โทมัส เจ.ลิปตัน Thomas J. Lipton (1850-1931) "ชาลิปตัน"


2,734 ผู้ชม


โทมัส เจ.ลิปตัน Thomas J. Lipton (1850-1931) "ชาลิปตัน"




คนอเมริกาชอบกาแฟจืดชืดแบบของพวกเขา ส่วนชาก็เสื่อมความนิยมลงในประเทศนี้ภายหลังเหตุการณ์บอสตัน ที พาร์ตี้ สภาพเป็นเช่นนั้นไปจนกระทั่งนักธุรกิจชาวสก็อตผู้มั่งคั่งนาม โทมัส ลิปตัน สั่งชาถ้วยหนึ่งในร้านแห่งหนึ่งที่ชิคาโก้แล้วได้คำตอบว่า"ขอโทษด้วยครับท่าน เราไม่มีอะไรพรรค์นั้นครับ" ลิปตันจึงได้ตัดสินใจเดี๋ยวนั้นเองว่าจะทุ่มโหมการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มที่โปรดปรานของเขา ณ ซีกนี้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ขณะนั้นลิปตันเป็นเจ้าของไร่ชาซีลอนอยู่หลายแห่งด้วยกัน และเป็นผู้ค้าใบชารายใหญ่รายหนึ่งในยุโรป

ทอมกำเนิดมาจากคู่สามีภรรยาผู้ยากจนแห่งกลาสโกว์ เป็นลูกคนเดียวในหกคนที่มีชีวิตรอดมาได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ พ่อแม่ของเขาเป็นเจ้าของร้านส่งอาหารเล็กๆซึ่งทำมาหารายได้แทบไม่พอยาไส้ หนุ่มลิปตันมองเห็นโอกาสความก้าวหน้าในชีวิตไม่มากนัก จึงได้ตัดสินใจไปแสวงโชคในอเมริกา เขาล่องเรือไปนิวยอร์กโดยอาศัยห้องเครื่องท้ายเรือลำเลียงสินค้าก่อนจะอายุครบ 15 ได้ไม่นานนัก

ในแมนฮัตตัน ลิปตันได้งานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้านขายของชำใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ตลาดใหญ่ของเมืองอันแสนอึกทึกครึกโครมแห่งนี้ที่ลิปตันเกิดความคิดเกี่ยวกับการค้าปลีกที่ทันสมัยสว่างขึ้นมาในใจ เมื่อได้แลเห็นวิธีที่ลูกค้าถูกชักชวนให้ซื้อสินค้ามากขึ้นโดยดิสเพลย์สินค้าแบบเก๋ๆ และข้อความที่ฉลาดเฉลียว ด้งนั้นเมื่อเจ้าหนุ่มวัยรุ่นชาวสก็อตที่เป็นโรคคิดถึงบ้านจับใจกลับไปยังกลาสโกว์ในปี 1896 เขาก็พร้อมที่จะประยุกต์เอาหลักการขายที่ได้มาจากนิวยอร์กไปใช้กับร้านของชำของครอบครัวที่กำลังกระเสือกกระสนอย่างหนัก

หนึ่งในก้าวแรกๆในการโปรโมชั่นของลิปตัน คือ การจ้างวิลลี ล็อคฮาร์ต มือการ์ตูนระดับชาติคนหนึ่งมาเขียนโปสเตอร์บนหน้าต่างโชว์ของร้านทุกๆสัปดาห์ วิธีการนี้ให้ผลตามที่ต้องการ แต่ละสัปดาห์จะมีฝูงชนมารุมอยู่หน้าร้านของลิปตันเพื่อจะดูการ์ตูนตัวใหม่ของล็อคฮารต์ โปสเตอร์ใใบหนึ่งซึ่งโน้มน้าวความสนใจได้มากพอสมควรเป็นรูปชาวไอริชคนหนึ่งถือเชือกจูงหมูตัวหนึ่งที่น้ำตาไหลอาบแก้มของมัน เจ้าของหมูอธิบายกับคนยืนดูว่า เจ้าหมูที่น่าสงสารนี้กำพร้าเพราะญาติพี่น้องของมันถูกนำไปแปรสภาพเป็นแฮมและไอริชเบคอนเสียแล้วที่ร้านของลิปตัน ทอมลิปตันฉวยประโยชน์จากชื่อเสียงที่แพร่หลายของภาพการ์ตูนดังกล่าวโดยหาซื้อหมูตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสองตัว ผูกริบบิ้นสีชมพูและฟ้าให้มัน แล้วพามันเดินพาเหรดไปตามท้องถนน โดยมีราวธงที่เขียนว่า"ลูกกำพร้าของลิปตัน" ไม่นานนักข้อความนี้กลายเป็นวลีติดปากคนทั้งเมือง ไม่ว่าใครกก็ตามที่สวมเสื้อผ้ากะรุ่งกะริ่งหรือท่าทางซอมซ่อจะถูกแซวว่าเป็น"ลูกกำพร้าของลิปตัน"ไปหมด

