กล้องดิจิตัล ประเภทของไฟล์ภาพที่ใช้ในกล้องดิจิทัล


962 ผู้ชม


ประเภทของไฟล์ภาพที่ใช้ในกล้องดิจิทัล

กล้องดิจิทัลจะเก็บข้อมูลภาพอยู่ในระบบดิจิทัล โดยส่วนมากจะแบ่งไฟล์ในการบันทึกเป็น 3 ประเภท
(ปรีชา จินดามณีศิริกุล 2545: 51) ดังนี้
1. ไฟล์สกุล TIFF (Tagged Image File) ได้รับการพัฒนามาจากบริษัท Microsoft และ Aldus เป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในการจัดเก็บไฟล์ภาพทั้ง 3 ประเภท เนื่องจากเป็นไฟล์ที่บีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล โดยการประมวลผลของโปรแกรมภายในตัวกล้องดิจิทัล สามารถแสดงผลได้ในทุกระดับความละเอียด ตั้งแต่ภาพขาวดำไปจนถึงภาพสี สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย นำไปเปิดกับโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งรูปภาพ หรือโปรแกรมจัดการภาพถ่ายทั่วไปได้ มีข้อจำกัดคือเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก นิยมนำไปใช้ในงานการพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการนำเสนอภาพที่ไม่สูญเสียรายละเอียดของภาพให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับมากที่สุด เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา
2. ไฟล์สกุล JPEG (Joint Photographic Experts Group) ภาพที่จัดเก็บในสกุลนี้ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดภาพให้ออกมาเป็นบล๊อคของพิกเซล จากนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเพื่อให้เกิดการบีบอัดในอัตราส่วน 10:1 ไปจนถึง 100:1 ยิ่งภาพมีการบีบอัดมากขึ้นเท่าใด ความละเอียดและความคมชัดจะน้อยลงไปด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กับกล้องดิจิทัล เนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก สามารถจัดเก็บภาพลงในหน่วยความจำได้จำนวนมากและสามารถเลือกรูปแบบความละเอียดในการบันทึกได้ เช่น หากต้องการความละเอียดมากก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก ต้องการความละเอียดน้อยก็ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย การจัดเก็บไฟล์ภาพแบบ JPEG เป็นการลดคุณภาพของภาพถ่าย โดยการตัดสีที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น สีที่สายตาไม่สามารถมองเห็นได้แล้วอาศัยการคำนวณเพื่อจัดเรียงลำดับของสีใหม่ สำหรับไฟล์ภาพประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพทั่วไป ที่ไม่ต้องอาศัยความละเอียดของภาพสูง เช่น ภาพที่นำไปใช้สำหรับการเขียนโฮมเพจ
3. ไฟล์สกุล RAW เป็นไฟล์ที่มีการจัดเก็บในกล้องที่มีค่าความละเอียดมาก ๆ หรือค่า Resolution สูง การบันทึกภาพแต่ละครั้งจะบันทึกลงในกล้องโดยไม่ผ่านการปรับแต่งค่าใด ๆ ถือเป็นการบันทึกแบบข้อมูลดิบ การแสดงผลภาพถ่ายจากโปรแกรมที่มากับตัวกล้อง โปรแกรมอื่น ๆ ไม่สามารถใช้งานได้ ไฟล์ชนิดนี้มักจะอยู่ในกล้อง SLR ระดับสูงที่มีราคาแพงมาก
4. การจัดเก็บและการตกแต่งภาพในการจัดเก็บและตกแต่งภาพจากกล้องดิจิทัลมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการรูปภาพ
4.1 คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับกล้องดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางให้กล้องดิจิทัลสามารถแสดงรูปภาพและนำภาพเหล่านั้นมาใช้งานตามความต้องการอย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยความสามารถในการตกแต่งรูปภาพผ่านโปรแกรมจัดการรูปภาพต่าง ๆ ตามความเหมาะสม องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มี 2 ส่วนคือ

1) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างและจับต้องได้ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัล มีดังนี้
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความเร็วในการทำงานเป็น MHz CPU ที่มีความเร็วในการ ทำงานสูงจะสามารถทำให้การทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานกับกล้องดิจิทัลควรอยู่ในระดับ 233 MHz ขึ้นไปเมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรที่มีหน้าที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการติดตั้ง CPU และควรมี USB port ติดตั้งมาพร้อมด้วยแรม(Memory) หรือหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บคำสั่งในการทำงานต่าง ๆ ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำปริมาณมากจะทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานกับโปรแกรมด้านกราฟิก แรมที่เหมาะกับการใช้งานกับกล้องดิจิทัลไม่ควรต่ำกว่า 64 MB หากต้องการให้ทำงานอย่างราบรื่นควรมีหน่วยความจำตั้งแต่ 128 MB ขึ้นไปฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลโปรแกรมต่าง ๆ แบบถาวร ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง มีหน่วยความจุเป็นกิกะไบต์ ขนาดที่เหมาะกับการใช้งานควรมีขนาด 4-6 กิกะไบต์ขึ้นไปการ์ดจอ (Video card / VGA card) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการแสดงผลของภาพออกมาทางจอคอมพิวเตอร์ ความสามารถของการ์ดจอนั้นจะต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ดจอ ดังนั้นการแสดงผลภาพได้ดีจะต้องมีหน่วยความจำมาก ๆ ไม่ควรต่ำกว่า 8 เมกะไบต์ จอภาพ(Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงภาพ คุณภาพและความคมชัดของการแสดงผลขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพหลอดภาพ และจอแบบแบนหรือจอโค้ง จอภาพที่เหมาะสมควรมีขนาด 15 นิ้วขึ้นไป และแสดงผลได้ไม่ต่ำกว่า 16.7 ล้านสี นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเที่ยงตรงของภาพและสีในการแสดงผลเครื่องเขียนซีดี (CD Writer) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 650 MB เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเก็บภาพถ่ายให้อยู่อย่างทนถาวร เคลื่อนย้ายหรือพกพาได้สะดวก ใช้ประโยชน์ควบคู่กับฮาร์ดดิสก์ซึ่งอาจจะเต็มหรือมีโอกาสชำรุดหรือข้อมูลสูญหายได้เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เสริมช่วยพิมพ์ภาพที่ต้องการได้อย่างอิสระด้วยการตกแต่งแก้ไขและสั่งพิมพ์ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กับกล้องดิจิทัลคือ เครื่องพิมพ์ประเภทพ่นหมึก (Ing Jet) คุณสมบัติของฮาร์ดแวร์ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานได้ในระดับหนึ่งหรือเรียกว่าเป็นคุณสมบัติขั้นต่ำ แต่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความสามารถและความเร็วในการทำงานสูงเพียงพอที่จะรองรับการทำงานต่าง ๆ ของกล้องดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
2) ซอต์ฟแวร์ (Software) มี 2 ประเภทคือ ซอต์ฟแวร์ระบบและซอฟ์ตแวร์สำเร็จรูป ซอต์ฟแวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอต์ฟแวร์สำเร็จรูป เช่น Windows, Mac OS, Linuxซอต์ฟแวร์สำเร็จรูป หรือ ซอต์ฟแวร์ยูทิลิตี จะทำงานบนซอต์ฟแวร์ระบบอีกทีหนึ่ง เช่นโปรแกรม ACDSee, Photoshop, Winamp
2.1 ซอต์ฟแวร์สำหรับภาพดิจิทัลเมื่อซื้อกล้องดิจิทัลมักจะได้รับซอฟ์ตแวร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงซอต์ฟแวร์ไดรเวอร์ในการโหลดรูปเท่านั้น หรือสามารถใช้จัดหมวดหมู่ภาพ ใช้ตกแต่งภาพ หรือนำภาพนั้นมาสร้างสรรค์งานแปลก ๆ ใหม่ ๆ ได้ตามต้องการ ซอต์ฟแวร์ที่น่าสนใจ (QuickPC 2546: 14-18) มีดังนี้
Ulead Photo Explorer (บราวเซอร์สำหรับภาพถ่ายแบบฟรี ๆ) เป็นโปรแกรมพรีวิวไฟล์ภาพที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มีลักษณะและความสามารถคล้ายกับโปรแกรม ACDSee แต่โปรแกรม Ulead Photo Explorer 6.02 นี้มีจุดเด่นคือ เป็นฟรีแวร์ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่จำกัดเวลา แต่ความสามารถในการทำงานไม่เทียบเท่าโปรแกรมที่ต้องซื้อ ใช้ดูไฟล์ภาพด้วยคำสั่งการใช้ งานพื้นฐาน เช่น การหมุนภาพ การแปลงฟอร์แมนไฟล์ การพิมพ์ภาพทั้งโฟลเดอร์ออกมาเป็นแบบ Thumbnails การ upload ภาพขึ้นเว็บการสร้าง สกรีนเซิร์ฟเวอร์ ผู้ที่ต้องการใช้สามารถ download โปรแกรมได้ที่เว็บไซต์ www.download.com

อัพเดทล่าสุด