Leader - Leadership
วิสัยทัศน์ผู้นำแบบดรักเกอร์
ปัจจุบันถ้าพูดเกี่ยวกับผู้นำโดยเฉพาะบรรดาCEO ของธุรกิจชั้นนำต่างมีข้อกังขาในสิ่งที่ผู้นำที่ดีจำเป็นต้องมีและสิ่งที่ผู้ปฏิบัติ ลูกค้า ชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่างสนใจกันคือ
-ความเป็นผู้นำนั้นสร้างให้เกิดขึ้นได้จริงหรือ
-ผู้บริหารทุกคนใช่หรือไม่ที่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้บางคนเท่านั้น
-คุณลักษณะของผู้นำตามทฤษฎีหรือตำราซีกโลกตะวันตกสามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจในโลกตะวันออกหรือบริษัทไทยๆ ได้
ในบรรดาทฤษฎีหรือตำราด้านผู้นำที่มีเขียนออกมาเป็นกระบุงโกย เราคงต้องมีตะแกรงที่จะร่อนในสิ่งที่ใช้ได้ออกมา แต่อย่างไรก็อาจจะไม่เหมาะสมหรือใช้ได้จริงๆ
ยิ่งบรรดานักวิชาการจากซีกมหาลัยที่ออกมาเขียนหรือพูดเรื่องราวของผู้นำยิ่งมีข้อกังขาเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุหลายๆ ประการ
- บรรดาผู้ที่สอนในสถาบันการศึกษา จะมีลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งเราสามารถศึกษาหรือนำมาเป็นตัวอย่างได้จริงๆ หรือ หรือแทบจะไม่เคยมีให้เห็นเลยในยุคปัจจุบัน เพราะผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการบริหารมักจะเป็นตำแหน่งที่แย่งชิงกันไม่เป็น
- ที่มากไปกว่านั้นบรรดาสถาบันการศึกษาที่มีสามารถสร้างทฤษฎีผู้นำสอดคล้องหรือเหมาะสมบริบทในวัฒนธรรมการบริหารแบบไทย ซึ่งผู้เขียนยังไม่เคยได้พบหรือมีการนำเสนอให้เผยแพร่ปรากฏออกมา
สิ่งที่เป็นความแตกต่างจากบ้านเราคือ บรรดาอาจารย์ในมหาลัยในต่างประเทศต่างมีการวิจัยและศึกษา พร้อมทั้งสามารถสร้างเป็นทฤษฎีการบริหารโดยเฉพาะด้านภาวะผู้นำที่ใช้ได้ทั่วโลก
วิสัยทัศน์แห่งผู้นำของผู้บริหาร
ดรักเกอร์ ได้เขียนตำราเกี่ยวกับการบริหารและภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยเฉพาะที่อ้างถึงใน Practice of Management ซึ่งหลักการของผู้นำในองค์กรนั้น ดรักเกอร์เรียกว่า ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Executive)
Maciariello (2006; Peter F.Drucker on Executive Leadership and Effectiveness ใน The Leader of the Future 2) ได้สร้างระบบง่ายๆ ที่จะเข้าใจในมุมมองเกี่ยวกับภาวะผู้นำและการจัดการของดรักเกอร์ที่สามารถนำไปเป็นกรอบให้ผู้นำได้นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
ภาวะผู้นำของผู้บริหารและความมีประสิทธิผล
ภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ให้ความสนใจต่อการสร้างองค์กรให้สูงด้วยจิตวิญญาณในผลงาน และเพื่อให้เกิดสิ่งนี้ได้ผู้นำจะต้อง
-แสดงให้เห็นถึงระดับที่สูงของความซื่อสัตย์ทั้งคน จิตใจและด้วยข้อกำหนดด้านจริยธรรม
-การมุ่งที่ผลลัพธ์
-สร้างจุดแกร่ง-ทั้งตนเองและต่อผู้อื่น
-นำสู่ระดับที่เหนือขอบเขตเพื่อบรรลุถึงความต้องการอย่างน้อยที่ขั้นต่ำของหุ้นส่วนธุรกิจ รวมทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้นและสาธารณะโดยเฉพาะการสนับสนุนต่อการเป็นคนดีของชุมชน
องค์กรที่มีจิตวิญญาณในผลงานระดับที่สุด เกิดจากการที่ผู้บริหารได้นำให้เกิด การทำในสิ่งที่ถูกต้องและทำให้สิ่งที่ถูกต้องเกิดขึ้น
ผู้บริหารต้องมีลักษณะของความซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์สำหรับจุดหมายขององค์กร มุ่งที่โอกาส เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และดำเนินงานที่สำคัญ รวมถึงความรับผิดชอบและฝึกฝนในด้านการบริหาร
ทักษะของผู้บริหาร การฝึกปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารและงานของผู้บริหาร เกิดมาจากความรู้และประสบการณ์ แม้ว่าท่านจะเกิดมาเป็นผู้นำก็ตาม หลักการของภาวะผู้นำและการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้
หลักการของภาวะผู้นำจะมีในเรื่องต่อไปนี้
1)การกำหนดจุดประสงค์หรือสิ่งที่ดรักเกอร์เรียกว่า ทฤษฎีของธุรกิจ และ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน (สำหรับผลลัพธ์ขององค์กร)
หลักการนี้มุ่งที่ทรัพยากรองค์กรทั้งด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ แสวงหา และบูรณาการเข้าไปยังกิจกรรมขององค์กร
นวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มุ่งไปข้างหน้า โดยที่ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม จะมุ่งไปยังข้างนอกเช่น โอกาส ลูกค้า เทคโนโลยี คู่แข่งขัน และอื่นๆ ขณะเดียวกันผลลัพธ์ที่ได้ เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า รายได้และกำไรมักจะเป็นสิ่งที่เกิดจากภายนอก
2)องค์ประกอบในรูปวิสัยทัศน์ผู้นำแบบดรักเกอร์ในแต่ละส่วนไม่ใช่สิ่งที่อิสระจากกัน แต่ยังเป็นสิ่งช่วยดึงและดันพร้อมสนับสนุนกันอย่างยิ่ง
- จุดเริ่มแรกในภาวะผู้นำของผู้บริหาร จะเป็นการกำหนดและการนำไปปฏิบัติในทฤษฎีของธุรกิจต่อองค์กร ซึ่งต้องการผู้บริหารที่มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพที่ว่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อ งานของผู้บริหาร หากผู้บริหารต้องการการปฏิบัติและงานให้บรรลุตามที่ต้องการ จำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ ทักษะการบริหาร
3)การนำไปปฏิบัติในทฤษฎีของธุรกิจสำหรับองค์กร ผู้บริหารต้องพิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้นและผลที่ตามมาใน ผลกระทบทางสังคม เช่น การจ้างงานและการจัดซื้อ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างอุปสงค์ต่อการบริการสาธารณะ
ดังนั้นองค์กรต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำและสิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจึงจำเป็นต้องสนับสนุนต่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีของชุมชน
ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนครับ คราวหน้าจะได้เล่าต่อในภาคปฏิบัติของธุรกิจไทย
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants