8 โรคต้องระวังลูกน้อยเมื่ออากาศเปลี่ยน
ช่วง ที่อากาศเปลี่ยน อุณหภูมิและความชื้นของอากาศมักมีผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสเป็นอย่างดี ทำให้เด็กวัยเบบี๋ที่ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทั้งนี้ยังพบว่า โรคติดเชื้อในเด็กเล็ก (บางโรค) ก็เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในเด็กเล็ก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จึงเป็นการเติมความรู้ และวิธีการป้องกันเฝ้าระวังไว้ก่อน
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
โรคไข้หวัด
โรคไข้หวัดกับเด็กเล็กๆ เป็นเรื่องที่เกิดได้บ่อย ตัวการสำคัญเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อโรคจะแพร่กระจายในที่ที่มีคนอยู่รวมกันมาก และในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สามารถติดต่อกันโดยหายใจเอาเชื้อโรค ซึ่งฟุ้งกระจายอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอหรือจามออกมา
เด็กจะมีอาการไอ มีน้ำมูกใสๆ หายใจครืดคราด และอาจมีไข้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะเป็นมากใน 1-2 วันแรก แล้วค่อยๆ ดีขึ้นส่วนใหญ่ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาการจะหายใน 1 สัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนน้ำมูลจะข้นขึ้น อาจมีสีเขียว เหลือง ในกรณีนี้จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ) กรณีที่เด็กเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป คือมีไข้สูง ตัวร้อน มีอาการหนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวหรือมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
โรคปอดบวม
โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ เป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัดที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรืออาจเกิดจากการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง ติดต่อ กันโดยการหายใจละอองของผู้ที่มีเชื้อโรคหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมที่พบบ่อยในเด็ก คือเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
โรคปอดบวมมักเกิดตามหลังโรคไข้หวัด 2-3 วัน โดยจะมีไข้สูงไอมาก หายใจหอบมักจะหายใจเร็ว หากมีอาการรุนแรงอาจหอบเหนื่อยถึงขั้นจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ บางรายอาจไม่ชัดเจน อาจไม่ไอ แต่มีอาการซึม ดื่มนมหรือน้ำน้อยลง ในรายที่รุนแรงเด็กจะหายใจเสียงดัง ปาก เล็บมือ-เท้าเขียว และกระสับกระส่าย ถ้าไข้สูงอาจมีอาการชักร่วมด้วย
หากลูกเกิดมีไข้สูง ควรพาไปพบแพทย์ทันที เพราะหากมีการรักษาที่ช้าหรือได้รับยาไม่ถูกต้อง อาจมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้
ปอดบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่อันตรายมักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการ ไอ จาม สัมผัส โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำอาจติดเชื้อโรคได้ง่ายซึ่งการติดเชื้อในเด็กเล็กมี โอกาสเกิดการติดเชื้อชนิดรุนแรงแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือเยื่อหุ้ม สมองได้ง่ายกว่ากลุ่มอายุอื่น
ปัจจุบันพบว่า เชื้อมีอาการดื้อยามากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ยาขนาดสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาได้ผลดีถ้ามาพบแพทย์ทันการณ์
ข้อมูลจากเอกสารขององค์การยูนิเซฟ ปี 2549 ระบุว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่ทำให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตในปีหนึ่งๆ มีจำนวนมากถึง 2,000,000 คนต่อปี โดยในจำนวนนี้มีจำนวนมากกว่า 400,000 ราย (1 ใน 5) เสียชีวิตจากภาวะปอดบวม จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดนิวโมคอคคัส
โรคหูอักเสบ
อาการในระยะแรกเด็กจะปวดหู มีไข้ เด็กเล็กๆ ที่ยังพูดไม่ได้จะร้องกวน ต่อมาราว 1-2 วัน แก้วหูอาจทะลุและมีหนองไหลออกมา อาการปวดจะหายไป บางรายที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ การอักเสบอาจลุกลามไปที่สมอง มีอันตรายถึงชีวิตได้
การป้องกัน
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด โดยเฉพาะในขณะที่มีการระบาดของไข้หวัด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ฯลฯ
ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ ถ้าตัวร้อนมาก ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้
ให้ความอบอุ่น สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ
หากมีไข้สูง ควรไปพบแพทย์
รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค
โดยเฉพาะเด็กเล็ก ถ้าหายใจเร็วหอบหรือหายใจแรงหายใจมีเสียงดัง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
