https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
องค์กรขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ควรทำ CSR หรือไม่ ? MUSLIMTHAIPOST

 

องค์กรขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ควรทำ CSR หรือไม่ ?


1,086 ผู้ชม


องค์กรขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ควรทำ CSR หรือไม่ ?




คอลัมน์ CEO Talk
โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย
ผมได้เขียนถึงองค์กรขนาดใหญ่มาหลายครั้งแล้วว่าการทำ CSR (corporate social respon sibility) มีส่วนช่วยองค์กรหลายประการ ที่สำคัญก็คือ CSR จะช่วยทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นเรื่องคุณธรรมและการทำประโยชน์ให้กับสังคมนั้นเข้มแข็งและมีความหมายมากขึ้น CSR จะช่วยบ่มเพาะนิสัยสังคมที่ดีให้แก่พนักงาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจัง
บริษัทที่ผมเคยทำงานอยู่หลายบริษัทมีกฎเกณฑ์ดีๆ หลายอย่างที่พนักงานต้องปฏิบัติ เช่น
- ห้ามพูดโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ (ก่อนจะออกมาเป็นกฎหมาย) และถ้าพนักงานระดับบริหารถูกจับได้ว่าละเมิดกฎข้อนี้จะถูกพิจารณาโทษอย่างหนักถึงขั้นไล่ออก (เป็นตัวอย่างไม่ดี) - นำหลักการเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ใช้ในสำนักงานไปใช้ที่บ้าน เช่น ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า (ห้ามเสียบสายไฟพะรุงพะรังจนเกิดอันตราย จะต้องมี safety cut เพื่อตัดไฟฟ้า ฯลฯ) ด้านระบบดับเพลิง ด้านการหนีไฟ ฯลฯ - ห้ามนำวิธีการให้สินบนเจ้าพนักงานมาใช้ ทั้งในชีวิตส่วนตัวหรือในขณะที่ทำงาน แม้แต่จะจ่ายเงินให้ตำรวจจราจรก็ถือว่าทำผิด ต้องไปจ่ายที่สถานีตำรวจ ให้เคารพกฎหมายและทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด - ให้นำวิธีการแยกขยะไปใช้ที่บ้านอย่างน้อยๆ ก็เริ่มต้นจากขวดพลาสติก แยกขยะแห้งออกจากขยะเปียก เป็นต้น - แนะนำให้ใช้น้ำยา EM (effective micro organisms) หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถทำลายความสกปรกได้ทุกอย่างมาใช้ในบ้านแทนสารเคมี เพื่อกำจัดแมลง และใช้เช็ดถูบ้านทำความสะอาด - ตั้งอุณหภูมิของระบบแอร์ทั้งในบ้านและในรถให้อยู่ในระดับ 25 องศาเซนติเกรด - จ่ายเงินเดือนให้พนักงาน พันธมิตรธุรกิจ ผู้ร่วมค้าและเจ้าหนี้ทุกรายให้ตรงเวลา - ซื้อของจากบริษัทที่ส่งเสริมสังคม ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
การบ่มเพาะนิสัยดีๆ เหล่านี้ทำได้ในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ถ้าองค์กรขนาดเล็กจะนำมาใช้ก็จะยิ่งดีใหญ่เพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า ควบคุมดูแลพฤติกรรมของพนักงานได้อย่างทั่วถึง และถ้าทำได้ดีจริงก็จะสามารถสร้างเป็นภาพลักษณ์ขององค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไม่ยากนัก
Guy Rider ที่เป็นเลขาธิการของกลุ่มสมาพันธ์การค้าเสรีนานาชาติ (General Secretary of the International Confederation of Free Trade Union) เคยกล่าวไว้ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติที่กรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.2006 ว่า :
"CSR ไม่ใช่เรื่องของการบริจาคหรือการทำกุศล แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพื้นฐานของการทำธุรกิจที่ดี"
คำกล่าวสั้นๆ นี้มีความหมายลึกซึ้ง ทีเดียว การทำธุรกิจที่ดีคือการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทั้งต่อความสำเร็จของธุรกิจเอง ต่อสังคมและต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การทำธุรกิจที่ดีจะต้องพยายามระมัดระวังไม่ให้เกิดผลลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พยายามสร้างผลบวก สร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
