แนวทางการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในองค์การ


819 ผู้ชม


แนวทางการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในองค์การ




แนวทางการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในองค์การ

 

 

ในขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ ยังคงมาแรง ปัจจัยที่ผลกระทบต่อการบริหารองค์การ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีฯ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทำให้หลายองค์การต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงและพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อรักษาความสถานภาพขององค์การให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ.......

หลายองค์การจึงใช้วิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจหลัก วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้ผลการดำเนินการบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ 

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างดำเนินการบริหารจัดการ หลายองค์การยังคงวนเวียนกับปัญหา ที่เกิดขึ้นจากระบบ และจากคนในองค์การ  จึงเป็นเรื่องท้าทายผู้บริหาร ผู้นำ คนทำงานที่มีวิสัยทัศน์ จะต้องบริหารจัดการอย่างสัมฤทธิ์ผล ในเวลาและทรัพยากร ต้นทุนที่จำกัด

ในประเด็นนี้ ผมเสนอแนวทางในการจัดการปัญหา ด้วยการระดมสมองทีมงาน ในองค์การ ให้แต่ละฝ่ายยกประเด็นปัญหาในการจัดการขึ้นมา อย่างน้อย ฝ่ายละ 2 ปัญหา แล้วนำปัญหาที่ได้มาจากแต่ละฝ่ายหรือแต่ละกลุ่มมาจัดกลุ่มของปัญหา เพื่อกำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการแก้ไข

ผมขอยกตัวอย่าง ของบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสได้สัมผัส และทำกิจกรรมระดมสมอง ค้นหาปัญหา และกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไข ดังนี้ครับ

ตัวอย่าง ที่ได้มาจากบริษัทข้ามชาติผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติ มีพนักงานเป็นคนไทยและบางส่วนเป็นชาวต่างชาติด้วย

กลุ่ม 1 เสนอปัญหา

  • การส่งเสริมพัฒนาพนักงานยังไม่ชัดเจน
  • เน้นการทำงานมากไป
  • ทัศนคติพนักงานไม่ดี
  • ผลตอบแทนควรทบทวน
  • ปัญหาการสื่อสารในองค์กร
  • เรื่องภาษาอังกฤษ
  • เรื่องความเข้าใจ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

 กลุ่ม 2  เสนอปัญหา

  • ความเลื่อมล้ำของสวัสดิการระหว่างอินเดีย กับไทย โดยเฉพาะระดับ MANAGER
  • ผู้บริหาร ขาด Mind Set ที่ดี

 กลุ่ม 3 เสนอปัญหา

  • มองไม่เห็นทางออกของปัญหาการจัดการ
  • ปัญหาที่ผ่านมา สองกลุ่ม เห็นด้วย

 กลุ่ม 4 เสนอปัญหา

  • ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์  ไม่สำเร็จ ไม่ต่อเนื่อง
  • ผู้บริหารมักจะใช้วิธีการบริหารที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น 
  • ปัญหาท้องถิ่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม กับท้องถิ่น
  • ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารทำให้องค์กรมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา

 กลุ่ม 5 เสนอปัญหา

  • ทั้งฝ่ายอินเดีย ฝ่ายไทย พนักงานขาดการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
  • ระบบการทำงาน ไม่เป็นระบบ ตัววัฒนธรรมองค์การ ไม่ชัดเจน ไม่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน
  • ปัญหาการสื่อสาร ไม่ชัดเจน
  • ทัศนคติที่ติดลบตลอดเวลา

   

ประเด็นปัญหา

ประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการ

ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ ผู้บริหารขาด Mind Set ที่ดี

1.          ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหาร

2.          ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงกลยุทธ์ ทบทวน หรือปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ KPI

ปัญหาการสื่อสาร ไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจน

3.          ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการสื่อสาร

ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษปัญหาการพัฒนาคนไม่ชัดเจนไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน

4.          ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ปัญหาทัศนคติของพนักงานไม่ดี

5.          ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัศนคติพนักงาน ให้มีการสำรวจทัศนคติพนักงาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดการ

6.          ยุทธศาสตร์ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์

ทัศนคติพนักงานติดลง

ปัญหาเน้นการทำงานมากไปงานไม่เป็นระบบ

7.          ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบมาตรฐานการทำงาน

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

8.          ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบสิ่งแวดล้อมฯ ยุทธศาสตร์ชุมชนสัมพันธ์

ปัญหาสิ่งท้องถิ่น

ปัญหาสวัสดิการไม่เท่าเทียมกัน

9.          ยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้าง สวัสดิการ 

10.     ยุทธศาสตร์การปรับปรุง ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ปัญหาค่าจ้าง ผลตอบแทนไม่เป็นธรรม

ปัญหาวัฒนธรรมข้ามชาติ อินเดีย &ไทยปัญหาวัฒนธรรมที่ต่างกันปัญหาวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ชัดเจน

 11.     ยุทธศาสตร์จัดทำและเผยแพร่วัฒนธรรมองค์การที่เป็นเลิศ

ปัญหาความขัดแย้ง

12.     ยุทธศาสตร์ด้านแรงงานสัมพันธ์

13.     ยุทธศาสตร์ ลด ปัญหาความขัดแย้ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

จากตารางข้างต้น ถ้าจะให้ดีกว่านี้ จะต้องทำการวิเคราะห์ SWOT องค์การ โดยทีมที่ปรึกษามืออาชีพ อย่างละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา แล้วนำมากำหนดแนวทางเลือกในการแก้ไข กำหนดแผนดำเนินการ กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ กำหนดการควบคุมติดตามประเมินผลและการปรับปรุงการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และหาเจ้าภาพรับไปดำเนินการ "ใช้งานสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน"  

นอกจากนี้ แต่ละยุทธศาสตร์ อาจใช้การ Outsource ให้ผู้ชำนาญ ทีมที่ปรึกษาภายนอก เข้ามาทำให้ เพื่อความคล่องตัวและไม่มีปัญหากับการเมืองในองค์การ  และบางยุทธศาสตร์หากใช้ คนภายในองค์การทำเอง ก็อาจจะเกิดปัญหาอื่น ตามมาได้ครับ........ 

ที่มา บทความ เขียนโดยคุณ :ยม
Email : [email protected]

อัพเดทล่าสุด