มะเร็งปากมดลูก โรคที่คุณผู้หญิงมองข้ามไม่ได้


1,093 ผู้ชม


โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

โครงสร้างของปากมดลูก

โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตร ีประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube]  มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด



มะเร็งในระยะเริ่มแรก

เซลล์ ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.

  • Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
  • High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas

การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว

  • มี เลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็น มะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่

  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การ มีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัย

จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ  Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร

อัพเดทล่าสุด