โรคอุจจาระร่วง
การระบาดของโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อไวรัสโรตา ซึ่งติดต่อโดยการดื่มน้ำหรือการกินอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป นอกจากนี้อาจติดต่อผ่านทางน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วยได้
กรณีที่อาการไม่รุนแรง เด็กอาจไม่มีอาการเลยหรือมีเพียงถ่ายเหลวเล็กน้อย ในรายที่เป็นมากขึ้นจะมีอาการถ่ายเหลวบ่อยท้องอืดและก้นแดง อาเจียน มีไข้ แต่หากถ่ายเหลวมีมูกปนเลือดควรระวังการติดเชื้อแบคทีเรีย ในกรณีที่เป็นมากหรือถ่ายมีมูกเลือดปนควรรีบนำเด็กมาพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร่งด่วน เพราะหากเด็กเกิดภาวะอาการขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้
การดูแลเบื้องต้น ควรให้เด็กกินน้ำเกลือแร่หรือผงเกลือแร่ละลายน้ำ โดยให้ดื่มทีละน้อยๆ พร้อมทั้งให้อาหารที่ย่อยง่ายสำหรับเด็กที่กินนมผสม อาจต้องเปลี่ยนนมเป็นนมพิเศษที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส หรืออาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาในรายที่มีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดหรือสงสัยว่า เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หากอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที
โรคลำไส้อักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคบิด เชื้อไทฟอยด์ เป็นต้น ทำให้ลำไส้อักเสบเป็นแผล เชื้อที่พบบ่อยมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เกิดอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน และมีอาการปวดท้องมาก มัก เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหารทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้โดยตรง เด็กเล็กที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ จะมีอาการอาเจียน อุจจาระร่วง และอาจมีไข้ร่วมด้วย
การป้องกัน
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะสะอาด ปลอดภัย มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค (ถ้าลูกกินนมแม่ ก็อาจพบว่าลูกถ่ายได้หลายครั้ง ถ่ายเป็นสีเหลือง คล้ายยาสีฟัน ซึ่งถือว่าปกติค่ะ)
ล้างมือทุกครั้งก่อนการเตรียมอาหาร เติบโตได้เร็วช่วงอากาศร้อนๆ ทำให้ท้องร่วงได้ง่าย จึงควรให้เด็กกินอาหารที่สุก สดและสะอาดเสมอ
ปัจจุบันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรตามีวัคซีนป้องกันได้แล้วแต่สามารถใช้ได้ในเด็กเล็กต่ำกว่า 6 เดือนเท่านั้น
โรค มือ เท้า ปาก
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มเอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ coxsackie virus เชื้อสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ ทำให้ติดต่อกันได้ทางปากโดยตรง ซึ่งอาจติดมากับมือ ของเล่น การไอ จาม หรือใช้สิ่งร่วมกัน
โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงอาจติดต่อกันได้ โดยที่อาการยังไม่แสดงออก พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่อายต่ำกว่า 5 ปี (มักเกิดขึ้นในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนและโรงเรียน) อาการ เริ่มจากมีไข้ เจ็บคอ มีแผลอักเสบเป็นตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลตื้นที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก พบตุ่มน้ำใสขอบแดงที่มือ เท้า ก้น และรอบอวัยวะเพศร่วมด้วยได้ โดยทั่วไปอาการอาจไม่รุนแรง หายได้เองภายในระยะเวลา 7-10 วัน ในเด็กจำนวนน้อยมากที่อาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม หรือชัก และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในกรณีนี้มักเกิดจากเชื้อ เอนเทอโรไวรัส เบอร์ 71
การป้องกัน
หมั่นดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดทั้งผู้เลี้ยงและเด็ก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย สำหรับเด็กโตควรสอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่ายทุกครั้ง
ไม่ควรใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนม รวมกับผู้อื่น
หมั่นทำความสะอาดพื้น หรือของเล่นเด็ก ที่อาจเป็นพาหะปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือที่ที่เด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก
โรคไข้เลือดออก
มักระบาดในช่วงฤดูฝน เนื่องจากยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวัน ตามบ้านเรือนและโรงเรียน มักวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่า 2-10 ในปัจจุบันเริ่มมีการรายงานพบในเด็กโตและผู้ใหญ่มากขึ้น โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ โดยมียุงลาย (ตัวเมีย) เป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกความรุนแรงของโรคอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้
