การทำชิ้นงานจากเรซิ่น
|
สำหรับการหล่อเรซิ่นที่จะแนะนำให้ทดลองทำกันในครั้งแรกคือตัวติดตู้เย็นเพราะขั้นตอนเข้าใจง่าย ตัวติดตู้เย็นที่ทำจากเรซิ่นจะสวยงามกว่าที่ทำจากปูนปลาสเตอร์เพราะเรซิ่นสามารถให้รายละเอียดได้มากกว่าและแข็งแรง กว่าปูนปลาสเตอร์มาก เรซิ่นหรือโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ปกติจะอยู่ในรูปของเหลวข้นเหนียวเหมือนน้ำมันเครื่อง มีกลิ่นฉุน เรซิ่นสามารถ หล่อเป็นรูปต่างๆได้ตามแบบพิมพ์ โดยจะผสมกับเคมีบางอย่างเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัวและเมื่อแข็งตัวแล้วจะไม่สามารถกลับคืน ให้เหลวได้อีก ปัจจุบันเรซิ่นนิยมใช้กันแพร่หลายมากทั้งในงานไฟเบอร์กลาส สินค้ากิ๊ฟชอป ตุ๊กตา เครื่องประดับ กระดุม ฯลฯ ในการทำชิ้นงานจากเรซิ่นแรกๆอาจจะดูยุ่งยากแต่หากลองทำดูสัก2-3ครั้งก็จะรู้สึกง่าย
|
| หากท่านเคยหล่อปูนปลาสเตอร์มาแล้ว (ซึ่งง่ายมาก ผสมปูนกับน้ำแล้วเทลง ในพิมพ์ได้เลย) จะสามารถเข้าใจได้ง่ายมากเพียงแต่เรซิ่นต้องผสมส่วนผสม มากกว่านิดหน่อย ก่อนเทลงในพิมพ์ | |
มาเริ่มรู้จักวัสดุอุปกรณ์การทำเรซิ่นกันก่อนครับ วัสดุอุปกรณ์ส่วนแม่พิมพ์ มีลักษณะเหลวข้นเหมือนกาว เมื่อเติมตัวทำให้แข็งลงไปจะทำให้แข็งตัวคล้ายยาง แต่มีคุณสมบัติเหนือกว่า ยางธรรมชาติคือ รักษารูปทรงได้ดีกว่า ทนความร้อนได้สูงกว่า จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำแม่พิมพ์ ลักษณะเหลวใส ใช้ใส่ในซิลิโคนเพื่อให้ซิลิโคนแข็งตัว - ยางซิลิโคน
- ตัวทำให้แข็งซิลิโคน
ส่วนประกอบของการหล่อเรซิ่น โพลืเอสเตอร์เรซิ่น ตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาตัวทำให้แข็ง (Hardener) ส่วนประกอบเสริมอื่นๆ
สำหรับเบอร์ที่นิยมใช้ในงานหล่อต่างๆ จะใช้เบอร์ PC-600-8 ใช้ผสมกับเรซิ่นเพื่อเร่งให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว มีลักษณะเป็นของเหลวสีม่วง บางทีเรียกว่า ตัวม่วง เมื่อผสมลงในเรซิ่นทำให้เรซิ่นมีสีออกชมพูอ่อนๆ ใส่ลงไปเพียง 0.2-0.5%ก็พอ อาจทำการผสมไว้ก่อนเมื่อจะใช้งานก็เพียง นำมาผสมตัวทำให้แข็งได้เลย ใช้ผสมเรซิ่น เพื่อให้เรซิ่นแข็งตัว มีลักษณะเหลวใสมีกลิ่นฉุน ใช้ในปริมาณ 1-2 % ของเรซิ่น - ผงทัลคัม เป็นผงสืขาวเหมือนแป้งเด็ก ใช้ผสมกรณีไม่ต้องการให้เนื้อเรซิ่นใส เมื่อผสมลงไปทำให้เรซิ่นทึบแสง เบาขึ้น แล้วยังเป็นการ เพิ่มเนื้อเรซิ่นอีกด้วย ปกติจะใช้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเรซิ่น - สีผสมเรซิ่น กรณีต้องการเรซิ่นสีต่างๆ มีลักษณะเหลวข้นเหมือนจาระบี หรืออาจใช้สีน้ำมันธรรมดาก็ได้ - ภาชนะผสม ไม้กวน และอาซืโตนหรือ ทินเนอร์ไว้ล้างอุปกรณ์ ์ ภาพประกอบจากหนังสือ เรซิ่น ของ อาจารย์ปัทมารัตน์ อุปติ
- อาจมีการใช้น้ำยาถอดแบบ พีวีเอ ใช้ทาบนผิวชิ้นงานในบริเวณที่ไม่ต้องการให้เรซิ่นหรือ ซิลิโคนติดต้นแบบ มีลักษณะเหมือนกาวน้ำ |
กรณีมีแม่พิมพ์อยู่แล้ว - เทเรซิ่นลงในภาชนะผสม กะปริมาณให้เหมาะสมกับจำนวนหรือขนาดที่ต้องการหล่อ ใส่ตัวเร่ง(ตัวม่วง)
ลงไป 0.5 % กวนให้เข้ากัน (สามารถผสมเรซิ่นกับตัวเร่งเตรียมไว้ปริมาณมากๆก็ได้) - ถ้าต้องการให้ทึบแสง ใส่ทัลคัมลงไปครึ่งหนึ่งของเรซิ่น กวนเข้ากัน แล้วใส่สีตามต้องการ
- ใส่ตัวทำให้แข็ง(ฮาร์ดเดนเนอร์)ลงไป 1-2 % สามารถเพิ่มได้ถ้าชำนาญจะทำให้แข็งเร็วขึ้น ถ้ามากเกินจะแตกร้าวได้
กวนเข้ากันแล้วเทลงในพิมพ์ ตามต้องการ ทิ้งให้แข็งตัว (เรซิ่น 30-40 กรัม ใช้ตัวทำแข็ง 15-30 หยด) - ตกแต่งด้วยสีน้ำมัน ถ้าทำแม่เหล็กติดตู้เย็นก็เอาแม่เหล็กมาติดด้านหลังด้วยปืนยิงกาว ถ้าทำใหญ่หน่อยก็สามารถทำ
นาฬิกาได้ดังรูป (ด้านซ้ายเป็นรูปแม่พิมพ์แบบง่าย ; ด้านขวาเป็นเรซิ่นที่หล่อและตบแต่งสี นำมาทำนาฬิกา แล้ว)
สามารถทำการหล่อได้เลย ตามวิธีการดังนี้ |
กรณีเป็นงานเต็มตัวเช่นตุ๊กตา จะต้องใช้แม่พิมพ์ซิลิโคนชนิดถก เหมือนแม่พิมพ์ หล่อปูนปลาสเตอร์ ที่มีจำหน่ายตามมุมเครื่องเขียนในห้างเพียงแต่ทำด้วยซิลิโคน |