7 อุปนิสัย ของนักบริหารระดับแนวหน้


675 ผู้ชม


7 อุปนิสัย ของนักบริหารระดับแนวหน้า




"อุปนิสัย" เป็นผลรวมขององค์ประกอบส่วนบุคคลในด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติ ซึ่งทำให้ท่านเกิดความเข้าใจว่า ตนเองต้องทำอะไร อย่างไร และเพื่ออะไร ส่วนคำว่า "ประสิทธิภาพ" หมายถึง ืการสร้างผลลัพธ์ในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสมดุลย์ การสร้างนักบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง เริ่มจากการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีของแต่ละบุคคล (อุปนิสัยที่ 1-3) ไปจนกระทั่งทำให้บุคคลนั้นตระหนักถึง กฏธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งต่างพึ่งพาอาศัยกัน มนุษย์จึงต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (อุปนิสัยที่ 4-6) อุปนิสัยที่สำคัญ 7 ประการสำหรับยอดนักบริหาร ได้แก่
1. กระตือรือร้น
แต่เดิมคนเรามีแนวคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดมาจากสิ่งแวดล้อม เผ่าพันธุ์ ประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมตั้งแต่เยาว์วัย ตรงกันข้าม บุคคลที่มีความกระตือรือร้นนั้นจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักรับผิดชอบชีวิตและหน้าที่ของตน โดยยึดค่านิยมเป็นหลักในการตัดสินใจและใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทางที่ถูกต้อง บุคคลที่มีอุปนิสัยเช่นนี้ มักจะไม่กล่าวโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้กับสถานการณ์ เมื่อเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่กลับจะมุ่งหน้าหาทางออก หรือข้อแก้ไขที่ดีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกที่จะไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นมาครอบงำจนเป็นทุกข์ไม่เป็นอันกินอันนอน
2. ตั้งเป้าหมายก่อนลงมมือทำงานเสมอ (Begin with the end in mind)
ท่านควรจะกำหนดภารกิจหน้าที่ที่ควรจะทำพร้อมถามตนเองว่า ผลสำเร็จควรจะออกมาในรูปใดก่อนเสมอ เป้าหมายนี้จะช่วยให้ท่านสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจต่างๆ อุปนิสัยนี้สามารถใช้ได้กับทั้งการวางแผนการทำงานและครอบครัว
3. เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง (First Thingfirst) ลองวาดและจัดตารางการบริหารเวลาของท่าน โดยให้แนวนอนเป็นส่วนของความเร่งด่วนจากมากไปหาน้อย แนวตั้งเป็นส่วนของความสำคัญจากมากไปหาน้อยเช่นกัน
4. คิดหาทางให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Think win-win)
หลายคนมักคิดกันว่า การหาทางออกเช่นนี้เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติเกินไป ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถทำให้ทุกฝ่ายเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันได้ การหาทางออกแบบ win-win ต้องการหาความแข็งแกร่งของจิตใจ ในการหาทางออก คือ ไม่เพียงแต่ต้องนึกถึงบุคคลอื่นเท่านั้น แต่คุณต้องกล้าตัดสินใจและมั่นใจที่จะค้นหา พร้อมๆ กับทำความเข้าใจจนกว่าจะได้ทางออกที่ว่า "ใช่เลย"
5. พยายามเข้าใจเขาก่อนแล้วจึงทำให้เขาเข้าใจเรา (Seek first to understand then be understood) พยายามฟังและเข้าใจกับสิ่งที่ผู้อื่นอธิบายเอาตัวเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ของเขา เมื่อเราเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฝ่ายตรงข้ามจะมีความรู้สึกที่ผ่อนคลายและเปิดกว้างในการรับฟังเรามากขึ้น
6. ความร่วมมือร่วมใจกัน (Synergy)
โบราณว่าไว้ สองหัวดีกว่าหัวเดียว เมื่อคนสองคนคิดหาทางออกร่วมกัน ย่อมดีกว่าที่ต่างคนต่างหาทางออกโดยไม่ปรึกษากัน หรือตัดสินใจคนเดียวตามลำพัง ความร่วมมือร่วมใจไม่ใช่การยอมความ หากแต่เป็นการสื่อสารกันด้วยความเคารพในสิทธิและความคิดสร้างสรรค์ของกันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และสามารถหาทางออกได้ดีกว่าเดิม นี่แหละที่ทำให้เกิดสูตร Synergy คือ 1+1 = 3
7. หมั่นฝึกฝนอุปนิสัยทั้ง 6 อยู่เป็นประจำ (Sharpening the saw)
ปฏิบัติตามอุปนิสัยที่กล่าวมาทั้ง 6 ประการ และผสมผสานอุปนิสัยเหล่านั้นให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจของตนเอง ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข แต่อย่าลืมหมั่นทบทวนและนำมาปรับใช้ด้วย
คิดว่าคงไม่ยากสำหรับการฝึกอุปนิสัยต่างๆ เหล่านี้ เพื่อการเตรียมตัวเป็นผู้บริหารระดับแนวหน้า เพราะสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้และปฏิบัติต่อเนื่องเสมอ แต่ถ้าเรียนรู้แล้วไม่นำมาใช้ปฏิบัติก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่นานก็ลืม อย่าลืมนะคะ! เรียนรู้อยู่เสมอ และที่สำคัญ...ต้องเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตนะคะ...
โดย Management Tip / Home of knowledge by Thananchai S


อัพเดทล่าสุด