เตรียมตัวไปพบแพทย์
เวลาที่ได้พบแพทย์ : นาทีทองลองผู้ป่วย
การไปพบแพทย์แต่ละครั้ง ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญกับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท ห่างไกลสถานพยาบาล ซึ่งมักจะต้องจัดหารถเพื่อเดินทาง ชักชวนไหว้วานเครือญาติมาเป็นเพื่อน ต้องเตรียมอาหารการกินระหว่างการเดินทางและการรักษา จนพร้อมสรรพแล้วจึงออกเดินทางเข้ามาพบแพทย์หรือแม้แต่คนในเมืองก็ตามเวลาไป พบแพทย์ก็จะต้องเตรียมตัววางแผน และลางาน ซึ่งล้วนเกิดความสูญเสียทั้งเรื่องเวลาของการประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่ารักษาพยาบาล
เนื่องจากมีผู้ป่วยเป็น จำนวนมาก ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะได้พบแพทย์จึงเป็นช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ ซึ่งรวมถึงการเข้ารับการตรวจ การวินิจฉัย และให้การรักษาของแพทย์ จึงประมาณได้ว่า ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีเวลาพบแพทย์เพียง 5 ถึง 10 นาทีเท่านั้น
ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเปรียบเสมอนเป็น นาทีทองของผู้ป่วย ที่ จะต้องมีการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดี ถูกโรค ถูกยา หายป่วย หายไข้ ปลอดภัย และประหยัด
การเตรียมตัวไปพบแพทย์ เตรียมตัวและปฏิบัติอย่างไร? เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด ซึ่งเป็นส่วน "ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีเวลาพบแพทย์เพียง 5 ถึง 10 นาที เท่านั้น" หนึ่งของงานเภสัชกรรมชุมชน หรือเภสัชกรที่ร้านยา เมื่อซักถาม พูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว มีความเห็นว่าควรไปพบแพทย์ เภสัชกรก็จะใช้คำแนะนำการไปพบแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้ป่วยด้วย
การเตรียมตัวไปพบแพทย์ขอแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์
2. ขณะไปพบแพทย์
3. การปฏิบัติตนเองหลังไปพบแพทย์
การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์
ขั้นตอนแรกนี้เป็นจุด เริ่มต้นที่สำคัญ เริ่มจากการสังเกตสิ่งผิดปกติของตัวเรา ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีใครรู้ตัวเราเท่าตัวเราเอง ควรจดบันทึกสิ่งผิดปกติ และควรเลือกไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ และถ้ามีโอกาสก็ควรจำรายละเอียดให้แม่นยำ และถ้ามีรายละเอียดเป็นจำนวนมากก็อาจจะจดบันทึกวันเวลา ระยะเวลาที่มีอาการเจ็บป่วยความรุนแรง การลุกลาม ตำแหน่งที่เป็น อวัยวะที่รู้สึกเป็นต้น เพราะจะได้ดำเนินการดังนี้
1. สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
เมื่อเริ่มมีสิ่งผิดปกติ เกิดขึ้นกับร่างกายของเราควรสังเกต เฝ้าระวัง และติดตามอย่างสนใจ จดจ่อ และต่อเนื่อง ว่าสิ่งผิดปกตินี้มีอาการและระดับความรุนแรงอย่างไร เคยเป็นอย่างนี้มาหรือยัง รวมถึงระยะเวลาที่มีอาการเจ็บป่วย ความรุนแรง การลุกลาม ตำแหน่งที่เป็น อวัยวะที่รู้สึก และอื่นๆ ถ้ามีโอกาสก็ควรจำรายละเอียดต่างๆ ให้แม่นยำ แต่ถ้ามีรายละเอียดเป็นจำนวนมาก ก็อาจจะจดบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน เมื่อไปพบแพทย์จะได้ให้ข้อมูลได้ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลดีกับตัวเราเอง
2. ไม่มีใครรู้จักสุขภาพร่างกายของคุณได้ดีเท่ากับตัวคุณเอง
