|
| |
|
|
| ตอนอยู่ในท้องคุณแม่ ลูกน้อยได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว
ทุกอย่างช่างแตกต่างจากตอนอยู่ในท้องแม่เหลือเกิน ลูกน้อยเลยต้องปรับตัวค่อนข้างมาก
ซึ่งถ้าเขามีภูมิคุ้มกันที่ดี เขาก็จะสามารถปรับตัว และเผชิญหน้ากับเชื้อโรคต่างๆ ได้อย่าง
สบาย ฉะนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภูมิคุ้มกันแรกของลูก พร้อมกับแนวทางส่งเสริม
ให้เขามีภูมิคุ้มกันที่ดีตลอดไปค่ะ
|
|
|
| | ภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็จำเป็นที่ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี แต่สำหรับเด็กแรกเกิดนั้น เขาจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดค่ะ เพราะเขามีโอกาสรับเชื้อต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ฉะนั้นถ้าลูกน้อยวัยแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์พร้อม เขาก็จะเจ็บป่วยบ่อย ไม่มีพลังที่จะเรียนรู้ ส่งผลให้พัฒนาการ ทุกด้านของเขาต้องสะดุด คุณแม่จึงควรส่งเสริมให้ลูกรัก มีภูมิคุ้มกันที่ดี ควบคู่กับการพัฒนาสมอง ของลูกน้อยให้ พร้อมเรียนรู้อยู่เสมอค่ะ |
|
| |
| |
| แม้ลูกน้อยจะมีภูมิคุ้มกันติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดแล้วนะคะ แต่ ภูมิคุ้มกันที่มีนั้น ก็ยังเป็น ภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ค่ะ ซึ่ง น้ำนมแม่นี่แหล่ะค่ะที่จะทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันที่ดี ที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้ามาใน ร่างกายได้ จากศึกษาพบว่า นมแม่ จะช่วยเสริมสร้างความ แข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย และยังพบอีกว่าเด็ก ที่ได้รับนมแม่จะมีอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ระบบ ทางเดิน หายใจ และเกิดโรคภูมิแพ้น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบ กับเด็กที่ได้รับนมสูตรปกติ และนอกจากน้ำนมแม่ที่จำเป็นต่อ สมองและระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยแล้ว ลูกน้อยยังจำเป็นต้อง ได้รับสารอาหารอื่นๆ อย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมให้เขามีพัฒนา การทาง สมอง และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงค่ะ | |
|
| |
| |
| เพราะใน 1,365 วันแรกของชีวิต เป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดของลูกน้อยที่
สมองจะพัฒนาสูงสุดถึง 80% ลูกน้อยจะเติบโตอย่างมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการให้เขาได้รับโภชนาการที่ส่งเสริมพัฒนาการของสมอง
และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 3 ระบบของร่างกายให้แข็งแรงด้วย
ทริปเปิลเฮลธิการ์ดเพื่อเป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เขามีพัฒนาการ และการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ต่อเนื่องในทุกๆ วัน
|
| ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เด็กที่ได้รับดีเอชเอในปริมาณที่สูง จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน
ต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับดีเอช
ในช่วงแรกเกิด 3 ขวบ |
| |
| คุณแม่ทราบกันดีนะคะว่าดีเอชเอเป็นสารอาหารสำคัญในการ พัฒนาสมอง และจอประสาทตาของลูกน้อย แต่วันนี้ดีเอชเอ ยังสามารถส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มระบบทางเดินหายใจ ได้ด้วย จากการศึกษาพบว่า ดีเอชเอเป็น 1 ในกรดไขมัน ไม่อิ่มตัวในกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดจำเป็น ที่ช่วย พัฒนาการทำงานของสมอง ป้องกันและรักษาโรคความดัน โลหิตสูงจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะผนังเส้นเลือดแดงหนา และมีความยืดหยุ่นน้อย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยดีเอชเอ ได้แก่ อาหารจำพวก | |
ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาโอลาย หรือน้ำมันสกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล และ ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาช่อน ปลาสวาย หรือปลาที่มีไขมันปานกลาง รวมถึงผลิตภัณฑ์นม ที่มีส่วนผสมของดีเอชเอในปริมาณที่เหมาะสมเป็นต้นค่ะ |
|
| |
| 80% ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เริ่มต้นที่ภูมิคุ้มกันระบบทางเดินอาหาร
|
| | กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ และอินนูลิน เป็นใย อาหารละลายน้ำได้ ชนิดสายสั้น และสายยาว ที่มีส่วน สำคัญในการสร้างสมดุลให้กับระบบทางเดินอาหาร พร้อมส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์สุขภาพ ป้องกัน ไม่ให้ลำไส้ของลูกมีปัญหาจากจุลินทรีย์ก่อโรค หรือ เชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้ามาในร่างกายค่ะ มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นเลยนะคะที่พบว่า ใยอาหารช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคท้องผูก โรคมะเร็งในลำไส้ โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง ค่ะ |
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ และอินนูลิน ได้แก่ ผัก และผลไม้ เช่น หัวหอม กล้วย ธัญพืช ถั่ว กระเทียม และหน่อไม้ฝรั่ง ค่ะ |
|
| |
| จากการศึกษาพบว่า เมื่อเริ่มเป็นหวัด ถ้ารีบทานอาหารที่มีซิงค์ (สังกะสี) ทันที
จะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลง และลดจำนวนวันที่ป่วยลงได้
|
| ซิงค์ (สังกะสี) เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากต่อระบบ ภูมิคุ้มกันโดยรวมของร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลากหลาย กลไกของระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงระบบเม็ดเลือดขาวและ แอนติบอดี การทำหน้าที่ของต่อมไทมัส และระดับสังกะสี ในเลือดยังเกี่ยวข้องกับจำนวนของ T-Cell ซึ่งเป็นเซลล์ เม็ดเลือดขาวที่สำคัญมากต่อระบบตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่กำลังขาดเม็ดเลือดขาว นอกจากนั้น สังกะสียังช่วยรักษา บาดแผลในร่างกาย และช่วยทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี ควบคุมฮอร์โมน สังเคราะห์โปรตีน และช่วยสร้างเซลล์เสริม ภูมิคุ้มกันค่ะ |
|
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์ (สังกะสี) ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ และอาหารทะเลต่างๆ เนื่องจากดูดซึมได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่นๆ |
|
| การดูแลลูกน้อยที่ดีที่สุด เริ่มจากการดูแลจากภายใน เตรียมร่างกายและสมองของลูกน้อย
ให้พร้อม ด้วยสารอาหารพัฒนาสมองและทริปเปิลเฮลธ์การ์ด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่าง
สมบูรณ์และต่อเนื่อง เพื่อสร้างมหัศจรรย์พลังการเรียนรู้ตลอดไป
|
|
|
| |
|