สูตรลับแห่งการเปลี่ยนแปลงองค์กร ใจ+การยอมรับ+ความศรัทธาของผู้นำ


892 ผู้ชม


สูตรลับแห่งการเปลี่ยนแปลงองค์กร ใจ+การยอมรับ+ความศรัทธาของผู้นำ




สูตรลับแห่งการเปลี่ยนแปลงองค์กร ใจ+การยอมรับ+ความศรัทธาของผู้นำ
m6กครั้งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของการเพิ่มพูนความรู้ในวิชาชีพ การวางแผนการสร้างองค์กร อย่างยั่งยืน และแนวทางการวางแผนการสร้างความเติบโตในสายวิชาชีพของแต่ละคน
ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความคิดของผู้บริหารระดับสูง
โดยแจ้งผ่านไปยังฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์แจ้งผ่านไปยังหัวหน้างานในแต่ละสายเพื่อแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบว่า ในอีกไม่กี่วันหรืออาทิตย์หรือเดือนข้างหน้าจะมีองค์กรภายนอก เข้ามาเปลี่ยนแปลงภายใน
เพื่อให้พนักงานทุกคนก้าวข้ามไปสู่ ความเป็นมืออาชีพ
ก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน
ส่วนใหญ่เมื่อพนักงานถูกรับแจ้งข่าวสารเหล่านี้ หลายคนค่อนข้างรู้สึกตี่นเต้น หลายคนรอคอยเพื่อให้วันนี้มาถึง เพราะเขาทราบดีว่าสิ่งที่ผู้บริหารพยายามหาคนภายนอกเข้ามาอบรมให้ นอกจากเขาจะได้เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพ
เขายังจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทัศนคติ และมุมมองต่าง ๆ ด้วย
ที่สำคัญเขาจะได้นำองค์ความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้กับวิธีการทำงานที่ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวพนักงาน หากยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กรต่อไปภายหน้าด้วย
แต่ทั้งนั้นผู้บริหารระดับสูงจะต้องถูก การยอมรับหรือถูกได้รับการศรัทธาจากพนักงานทั้งองค์กรถึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
ขณะเดียวกัน หากผู้บริหารระดับสูง ไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่ได้รับความศรัทธาจากพนักงานในองค์กร แนวทาง ในการปรับเปลี่ยนก็อาจไม่สัมฤทธิผล
เพราะเขารู้สึกว่างานก็หนักเหนื่อยพอ อยู่แล้ว ทำไมจะต้องมาเสียเวลาในการ ฝึกอบรมด้วย สู้เอาเวลาเหล่านั้นมาทำงานไม่ดีกว่าหรือ
หรือเอาเวลาเหล่านั้นไปทำอย่างอื่นดีกว่า ดีกว่ามานั่งเสียเวลาไปกับการฝึกอบรม ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น หรืองานดีขึ้นเท่าไร
ฉะนั้น ถ้าองค์กรหนึ่งองค์กรใดกำลังเผชิญวิกฤตอย่างนี้ถือว่าเป็นวิกฤตภายในองค์กรที่หนักหนาสาหัสพอสมควร ทั้งนั้นเพราะผ่านมาพนักงานทั้งระบบมองว่า ผู้บริหารไม่มีความเป็นธรรม
ผู้บริหารเอาแต่พรรคพวกเพื่อนฝูง
หรือผู้บริหารมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน
จนทำให้พนักงานคิดว่าผ่านมาเขาทำงานหนักเพื่อองค์กรมาตลอด แต่ผู้บริหารมองไม่เห็นเลย ที่สุดเขาจึงเริ่ม ถอดใจและเริ่มคิดว่าเส้นทางเดินชีวิตการทำงานของเขาตีบตันลงเรื่อย ๆ
ฉะนั้น จะมัวทำงานหนักไปเพื่ออะไร ?
จะมัวแสดงความคิดเห็นอยู่ทำไม ?
สู้เล่นแบบเพลย์เซฟไม่ดีกว่าหรือ เพราะอย่างไรองค์กรอยู่ได้ เราก็อยู่ได้ หรือถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ เราก็ไม่บาดเจ็บ เพราะเราไม่ได้เป็นผู้บริหาร เราไม่ได้ดูตัวเลขผลกำไร-ขาดทุน เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติ
ฉะนั้นในท้ายที่สุด ผู้บริหารระดับสูง จะเปลี่ยนผู้บริหารคนนั้นออกไป และเรา ก็จะอยู่รอดปลอดภัยต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเหมือนกับหลาย ๆ ครั้งในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด บาปอย่างมาก
ดังนั้น ในประเด็นนี้ต่อให้ผู้บริหารจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างไร หากพนักงาน ทั้งหมดขาดความศรัทธาต่อผู้นำเสียแล้ว คงทำยากมาก