ไม่ว่าสิ่งผิดปกติจะเป็น ด้านจิตใจ ร่างกาย หรือความนึกคิดของคุณ คนที่จะรู้ดีที่สุด ก็คือตัวของคุณเองคนที่เป็นเจ้าของร่างกายอันนี้ ไม่ว่าจะเกิดสิ่งดี สิ่งร้ายโรคภัยไข้เจ็บอะไรขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรสังเกตสิ่งเหล่านี้ให้ครบถ้วนว่าเป็นอย่างไร เป็นที่ไหน เป็นมากนานเพียงใด
3.จดบันทึกข้อมูลสุขภาพ
รายละเอียดของสิ่งผิด ปกติเหล่านี้จะมีคุณค่ามากขึ้น และช่วยให้ได้ข้อมูลความเจ็บป่วยที่ครบถ้วน จึงควรจดบันทึกความเจ็บป่วยไข้ ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เป็นที่ไหนบ้าง เป็นมานานแค่ไหน จดบันทึกไว้ หรือบางคนอาจจัดทำไว้เป็นสมุดบันทึกสุขภาพก็ยิ่งดี และจะมีคุณค่ามากเมื่อไปพบแพทย์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
4. รู้แต่เนิ่นๆ ยังเป็นน้อยรักษาได้ง่าย
การสังเกตและไม่นิ่งนอน ใจในสิ่งผิดปกติต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะถ้ารู้ตัวแต่เนิ่นๆ ในขณะที่ยังมีอาการน้อย และความรุนแรงของโรคไม่มาก โดยทั่วไปก็จะทำการรักษาให้หายได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เสียเวลาและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ในทางตรงกันข้ามถ้าปล่อย ให้เป็นมากๆ แล้วจึงไปพบแพทย์ ขณะที่มีอาการมากและโรคลุกลาม การรักษาก็จะยุ่งยาก วุ่นวาย เสียเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก หลายคนต้องขายที่ขายทาง ขายไร่ขายนา เพื่อนำเงินมาใช้รักษา จนเกิดคำว่า ล้มละลายจากการรักษาพยาบาล
5. เตรียมข้อคำถามที่อยากรู้
นอกจากนี้ อาจซักซ้อนเตรียมคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยที่ต้องการทราบคำตอบจาก แพทย์ เช่น โรคที่เป็น ระดับความรุนแรงของโรค เป้าหมายของการรักษา ยาและการใช้ยา เป็นต้น เพราะจะได้ถามแพทย์ในช่วงนาทีทองของคุณ
ขณะไปแพทย์
ขั้นตอนแรกเหมือนการวาง แผนเพื่อรวบรวมข้อมูลสิ่งผิดปกติและเตรียมตัวไปพบแพทย์ และเมื่อถึงขั้นตอนที่ 2 ที่ผู้ป่วยจะไปพบแพทย์จริงๆ ก็ควรจะไปแต่เช้า หรือตรงเวลานัดของแพทย์จริงๆ ก็ควรจะไปแต่เช้า หรือตรงเวลานัดของแพทย์ ถ้าจะให้ดีก็ควรหาเพื่อนไปด้วย ให้ข้อมูลที่สำคัญให้ครบถ้วน ตั้งใจฟังการวินิจฉัย ความเห็น และคำแนะนำของแพทย์ และรู้จักเป้าหมายการรักษาอย่างชัดเจน ดังนี้
1. ไปแต่เช้า หรือตรงเวลานัดของแพทย์
เวลาจะไปพบแพทย์ควรไปแต่ เช้าๆ หรือกรณีที่แพทย์ได้นัดให้ไปพบ ก็ควรไปให้ตรงเวลาหรือไปก่อน สักระยะหนึ่งก็จะดี ควรพกข้อมูลบันทึกปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นไปด้วย เพื่อจะได้ช่วยจำ ป้อนข้อมูลให้กับแพทย์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
2. หาเพื่อนไปด้วย จะได้ช่วยเหลือกัน
ถ้าเป็นไปได้ควรหาคู่ สมรส ญาติสนิท หรือมิตรสหายไปเป็นเพื่อนเวลาไปพบแพทย์ด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันเล่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และรับฟัง ช่วยกันจำคำแนะนำและวิธีการปฏิบัติดูแลตัวเองในการรักษาของแพทย์ มีรายงานทางการแพทย์ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะลืมคำแนะนำของแพทย์ เมื่อเดินออกจากห้องตรวจ ทำให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลรักษาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ได้ไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ได้รับผลการรักษาอย่างไม่เต็มที่ จึงควรชวน เพื่อนสุขภาพ ไปพบแพทย์ด้วย