ร้านของลปตันได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากสถานะของข้อความใหม่ที่ติดปากชาวเมือง ยอดขายแฮม เบคอน และไข่ เพิ่มทบทวี และเมื่อทุนของเขาเพิ่มพูนขึ้น ลีลาการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของลิปตันก็ยิ่งวิจิตบรรจงมากขึ้น เขาใช่ลูกบอลลูนโปรยใบปลิวโฆษณาสินค้าลงมา สร้างประติมากรรมขนาดมหึมาจากไส้กรอกและเนย แล้วนำไปตั้งแสดงไว้ที่หน้าต่างโชว์ของร้าน ตลอดจนการแจกตั๋วเลียนแบบธรบัตรหนึ่งปอนด์ที่สามารถนำมาเป็นส่วนลดในร้านค้าได้ กำไรของเขาพอกพูนยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงกลางศตวรรษ 1870 ลิปตันก็เปิดร้านไปแล้วถึง 3 แห่งในทำเลต่างๆของกลาสโกว์

นักประกอบการหนุ่มนำเงินทุนที่ได้มาจากเครือข่ายที่ขยายตัวออกไปของเขามาใช้ส่งเสริมและขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการขายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขามีขึ้นระหว่างคริสมาสปี 1881 ลิปตันนำเข้า"เนยแข็งที่ใญ่ที่สุดในโลก"มาจากอเมริกา มีเหรียญทองคำยัดไว้ในเนยแข็ง และเมื่อถึงวันคริสมาส อีฟ ซึ่งมันถูกตัดออก ฝูงชนที่กระหายใคร่จะซื้อมีมากมายถึงขนาดต้องมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพิเศษมาคอยรักษาความสงบในระหว่างนั้น ถึงตอนนี้ลิปตันเป็นเจ้าของร้านมากกว่า 20 ร้านเข้าไปแล้ว จำนวนเครือข่ายของเขาในที่สุดก็เพิ่มขึ้นมาถึง 300 ร้าน ทำให้โทมัส ลิปตันเป็นเศรษฐีเป็นเวลานานก่อนที่จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชาที่ใช้ชื่อของเขาเสียอีก

เขาเริ่มมาพัวพันกับธุรกิจเครื่องดื่มในปี 1888 เมื่ออัจฉริยะแห่งร้านขายของชำตระหนักว่าเขาสามารถจะประหยัดเงินให้กับลูกค้าได้ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปอนด์ หากตัดพ่อค้าคนกลางออกไปและผสมชาเอง เขายังคิดวิธีขายชาบรรจุถุงแบ่งเป็นถุงละปอนด์ ครึ่งปอนด์ หรือ 1/4ปอนด์ (ก่อนหน้านี้ชาเป็นสินค้าแบบชั่งกิโลขายตามแต่ลูกค้าจะต้องการ) การบรรจุถุงที่จะอำนวยความสะดวกมากขึ้นและราคาที่ต่ำลงพอสมควรทำให้ชาของลิปตันขายดิบขายดี ไม่นานเท่าไรความต้องการก็ขยายออกไปมากกว่าที่ร้านของเขาจะสนองได้เขาจึงเริ่มการขายส่งให้กับร้านชำและร้านอหารทั่วยุโรป