เชื้อโรคจะ อยู่ในร่างกายประมาณ 2-7 วัน (ในช่วงที่มีไข้) หากยุงซึ่งเป็นพาหะกัดคนในช่วงนี้ ก็จะได้รับเชื้อไวรัสได้ อาการมีความรุนแรงได้หลายระดับ ตั้งแต่มีไข้และหายไปเอง จนถึงในรายที่รุนแรงจะมีอาการช็อกได้ อาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะสำหรับโรคนี้ คือ
ไข้สูงลอย 2-7 วัน
มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
มีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก
ในระยะแรกที่เด็กมีไข้ อาจรักษาตามอาการโดยให้ยาลดไข้ และเฝ้าสังเกตอาการ หรือไปตรวจตามแพทย์นัดเป็นระยะๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง เช่น แสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนในการรักษาในโรงพยาบาล
การป้องกัน
หน้าต่าง ประตู และช่องลมปิดด้วยมุ้งลวด ตรวจราซ่อมแซมฝาบ้านฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามา
เวลาเข้า-ออกควรใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลวดก่อน เพื่อไล่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่ตามที่ต่างๆ
เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายอาจหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่างๆ ที่รกๆ
กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นที่เพาะพันธุ์ยุงในบ้าน
ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอ
ยุงลายจะ ชอบกัดตอนกลางวัน และมักเป็นช่วงที่คนหลับ ดังนั้น เวลาหลับควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมเบาๆ ก็ช่วยไล่ยุงได้หรือหากมียุงมากจริงๆ ก็ควรสวมใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ดูเผินๆ เหมือนไม่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศแต่หากดูแลเรื่องความสะอาดไม่ดีพอ ก็สามารถก่อปัญหาให้เด็กเจ็บป่วย ไม่สบายได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อโรคที่อยู่ที่บริเวณทวารหนัก เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในอุจจาระ มีการเคลื่อนตัวเข้าไปในท่อทางเดินปัสสาวะซึ่งอยู่ใกล้กันและเข้าไปสู่กระ เพราะปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบตามมา
โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคผิดปกติทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อไตอุดตัน หรือมีการอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้การระบายปัสสาวะไม่ดี มีการคั่งค้างปัสสาวะและเชื้อโรค อาจติดเชื้อโรคนี้ได้ง่ายขึ้นและเมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะแพร่กระจายขึ้นสู่ อวัยวะส่วนบนโดยที่ส่วนล่างไม่มีอาการแต่อย่างใด จึงต้องคอยสังเกตอาการ
ดูสีของปัสสาวะว่ามีสีขุ่นหรือไม่
มีกลิ่นฉุนผิดปกติ
ปัสสาวะกะปริบกะปรอยหรือไม่
กรณีที่มีไข้หลายวัน แต่ยังหาสาเหตุไม่เจอ ก็ควรพาลูกพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
การป้องกัน
ควรดูแลเรื่องความสะอาด หมั่นผลัดเปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อลูกขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว หรือหากเป็นไปได้ ก็ควรใช้ในช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อเป็นการร่วมด้วยช่วยกัน ห่วงใยโลก ลดขยะให้น้อยลง ทั้งยังลดรายจ่ายค่าผ้าอ้อมของคุณไปด้วยดังนั้น สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายของลูก แบบไม่ต้องลิ้นเปลืองเป็นภูมิต้านทานสร้างได้ใกล้ตัวที่สุด ก็คือนมแม่ และต่อด้วยการหมั่นดูแลสุขอนามัย สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของลูกน้อยเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเปลี่ยนด้วยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.motherandcare.in.th/
ฉบับเดือนตุลาคม 2550
เป็นโรค แทรกซ้อนของไข้หวัด ในขณะที่มีการติดเชื้อของคอ หูจะได้รับผลกระทบเสมอ เพราะเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสอาจผ่านมาทางท่อเชื่อมหูที่ติดต่อกับคอหอย หากไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็นโรคเรื้อรังทำให้หูหนวกได้ อาการ ในระยะแรกเด็กจะปวดหู มีไข้ เด็กเล็กๆ ที่ยังพูดไม่ได้จะร้องกวน ต่อมาราว 1-2 วัน แก้วหูอาจทะลุและมีหนองไหลออกมา อาการปวดจะหายไป บางรายที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ การอักเสบอาจลุกลามไปที่สมอง มีอันตรายถึงชีวิตได้
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่อันตรายมักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการ ไอ จาม สัมผัส โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำอาจติดเชื้อโรคได้ง่ายซึ่งการติดเชื้อในเด็กเล็กมี โอกาสเกิดการติดเชื้อชนิดรุนแรงแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือเยื่อหุ้ม สมองได้ง่ายกว่ากลุ่มอายุอื่น