โครงการท่องตรังนั่งตุ๊กตุ๊กหัวกบ โดยความร่วมมือของ ททท. เทศบาลนครตรัง ชมรมสามล้อเครื่องจังหวัดตรัง และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง นำคุณท่องเที่ยวสัมผัสความเป็นตรังอย่างถ่องแท้ ด้วยรถตุ๊กตุ๊กหัวกบ รถโดยสารสาธารณะที่รู้จักกันดีของชาวเมืองตรังมากว่า 50 ปี สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการท่องเที่ยว โดยรถตุ๊กตุ๊กหัวกบทุกเส้นทาง จะได้รับแจกคู่มือท่องเที่ยว ท่องตรังนั่งตุ๊ก ตุ๊กหัวกบ โดยภายในเล่ม มีการบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองตรัง แหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดให้เขตเทศบาลนครตรัง รายชื่อที่พัก ร้านอาหารแนะนำ โปสการ์ดรูปตุ๊กตุ๊กหัวกบ พร้อมทั้งแผนที่ที่จะพาคุณท่องเที่ยวเมืองตรังอย่างสนุกสนาน ได้ทั้งความรู้และความประทับใจในคราวเดียวกัน เส้นทางที่แนะนำมี 3 เส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 อัตราเหมาบริการตลอดเส้นทาง ราคา 600 บาท ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แวะแหล่งท่องเที่ยว 17 จุดได้แก่ 1. แม่น้ำตรังที่บ้านท่าจีน 2.วัดท่าจีน 3.ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย 4.วัดตันตยาภิรม พระอารามหลวง 5.สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95 6. โบสถ์คริสตจักร 7. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) 8. สระกะพังสุรินทร์ 9. ตึกชิโนโปรตุกีส 10. สถานีรถไฟ 11. โรงยางพารา 12. ศาลเจ้าท่ามกงเยี้ย 13.หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 14. บ้านนายชวน หลีกภัย 15. หอสมุด และ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง 16. วัดมัชฌิมภูมิ (วัดหน้าเขา) 17. ศาลเจ้าเปากง
เส้นทางที่ 2 อัตราเหมาบริการ ราคา 400 บาท ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แวะแหล่งท่องเที่ยว 9 จุดได้แก่ 1. โบสถ์คริสต์จักร 2. ตึกชิโนโปรตุกีส 3. สถานีรถไฟ 4. หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 5. บ้านนายชวน หลีกภัย 6. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) 7.ศาลเจ้าทามกงเยี้ย 8.วัดมัชฌิมภูมิ (วัดหน้าเขา) 9. สวนสาธารณสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95
เส้นทางที่ 3 อัตราเหมาบริการ ราคา 200 บาท ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แวะแหล่งท่องเที่ยว 5 จุดได้แก่ 1. โบสถ์คริสตจักร 2. ตึกชิโนโปรตุกีส 3. สถานีรถไฟตรัง 4. หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 5. บ้านท่านชวน หลีกภัย
ติดต่อ Call Center ตุ๊กตุ๊กหัวกบ กว่าครึ่งศตวรรษใต้ฟ้าสีคราม เริ่มเมื่อยามดวงอาทิตย์ลิขิตเส้นขอบฟ้าในรุ่งเช้า จวบเมื่อเข้าสู่ยามเย็นและดิ่งลงสู่ความมืดมิด ณ ราตรีกาล ทุกวันของที่นี่... ไม่มีเพลาใดที่รถสามล้อเครื่องจะลี้ลับหายไปจากท้องถนน เนื่องด้วยวิถีชีวิตของผู้คนหลากชุมชนในทับเที่ยงหรือจังหวัดตรัง ล้วนผูกพัน... พึ่งพา... และคุ้นชินกับเจ้ารถตุ๊กตุ๊กหัวกบนี้มาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2502 ตรงกับสมัย จอมพลสฤษฎ์ ธนะรัตน์ ดำรงตำแนห่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยที่เมืองไทยได้ริเริ่มนำเข้าตุ๊กตุ๊กหัวกบจากเมืองญี่ปุ่นมาใช้เป็นคราวแรก แต่มีหน้าตาแปลกแตกต่างจากรถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ ที่ทุกคนรู้จักกันพอสมควร เนื่องจากรถตุ๊กตุ๊กกรุงเทพฯ จะมีคันบัคับแบบก้านเป็นที่จับสองข้างเหมือนมอเตอร์ไซค์ คนขับนั่งตอนหน้า ส่วนผู้โดยสารนั่งได้เฉพาะตอนหลังของตัวรถเท่านั้น ผิดกับรถตุ๊กตุ๊กหัวกบของเมืองตรัง ผู้โดยสารสามารถเลือกนั่งได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง อีกทั้งคันบังคับยังเป็นแบบพวงมาลัยกลมทันสมัยซึ่งเมื่อคราวที่รถตุ๊กตุ๊กหัวกบรุ่นดั้งเดิม เดินทางด้วยรถไฟมาถึงเมืองตรังในครั้งแรก ลักษณะตัวรถจะเป็นกระบะสามล้อขนาดเล็กที่ยังไม่มีหลังคาครอบด้านหลัง แต่มาปรับแต่งเพ่มเติมกันเองในเวลาต่อมา ส่วนที่ว่าทำไมเมืองตรังต้องใช้รถตุ๊กตุ๊กนั้น... เป็นเพราะลักษณะทางภูมิสษสตร์ของพื้นที่ในเขตเมืองตรังส่วนใหญ่เป็นลอนลูกฟูก หรือที่คนพื้นถิ่นเรยกว่า 'ควน' แปลว่า 'เนิน' การใช้รถสามล้อเครื่องทุ่นแรงจึงมีความเหมาะสมและอำนวยความสะดวกได้มาก ด้วยความเร็วในการขับขี่มิได้ชักช้า ยิ่งมาสมัยนี้มีการปรับแต่งเครื่องยนต์จากหนึ่งสูบเป็นสองสูง เร่งดี ๆ จึงเร็วได้ถึง 60 กม./ชม. เลยทีเดียว ตามกฎหมายในปัจจุบัน รถตุ๊กตุ๊กหัวกบคันหนึ่งได้ 5 คนตามกำหนด ส่วนค่าโดยสารนั้นก็แสนถูก เมื่อครั้งสมัยที่ก๋วยเตี๋ยวยังชามละ 2 บาท นั่งตลอดสายคิดราคาแค่บาทเดียว มาสมัยนี้... เริ่มต้นที่ 15 บาทแล้วแต่ระยะทาง ซึ่งปัจจุบันมีพร้อมให้บริการหว่า 300 คัน ส่วนเรื่องที่ว่าทำจึงเรียก 'หัวกบ' นั้น น่าจะเป็นเพราะรูกปลักษณ์ของหัวรถ... ทีมีลักษณะคล้าย 'หัวกบ' นั่งเอง และทั้งหมด ก็คือที่มาของพระเอกตลอดกาลบนถนนสายทับเที่ยง ที่นักท่องเที่ยวสามารถทดลองสมัผัสได้แม้แต่ในเวลาที่พระจันทร์ยังไม่หลับ ตะวันยังไม่ตื่น ... เพื่อรื้อฟื้นความหลัง สูดกลิ่นอายของบรรยากาศเมืองตรังครั้งอดีต บนเส้นทางท่องเที่ยวแห่งวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันงดงามในแต่ละยุคสมัย ที่ให้ทั้งความรู้... ความสนุกสนาและความประทับใจได้ทุกเสี้ยววินาที - งานส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลนครตรัง อาคารเอนกประสงค์เทศบาลนครตรัง (ในเวลาราชการ) โทร 0-7521-8071 ต่อ 1164, 1209 - ชมรมรถสามล้อเครื่องจังหวัดตรัง คุณยี่เค้ง วงศ์สัมพันธ์ โทร 0-7521-0903, 0 1090 9524 สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร 0-7521-5580 - ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร. 0 7521 5867-8
แนะนำของกินถูกปาก ของฝากถูกใจ คนเมืองตรังขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นคนช่างกิน ดังนั้นอาหารการกินในตัวเมืองตรังจึงอุดมสมบูรณ์มาก แทบจะเรียกได้ว่าบริการกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งของกินคาวหวานอาหารว่างสารพัดอย่างตามตำรับจีน และพื้นบ้านปักษ์ใต้ เริ่มต้นจากอาหารมื้อเช้าตำรับตรัง ได้แก่ โกปี้ ทั้งโกปี้อ้อ (กาแฟดำ) และโกปี้ใส่นมข้นแล้วแต่รสนิยม กินกับแต้เตี้ยม ติ่มซำนานาชนิด ทั้งขนมจีบ ฮะเก๋า ซาลาเปา ใครอยากลองปาท่องโก๋ทอดกรอบต้องสั่งว่า จาโก้ย เพราะคำว่า ปาท่องโก๋ ของคนตรังจะหมายถึงขนมอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งสีขาวนึ่งฟู ส่วนบรรดาอาหารเครื่องเคียงที่ยกมาเสริฟจนเต็มโต๊ะ จะคิดราคาเท่าที่กินเท่านั้น หมูย่างเมืองตรังก็น่ากิน เนื้อหวานนุ่ม หอมกรุ่นด้วยเครื่องเทศ หนังบางกรอบ มันน้อย เพราะอบหมูทั้งตัวในเตาถ่านด้วยอุณหภูมิสูง คนตรังนิยมหมูย่างกับกาแฟตอนเช้า ส่วนของฝากยอดนิยม คือ ขนมเค้กเมืองตรัง มีเอกลักษณ์พิเศษคือมีรูอยู่ตรงกลาง ไม่แต่งหน้าเค้ก เนื้อเนียนละเอียด กลิ่นหอม อร่อยนุ่มลิ้น มีให้เลือกกว่า 20 รสชาติ นอกจากนี้ก็มี กาแฟเขาช่องขนานแท้ เพราะปลูกที่ตำบลเขาช่อง ส่วนของที่ระลึกที่ขายดีคือ ไม้เทพทาโรแกะสลักเป็นรูปปลาพะยูน สัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง |