพโดยตรงเช่น โปรแกรม ACDSee และ Photoshop ทั้ง 2 โปรแกรมนี้สามารถดึงภาพจากกล้องดิจิทัลและปรับแต่งได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งภาพ การเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์ภาพให้เป็นไปตามต้องการอย่างง่ายดาย
2.1 การ Import ผ่านโปรแกรม ACDSee
2.1.1 การ Import ผ่านโปรแกรม ACDSee ชื่อของเมนูในการ download ภาพจากตัวกล้องเข้าสู่คอมพิวเตอร์จะแตกต่างกันออกไปตามไดรเวอร์ยี่ห้อกล้องซึ่งมีชื่อเรียกต่างกัน แต่จะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน โดยเข้าไปที่เมนู File แล้วเลือก Acquire หรือกด Ctrl+A
2.1.2 หลังจากนั้นจะได้ซอฟ์ตแวร์การจัดการภาพถ่าย มีลักษณะและการใช้งานที่ต่างกันตามยี่ห้อและรุ่น
2.1.3 ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการและ download ภาพจากตัวกล้องลงเครื่องคอมพิวเตอร์
2.2 การ Import ผ่านโปรแกรม Photoshop
2.2.1 เข้าไปที่เมนู File และเลือก Import หลังจากนั้นทำการเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลภาพมาไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Digimax35 MP3
2.2.2 เมื่อเลือกแล้วจะได้ซอฟ์ตแวร์จัดการภาพถ่ายเช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม ACDSee หรือPhotoshop จะทำการเรียกซอฟ์ตแวร์ที่ได้ทำการติดตั้งพร้อมกับไดรเวอวร์ขึ้นมาทำงาน
2.2.3 ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการและ download ภาพจากตัวกล้องลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำภาพที่ได้นั้นมาทำการตกแต่งในขั้นตอนต่อไป
2.3 วิธี Import รูปภาพจากหน่วยความจำโดยตัวอ่านข้อมูลแบบต่าง ๆสำหรับกล้องดิจิทัลที่ไม่มีสายUSB เพื่อการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์กับกล้องดิจิทัล จะต้องอาศัยเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำแบบ Compact Flash หรือ SmartMedia หรือ Memory Stick มีการใช้งานที่ง่ายเหมือนกับการใช้ Floppy Disk เมื่อเสียบเครื่องอ่านการ์ดผ่านทางพอร์ต USB เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วติดตั้งไดรเวอร์ก็สามารถใช้งานได้ทันทีด้วยการนำหน่วยความจำที่ถอดออกมาจากกล้องดิจิทัลมาเสียบเข้ากับเครื่องอ่านการ์ด ก็จะสามารถมองเห็นรูปภาพต่าง ๆ ที่ได้ถ่ายโอนมาสามารถคัดลอกหรือลบไฟล์ภาพเหล่านั้นได้ทันที โดยไม่ต้องอาศัยกล้องดิจิทัลในการทำงานในส่วนนี้เลย
3. ไฟล์รูปภาพ
การใช้งานรูปภาพนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าต้องการใช้งานในด้านใด ไฟล์รูปภาพที่นำมาใช้งานทั่ว ๆ ไปมีหลายนามสกุล ดังนี้
.BMP เป็นไฟล์มาตรฐานที่ระบบปฏิบัติการ Windows สร้างขึ้นมา เป็นไฟล์ที่สามารถรักษาความละเอียดของภาพได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจำกัดคือ ไฟล์นั้นจะมีขนาดใหญ่นำมาใช้งานไม่สะดวก
.JPG เป็นไฟล์ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบสูญเสียข้อมูล ภาพที่ได้นำมาใช้งานทั่ว ๆ ไป ไฟล์ประเภทนี้จะตัดรายละเอียดของภาพบางส่วนออก ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ไม่สามารถมองเห็นสีได้มากนักเหมาะสำหรับเก็บไว้ดูหรือนำไปลงอินเทอร์เน็ต
.GIF เป็นไฟล์ที่มีการบีบอัดข้อมูลสูง แต่จะให้ความละเอียดของภาพมากกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กมาก มักนำมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด เพราะไฟล์ที่มีขนาดเล็กทำให้ไม่เสียเวลาในการ เปิดหน้าเว็บไซต์ที่มีรูปภาพประกอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว
.PSD เป็นไฟล์ที่เกิดจากโปรแกรมตกแต่งรูปภาพคือ Photoshop ไฟล์ประเภทสามารถแก้ไขได้ง่าย เพราะมีการทำงานเป็นเลเยอร์ มีข้อจำกัดคือมีไฟล์ขนาดใหญ่ และสามารถเปิดได้กับโปรแกรม Photoshop อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเปิดกับโปรแกรมจัดการรูปภาพอื่น ๆ ได้
.TIF เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ สามารถแสดงผลความละเอียดของภาพได้ทุกระดับตั้งแต่ภาพขาวดำไปจนถึงภาพสี ซึ่งจะนำไปใช้กับงานทางด้านการพิมพ์ สามารถใช้ได้กับทั้งเครื่อง MAC และ PC โปรแกรมที่ใช้ ตัวอย่างเช่น PageMaker
.PNG เป็นไฟล์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ใช้งานได้กับเครื่องที่มีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการทำงาน และสามารถทำงานอยู่บนคนละระบบปฏิบัติการ เช่น Linux และ Windowsจะเห็นได้ว่าไฟล์แต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการทำงานและการบีบอัดไฟล์ที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งานและความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการไฟล์แบบใด

อัพเดทล่าสุด