กุญแจสำคัญความสำเร็จ "โนเกีย"


918 ผู้ชม


กุญแจสำคัญความสำเร็จ "โนเกีย"




กุญแจสำคัญความสำเร็จ "โนเกีย"
       
        บริษัทโนเกียได้กลายเป็นบริษัทของประเทศฟินแลนด์ที่มีความก้าวหน้าล้ำยุคในตลาดโทรคมนาคมอย่างสูงในฟินแลนด์ ตลาดไม่ว่าจะเป็นตลาดภายในหรือตลาดอื่นๆ ต่างก็เรียกร้องต้องการบริการที่เหนือล้ำจากคุณภาพสูงของโนเกีย ด้วยเหตุนี้ตลาดภายในของโนเกียจึงสู่จุดอิ่มตัวอย่างรวดเร็ว
       
        โนเกียจึงได้ปรับทิศทางการตลาดสู่ตลาดโลกอย่างเต็มตัว ด้วยการเข้าเจาะตลาดในออสเตรเลีย ไปสู่สิงคโปร์ ไปถึงเม็กซิโก และทุกๆ แห่งที่สามารถเข้าตลาดได้ และด้วยสโลแกนจากปี 1990 ที่บริษัทได้ตัดสินใจให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ต่อภาคธุรกิจโทรคมนาคมและต่อภาคการสร้างเครือข่าย จึงทำให้เกิดคำขวัญที่ว่า "หนึ่งโนเกีย ต่อโลกของเรา"
       
       ความลับโนเกีย
       
        ทางด้านการวิจัยและพัฒนานั้น ความลับของบริษัทอยู่ที่การเชิญบริษัททางไอทีต่างๆ มาร่วมประชุมและเสนอว่า จะให้การสนับสนุนต่อองค์กรเหล่านั้น ในขณะเดียวกัน เมื่อองค์กรเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนแล้วก็จะต้องช่วยพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้กับโนเกียด้วย
       
        บริษัทโนเกียยังได้หาทีมผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบจาวาอินเตอร์เฟสเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เหล่านี้ จะต้องเซ็นสัญญาว่า จะไม่เปิดเผยความลับต่อใคร และด้วยความสามารถในการทำวิจัยที่ประสบผลดีเยี่ยมนี่เอง ทำให้องค์กรตื่นตัวอยู่เสมอ ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนต่อนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งหมายถึง การลงทุนในด้านการวิจัยอย่างไม่หยุดยั้ง
       
        ความลับแห่งความสำเร็จที่สองของบริษัทโนเกียคือ การสร้างวัฒนธรรมในการจัดองค์กรใหม่ โดยเฉพาะหลังจากปี 1996 เรื่อยมา มีการจัดองค์กรใหม่ โดยให้พนักงานใหม่ทั้งหนุ่มสาวสามารถเสนอความรู้ความคิดต่อทิศทางขององค์กร ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
       
        ด้วยวัฒนธรรมเปิดรับต่อความคิดใหม่ๆ นี้เอง จึงทำให้องค์กรได้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากปี 1996 มาถึงปี 2003 มีพนักงานเพิ่มเติมจาก 7,000 คนสูงถึง 20,000 คน และด้วยการให้ความสำคัญต่อการวิจัยพัฒนา จึงทำให้องค์กรไม่ต้องประสบปัญหาทางด้านธุรกิจเหมือนบริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ โนเกียได้ลงทุนทางด้านวิจัยสูงกว่า 9.6% จากยอดขาย และในปี 2001 มีพนักงานทางด้านวิจัยถึง 18,600 คน หรือประมาณ 35% ของพนักงานทั้งหมด
       
       การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
       
        บริษัทโนเกียถือการเปลี่ยนแปลงคือ ปรัชญาการประกอบภารกิจขององค์กร และปรัชญาองค์กรในปัจจุบันก็ไม่มีเหลือให้เห็นถึงความคล้ายคลึงครั้งที่บริษัทได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1800 แต่จะเน้นทิศทางไปที่การพัฒนาสินค้า และจุดแข็งขององค์กรคือ การที่ฝ่ายวิจัยสามารถผลิตสินค้าออกมาได้อย่างรวดเร็ว หรือมีการพัฒนาสินค้าออกมาได้อย่างรวดเร็ว
       
        ในภาคธุรกิจทางเทคโนโลยีนั้น ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และโนเกียก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นองค์กรที่มีการผลิตที่เร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะเพียงในปี 2002 นั้น โนเกียสามารถแนะนำสินค้าใหม่ได้ถึง 34 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน
       
        ในปี 1999 นั้น โนเกียได้แนะนำสินค้ามือถือรุ่นใหม่สามารถต่อใช้เป็นเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต WAP ที่เรารู้จักกันต่อมา และโนเกียยังสามารถเสนอแบบใหม่ๆ ของมือถือ และฟังชั่นต่างๆ ของงาน โดยโนเกียเสนอได้ดีกว่าบริษัทคู่แข่งอย่างโมโตโรล่า
       
        ในปี 1997 นั้นโมโตโรล่าได้พยายามที่จะเสนอการใช้โทรศัพท์ไร้สายในตลาดอเมริกา แต่ก็สายไป จนทำให้โนเกียได้กลายเป็นผู้นำด้านการตลาดจากนั้นมา
       
        ด้วยพัฒนาการอย่างรวดเร็วที่นำมาซึ่งความสำเร็ของโนเกีย และความมุ่งมั่นที่ยังจะรับการท้าทายต่อไป ได้สร้างโมเดลใหม่ในการจัดการที่โนเกียประสบความสำเร็จ คือโมเดลในการบริหารผสมผสานระหว่างความเร็วและความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจเลือกใช้ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะต้องถูกใจลูกค้าเป็นอย่างแรก จำต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ที่สามารถเข้าใจลูกค้าได้ในทุกๆ สถานการณ์
       
       จากความเสี่ยงมาเป็นผสมผสาน
       
        ในครั้งหนึ่งบริษัทโนเกียถูกมองว่ามีการใช้งบประมาณที่ต่ำมากในการพัฒนาสินค้า จนกระทั่งได้มีการวางระบบ GSM ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เงินสูงมาก และก็เป็นความเสี่ยงมากที่จะให้โลกยอมรับมาตรฐานอันนี้ แต่โนเกียก็ได้มีการทำล๊อบบี้อย่างมากมาย และประสบความสำเร็จในการที่สหพันธ์ยุโรปยอมให้โนเกีย GSM เป็นหนึ่งในสินค้ามาตรฐานโลกทีเดียว เพราะถ้ามาตรฐานไม่ได้รับการยอมรับก็ถือว่าเป็นความล้มเหลวที่น่าเสียดายที่สุด
       
        ต่อจากนี้ไป โนเกียให้ความสำคัญต่อภาคโทรคมนาคมและต่อภาคเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างมากมาย โดยรายได้ทั้งหมดนั้น 10% จะถูกนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนา แต่โนเกียก็พยายามที่จะสร้างดุลยภาพระหว่างตลาดใหม่และตลาดเดิมให้สมดุลกันให้ได้ เพราะอีริคสันและโมโตโรล่าประสบปัญหาในการลงทุนทางด้านวิจัยใหม่ๆ แต่เน้นไปที่ตลาดบนหรือตลาดที่เคยทำอยู่ประจำ โดยไม่ได้คำนึงถึงจุดอิ่มตัวหรือผู้ใช้จากตลาดใหม่เลยว่ามีทักษะเพียงใด
       
        ความสำเร็จของโนเกียอีกอย่างคือ การบริหารลูกโซ่อุปทานที่เรียกว่า RosettaNet ซึ่งได้มีการนำมาใช้ นำไปบริหารอย่างมากมาย และเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญที่สุดของโนเกียที่เชื่อมไปยังองค์กรต่างๆ ถึง 2,000 องค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยีและหลักการบริหารดังกล่าว จึงทำให้การบริหารนอกระบบอย่างโนเกียเหนือคู่แข่งเรื่อยมา
       
       ความท้าทายที่ต้องเผชิญหน้าต่อไป
       
        สิ่งที่ท้าทายต่อโนเกียในอนาคตคือ การสร้างหรือออกแบบระบบต่างๆ ให้ทำงานให้กันและกันได้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสินค้า บริการเครือข่าย และองค์กรได้เปิดยุทธศาสตร์ในการสู่ความสำเร็จ ด้วยการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว นวัตกรรมใหม่ๆ และหลักการตลาดที่ชาญฉลาด
       
        และจากคำประกาศของโนเกียที่ว่า "ความสามารถในการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และทำสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสินค้าและบริการจากเรา ด้วยหลักการบริหารลูกโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้ความเป็นผู้นำของเราอยู่ยั่งยืนตลอดไป"
       
        และด้วยการใช้หลักบริหารแบบนอกระบบนี่เอง ในการสร้างแบรนด์ระดับโลกให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก การสร้างประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อลูกค้าและทุกๆ คน และการควบคุมบทสนทนาหรือการสร้างเรื่องก่อนในภาคโทรคมนาคมผ่านด้วยการพัฒนาสินค้าอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารนอกระบบ กลายเป็นหลักบริหารที่สามารถครองตลาดโลกได้ในอนาคต
       
       จากหนังสือ "The Underdog Advantage" เขียนโดย เดวิด มอเร่ย์ และ สก็อต มิลเลอร์ แปลและเรียบเรียงโดย สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


อัพเดทล่าสุด