และก่อนที่เราจะทำธุรกิจที่ดีได้ เราจึงจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับองค์กร สร้างนิสัยที่ดีให้กับพนักงาน เป้าหมายสูงสุดของการทำธุรกิจไม่ได้อยู่ที่เพียงผลกำไร แต่จะต้องสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ชุมชน และสังคม
หลายคนคงจะสงสัยว่า ถ้าธุรกิจมุ่งไปที่ผลประโยชน์ลูกค้า ชุมชน และสังคม ต้นทุนคงจะสูงและคงไม่สามารถธำรงธุรกิจให้ยั่งยืนได้
ธุรกิจที่เอาลูกค้าไว้ในดวงใจ เอาลูกค้าไว้เป็นศูนย์กลาง สนใจในประโยชน์ของลูกค้า ธุรกิจนั้นจะไม่มีทางที่จะขาดทุน เพราะลูกค้าจะตอบสนองกับธุรกิจนั้นเอง ตรงกันข้ามธุรกิจที่คิดแต่จะเอาประโยชน์จากลูกค้าฝ่ายเดียว ธุรกิจนั้นจะไม่ยืนยง
ธุรกิจที่สนใจกับชุมชน เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน จะได้รับการตอบสนองจากชุมชนเช่นเดียวกัน ชุมชนจะมองธุรกิจนั้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และยิ่งถ้าเป็นธุรกิจ SMEs ด้วยแล้ว ชุมชนก็จะเข้ามาโอบอุ้มธุรกิจนั้นเอง
ในทำนองเดียวกัน ถ้าธุรกิจตอบสนองต่อความรับผิดชอบในสังคม ในระดับที่องค์กรหรือบริษัทสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเททุนทรัพย์ แต่สามารถช่วยเหลือสังคมด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะของบริษัท ด้วยทรัพยากร หรือองค์ความรู้ของบริษัท สังคมก็จะตอบสนองกับธุรกิจเหล่านั้นในสัดส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจอย่างมากมาย
ธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมที่เริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมดังกล่าวข้างต้นจะพบว่า 1) การสรรหาพนักงานจะง่ายขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่อยากจะทำงานกับองค์กรที่มีคุณธรรม องค์กรที่มีระบบและยึดมั่นในคุณค่า (value) ที่ยึดถืออย่างจริงจัง 2) พันธมิตรธุรกิจอยากที่จะเข้ามาร่วมทำงานด้วยเพราะเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจในความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมาขององค์กร ทำให้การต่อรองแบบ win-win ทำได้ง่าย ข้อตกลงทางธุรกิจก็ไม่ยุ่งยากเมื่อมีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน 3) สามารถดึงดูดลูกค้าได้ง่ายขึ้นเมื่อลูกค้ารู้ว่าจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี องค์กรที่ยึดมั่นในคุณค่าของลูกค้าสามารถสร้างลูกค้ารายใหม่ๆ ได้ไม่ยากนัก 4) ภาพลักษณ์และ brand ขององค์กรจะดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อย่าลืมว่าพนักงานและสินค้าคือตัวแทนภาพลักษณ์ขององค์กร 5) สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากการทำงานอย่างทุ่มเทของพนักงาน การลด turn-over rate ลดปัญหาความขัดแย้งกับผู้บริโภคและซัพพลายเออร์ทุกขั้นตอนของการทำงาน ถ้าพนักงานทำงานด้วยใจและมีหลักการประสิทธิภาพของงานก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 6) สามารถป้องกันตนเองจากกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะมีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น 7) ธุรกิจจะเติบโตในทิศทางที่มั่นคง มีรากฐานที่ดี
หลายๆ องค์กรจึงมักจะมีคำขวัญในแนวทางที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของวัฒนธรรมองค์กร เช่น Live your value (ใช้ชีวิตตามคุณค่าที่คุณยึดถือ) Value forever (ยึดมั่นคุณค่าให้ยืนยง) Your value reflects your company (คุณค่าของคุณสะท้อนคุณค่าขององค์กร)
ผมจึงคิดว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนำหลักการเกี่ยวกับคุณค่าของ CSR มาใช้ได้ทันที ทำได้ง่ายและในระยะยาวจะได้ผลตอบแทนอย่างไม่คาดคิด
มาเริ่มกันวันนี้เลยดีไหมครับ
หน้า 33

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ


อัพเดทล่าสุด