เหตุการณ์ในร้านอาหารที่ชิคาโกเกิดขึ้นในปี 1890 ครั้งที่ลิปตันเดินทางไปอเมริกาเพื่อตรวจสอบสภาพตลาดที่นั่น ชาไม่ค่อยนิยมดื่มกันในหมู่คนอเมริกันหลังจากพวกเยอรมันและออสเตรียนำเอากาแฟไปเผยแพร่ในกลางศตวรรษที่ 19 มีไม่กี่แห่งเท่านั้นที่พอหาชาได้ ซึ่งลิปตันพบว่ามันถูกโก่งราคาแพงเกินไป ไม่สดเพราะการเก็บรักษาไม่ดีและด้อยในด้านคุณภาพ กระนั้นก็ตาม พ่อค้าชาวสก็อตผู้นี้ยังเชื่อมั่นว่าสามารถชักนำคนอเมริกันให้นิยมดื่มชาได้หากเมื่อใดที่พวกเขาเจอะเจอกับชาผสมคุณภาพสูงสุดและถูกสอนให้รู้วิธีเก็บรักษาชาอย่างเหมาะสม

ลิปตันลงทุนอย่างหนักใน โครงการอเมริกันนี้ ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อการศึกษาแก่สาธารณชนเกี่นยกับชา และว่าจ้างตัวแทนขายจำนวนมาก เพื่อขายสินค้าของเขาให้กับโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งเป็นที่ที่คนไม่เคยลิ้มรสชามาก่อนมีโอกาสจะลองชิมดูได้ ในปี 1883 ชื่อเสียงของชาแพร่หลายไปอย่างมากเมื่อลิปตันกล่อมให้ประเทศศรีลังกา ผู้ผลิตใบชารายใหญ่ให้ตั้งแผงโชว์สินค้าที่ชิคาโก เอ็กซ์โพสิชั่นที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากมาย ในปี 1909 ลิปตันตั้งโรงงานผสมและบรรจุใบชาขึ้นทางใต้ของแมนฮัตตัน ซึ่งเท่ากับลดต้นทุนสินค้าของเขาลงได้มากยิ่งขึ้นอีก สิปปีต่อมาความต้องการชาลิปตันมีมากขึ้นจนจำเป็นต้องย้ายโรงงานข้ามแม่น้ำฮัดสันไปยังอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าในเมืองโฮปเก้น มลรัฐนิวเจอซี

เป็นไปได้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดในการส่งเสริมคนอเมริกันให้ดื่มชา คือ ความหลงใหลของสาธารณชนต่อตัวของโทมัส ลิปตันเอง เศรษฐีใบชาร่างสูงนัยน์ตาสีฟ้า และแก้มแดงเรื่อง ผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั้งสองฝั่งแอตแลนติกตรงที่เขาได้คบค้าสมาคมกับราชวงศ์ในยุโรป และกิจกรรมแข่งเรือใบของเขา ในปลายทศวรรษ 1890 และต้นศตวรรษ 1900 ลปตันนำเอาเรือ "แชมล็อค" ของเขาเข้าร่วมแข่งขันชิงถ้วยอเมริกัน คัพ ถึง 5 ครั้ง แม้ว่าทุกครั้งเขาจะประสบความพ่ายแพ้ แต่ความเป็นสุภาพบุรุษน้ำใจนักกีฬาของเขาก็คงเป็นที่หลงใหลของคนอเมริกันในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ

ทุกวันนี้ มากกว่า 50 ปีหลังจากเขาเสียชีวิตไป เศรษฐ๊ชาวสก็อตก็ยังคงเป็นตัวโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มที่ชื่อของเขาเป็นยี่ห้อ...นักแล่นเรือใบที่เด่นสะดุดตาบนทุกๆซองของชาลิปตันก็คือตัว โทมัส ลิปตันนั่นเอง

 

 

แหล่งข้อมูล : www.cyberdol.cjb.net

อัพเดทล่าสุด