3. ตั้งใจฟังแพทย์ ถ้าสงสัยควรถามได้เลย
ขณะที่อยู่ในห้องตรวจ ต่อหน้าแพทย์ เป็นช่วงนาทีทองที่แท้จริง จึงควรมีสมาธิ ตั้งใจฟังดี ทั้งเรื่องการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร มีระดับความรุนแรงเพียงใดจะมีวิธีการดูแล ปฏิบัติตนเอง การรักษาและใช้ยาอย่างไร ถ้ามีรายละเอียดมาก ก็อาจจดบันทึกไว้ หากมีข้อสงสัย ไม่ต้องเกรงใจแพทย์ ขอความกรุณาแพทย์ให้ความกระจ่างได้เลย โดยเฉพาะคำถามที่อยากจะรู้ เช่น การปฏิบัติตนเอง เป้าหมายของการรักษา รวมถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ค่าใช้จ่าย ค่ารักษา ค่ายาที่จะต้องจ่ายเอง ถ้าเตรียมตัวมาไม่เพียงพอ หรือเป็นจำนวนเงินมากเกินไป ก็ปรึกษาท่านได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ
4. รู้จักเป้าหมายการรักษาอย่างชัดเจน
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก สำหรับผู้ป่วย คือเป้าหมายของการรักษาโรค ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของโรคนั้นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง จะมีเป้าหมายของความดันโลหิตตัวบน (ขณะที่หัวใจบีบตัว) เท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท และเป้าหมายของความดันโลหิตตัวล่าง (ขณะที่หัวใจคลายตัว) เท่ากับ 80 มิลลิเมตรปรอท
ขณะที่โรคเบาหวานที่มี เป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดในตอนเช้าหลังอดอาหารมามีค่าเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรื เป้าหมายเหล่านี้คือจุดหรือช่วงที่สำคัญของผู้ป่วย เพราะถ้าบรรลุเป้าหมาย จะมีความปลอดภัยสามารถควบคุมอันตรายของโรคให้อยู่ในช่วยที่ปลอดภัยเป็นสิ่ง ที่พึงประสงค์ และเป็นที่ปรารถนาทั้งของแพทย์ที่ให้การรักษาและของผู้ป่วยที่ประสบปัญหา สุขภาพนั้นๆ อีกมุมหนึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตนเองจนสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ก็แสดงถึงความสามารถในการดูแลรักษาที่ดีของผู้ป่วยจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ
นอกจากนี้เป้าหมายการ รักษา ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรู้ ตระหนัก และยอมรับความเจ็บป่วยของตนเอง ซึ่งจะส่งผลเป็นความร่วมมือในการรักษา และมีส่วนสำคัญจ่อการรักษาควบคุมโรค
การปฏิบัติตนเองหลังไปพบแพทย์
ภายหลังจากที่พบแพทย์ผู้ ป่วยควรร่วมมือปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ ทั้งในเรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาและควรสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นก่อนไปพบแพทย์ว่า โรคที่ทุเลา เบาบาง หรือหายดีเพียงใด ทั้งยังควรสังเกตสิ่งผิดปกติใหม่ (ถ้ามี) เช่น การแพ้ยา ผลข้างเคียงของยา เป็นต้น และติดตามผลการรักษา ไปพบแพทย์ตามนัด ควรพกพาข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ ติดตัวอยู่เสมอ เช่น โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ การแพ้ยา เมื่อไปพบแพทย์ จะได้ให้ข้อมูลได้ทันที
เตรียมตัวไปพบแพทย์ (หมอชาวบ้าน)
คอลัมน์ : การใช้ยาพอเพียง
โดย : ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.doctor.or.th/