เพราะเขารู้สึกต่อต้าน
รู้สึกว่าสิ่งที่ผู้บริหารท่านนั้นพยายามทำ ไม่ใช่เพียงทำเพื่อพนักงานทั้งหมดจริง หากทำเพื่อให้เขารอดพ้นจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของตัว ผู้บริหารเองต่างหาก
เขาจึงร่วมฝึกอบรมไปอย่างนั้นโดยไม่มีจิตใจของความเป็นหนึ่งเดียว ท้ายที่สุด ผู้บริหารจะฝ่อไปในที่สุด ส่วนตัวพนักงานเหล่านั้นก็จะร่วมหัวจมท้ายกับคนที่คิดเหมือนกันว่าผู้บริหารท่านนั้นล้มเหลว
ฉะนั้น ทางแก้ของเรื่องนี้จึงต้องแก้วิกฤตศรัทธาเสียก่อน ต้องทำให้พนักงานทุกคนเกิดความเชื่อมั่นว่า ผ่านมาสิ่งที่ทุกคนคิดว่าผม ฉัน หรือดิฉันไม่เป็นธรรมนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง
เสมือนเป็นการเปิดใจคุยกัน
พร้อมยังให้วิจารณ์ทุกหัวข้อของความไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะให้เขาเห็นว่าผม ฉัน หรือดิฉันเปิดไต๋คุยกับคุณอย่างหมดเปลือกแล้ว จากนั้นจึงเริ่มเล่าในสิ่งที่ ผู้บริหารระดับสูงสะท้อนลงมา
พร้อมยกตัวเลขประกอบว่า หากองค์กรเราไม่ปรับเปลี่ยนจะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องธุรกิจ ผลประกอบการ สวัสดิการ โบนัส รวมถึงการเติบโตของพนักงานทั้งระบบ
โดยชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียอย่างเป็น รูปธรรม ทั้งยังจะต้องชี้ให้เห็นถึงความจริงใจของเราว่า สิ่งที่เราพยายามจะ ปรับเปลี่ยนครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองรอด หากเพื่อให้พนักงานทุกคนมีสิทธิรอด เหมือนกัน
ดังนั้น จึงต้องถามเขากลับว่าจะเลือกแบบไหน ?
ซึ่งคำตอบไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ผู้บริหารจะต้องยืนอยู่ข้างพนักงานก่อนเป็นอันดับแรก พร้อมทั้งแสดงเจตจำนงไปเลยว่า หากการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ล้มเหลว ผม ฉัน หรือดิฉันจะยอมลาออกก่อนที่ทุกคนจะออก
เสมือนเป็นการแสดงความจริงใจ
เพื่อให้ทุกคนเห็นและเกิดความศรัทธา เพราะความศรัทธาเป็นต้นธารแห่งความสำเร็จ และความล้มเหลว ผู้นำ หรือ ผู้บริหารก็เช่นกัน
ฉะนั้น การจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง นอกจากผู้บริหารจะต้องสร้างศรัทธาให้เกิดการยอมรับ ให้ได้ ผู้บริหารยังจะต้องมีความจริงใจและมีความเป็นธรรมด้วย
ที่สำคัญจะต้องทำให้ทุกคนเห็น
ไม่ใช่เห็นหรือยอมรับเพียงไม่กี่คน ส่วนที่เหลืออีกร้อยคน พันคน กลับไม่เห็น ก็ไม่มีประโยชน์อะไร อีกสิ่งหนึ่งคือจะต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และสื่อสารอย่างเข้าใจด้วย
ซึ่งผ่านมาผู้บริหารหรือผู้นำมักเชื่อว่าการสื่อสารในระดับเดียวกันน่าจะนำสารที่สื่อนั้นขยายออกไปในวงกว้างได้ ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ถูกเพียงระดับหนึ่ง
เพราะเกิดขึ้นกับระดับปฏิบัติงานบางส่วนเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นการร่วมมือทั้งระบบหรือ ทั้งองค์กร ผู้บริหารจะต้องสื่อสารด้วยตัวเอง เพราะการสื่อสารด้วยตัวเอง ไม่เพียงทำให้พนักงานทั้งหมดรับรู้ถึงความรู้สึก ของผู้บริหาร
ยังทำให้พนักงานทราบด้วยว่าผู้บริหารจะนำพาองค์กรไปทางไหน ?
เสมือนเป็นการเปิดวิสัยทัศน์แบบปลายเปิดที่ไม่เพียงจะต้องอาศัยพนักงานทุกคนช่วยกันระดมสมองอย่างพร้อมเพรียงกัน หากยังจะต้องอาศัยพนักงานทุกคนเข้าร่วมกับภารกิจในการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่าง มีความเป็นทีมเวิร์กด้วย
ถึงจะทำให้พนักงานทุกคนมีความสุข
มีความเป็นธรรม
พร้อมกับมีความศรัทธา จนทำให้องค์กรก้าวข้ามไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ทำได้ทั้งสิ้น ?
หน้า 31

อัพเดทล่าสุด