โรคฮ่องกงฟุต โรคใกล้ตัว ที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้ รู้วิธีรักษา


839 ผู้ชม


โรคฮ่องกงฟุต โรคใกล้ตัว ที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้

โรคฮ่องกงฟุต โรคใกล้ตัว ที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้ รู้วิธีรักษา

คุณคงเคยได้ยินชื่อ โรคฮ่องกงฟุต กันมาบ้างแล้ว ...โรคใกล้ตัวที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้

คืออาการคันที่เกิดจากเชื้อราที่เท้า ซึ่งคอยก่อกวนบรรดานักกีฬาที่นิยมออกกำลังจนเหงื่อออ ก เท้าอับชื้น เสมอๆ ไม่เพียงแต่เหล่านักกีฬาที่มักเป็นโรคนี้ แต่คุณเองที่บางทีอาจแค่นั่งๆ นอนๆ ดูโทรทัศน์อยู่กับบ้านก็มีโอกาสเป็นเชื้อราที่เท้าได ้เหมือนกัน ใครที่เป็นถ้าไม่รีบรักษา ปล่อยไว้อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคเรื้อรัง


เรื่องน่ารู้ของโรคฮ่องกงฟุต


1. เมื่ออากาศร้อนๆ และเท้าชื้นมากๆ ประกอบกับมีเหงื่อออกด้วย จึงเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากา ศร้อนชื้น


2. Tinea คือชื่อสามัญของการติดเชื้อที่ผิวหนัง Tinea pedis (pedis หมายถึง เท้า ในภาษาลาติน) คือโรคเชื้อราที่เท้า Jock itch หรือ tinea cruris (cruris หมายถึง ขา) คือการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา ข้อพับต้นขา มีอีกชื่อหนึ่งว่า สังคัง Ringworm หรืออีกชื่อหนึ่งว่า tinea capitis (capitis หมายถึง ศีรษะ) คือ กลากที่ศีรษะ


3. การติดเชื้อส่วนใหญ่มักมาจากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ใช้ผ้าเช็ดตัว ใส่รองเท้าร่วมกับผู้อื่น หรือว่ายน้ำในสระสาธารณะ ซึ่งสิ่งของและที่เหล่านี้เป็นที่ที่เชื้อราเจริญเติ บโตได้ดี


4. อาการของโรคเชื้อราที่เท้า

- คันตามซอกนิ้วเท้า และผิวลอกออกเป็นขุยๆ
- เป็นผื่นที่เท้า
- ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง
- นิ้วเท้าหนาและแตก
ที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้า และอาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บเท้าได้
5. การรักษาโรคเชื้อราที่เท้า

- ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดหรือเป่าให้แห้ง
- ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่สะอาด และไม่เปียกชื้น
- ใช้ครีมกันเชื้อรา หรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า
- เท้าต้องสะอาดและแห้งเสมอ ใช้แป้งหรือครีมกันเชื้อรา ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือกำเริบ ควรพบแพทย์เพื่อที่ได้สั่งยา ต้านเชื้อราได้ถูกต้อง และวินิจฉัยสาเหตุอื่นของอาการเหล่านั้น
6. ป้องกันได้อย่างไร

- ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่แห้ง
- เช็ดหรือเป่าเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกเท้าหลังจากอาบน้ ำ
- ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยขนสัตว์ดีกว่าผ้าฝ้ายเพราะผ้าขนส ัตว์ช่วยซับความชื้นจากเท้า
- ถ้าเท้าเปียกโชก ควรเปลี่ยนรองเท้า
- ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกัน ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน
แม้ว่าจะใส่รองเท้าแตะในที่อาบน้ำหรือสระน้ำสาธารณะเ พื่อป้องกันการติดเชื้อราแล้วก็ตาม แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำให้เท้าแห้ง
7. โรคแทรกซ้อน หรือที่เรียกว่า cellylitis คือการที่ผิวหนังอักเสบ เกิดในรายที่รุนแรง และสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

 

 



ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

อัพเดทล่าสุด