CSR กับความจำเป็นของธุรกิจยุคใหม่!
ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ทำให้ธุรกิจหลายแห่งเริ่มหันมาตระหนักและใส่ใจต่อการรับผิดชอบสังคมมากขึ้น ขณะเดียวกันด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความจำเป็นในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาแบบไม่ซ้ำใคร
โดยก่อนหน้านี้ไม่นาน มีผลการสำรวจของไอบีเอ็ม ที่ไปสอบถามความเห็น ผู้บริหารระดับซีอีโอ 1,130 รายจาก 40 ประเทศ ใน 32 อุตสาหกรรม รวมถึงซีอีโอ 400 รายจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในรายงานทั่วโลกประจำปี 2008 (2008 Global CEO Study) พบว่า ซีอีโอในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มอง องค์กรธุรกิจในแห่งอนาคต จะต้องมุ่งมั่นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกินขอบเขตจินตนาการของลูกค้า มีการบูรณาการทั่วโลก กระจายอำนาจ และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างจริงใจ
และที่น่าสนใจก็คือ ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิก ได้เพิ่มการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) ในอัตราที่รวดเร็วกว่าซีอีโอในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นถึง 42 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก 25 เปอร์เซ็นต์
"เรื่องซีเอสอาร์ผมว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่คุณปั้น(บัณฑูร ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทย)ก็เคยแนะนำว่าการจะทำเรื่องนี้ต้องให้มีกำหรก่อน เพราะเราไม่ใช่มูลนิธิ แต่เรื่องนี้ผมคิดว่ามันเหมื่อนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน"เป็นคำอธิบายของสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเมืองไทยประกันชีวิตจำกัดในหัวข้อข้างต้น
และยกตัวอย่างสิ่งที่ได้ทำผ่านมาว่า "โครงการหมู่บ้านเมืองไทย" ดูเหมือนจะเป็นรูปธรรมที่สุดของการทำซีเอสอาร์ เพราะทุกหมู่บ้านที่ได้ไปทำโครงการไม่เคยซื้อกรมธรรณ์ของเมืองไทยเลย แต่ว่าเราก็ทำต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้อย่างน้อยได้จดจำชื่อได้ก็พอ ที่สำคัญยังได้บุญอีกต่างหาก เพราะสิ่งที่ทำคือการส่งพนักงานไปสอนชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องบัญชี เรื่องการออมต่างๆ เพื่อให้เกิดคสามยั่งยืนในการใช้ชีวิต
"ซีเอสอาร์ ไม่ใช่การบริจาค แต่เป็นการทำตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นต้นน้ำ ในการคัดเลือกวัตถุดิบต่างๆมาใช้ผลิตมีคุณภาพเพียงใด นี้คือการรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น การทำซีเอสอาร์ไม่ใช่ปลายน้ำแต่อยู่ในทุกกระบวนการของการผลิตสินค้า"นายกิจจา ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเด็ก ซ์ลิฟวิ่งมอลล์จำกัด
ทั้งนี้ อินเด็กซ์ คือ ผู้ผลิตเครื่องเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของประเทศ และทำตลาดในต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปหลายประเทศ อีกทั้งยกระดับจากการับจ้างผลิตมาสู่การสร้างแบรนด์ และเปิดเป็นหน้าร้านในรูปแบบของ"อินเด็ก ลิฟวิ่งมอลล์"แหล่งรวมสินค้าเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสำหรับการอยู่อาศัย ดังนั้น คุณภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ถูกกำหนดด้วยกลยุทธ์ซีเอสอาร์ ที่ไม่เพียงทำสินค้าขายอย่างเดียวเท่านั้น
โดย บิสิเนสไทย [15-8-2008] |
ขณะที่นางเพ็ยนภา ธนสารศิลป์ กรรมการบริหารเครือสหพัฒนพิบูลย์เล่าตำนานการทำซีเอสอาร์ขององค์กรว่า ได้เริ่มมาตั้งแต่สมัย"คุณเทียม โชควัฒนา" ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ เพื่อตอบแทนสังคม ยกตัวอย่างบะหมี่มาม่า ที่จัดโปรโมชั่นแจกทอง ทำมาเป็นเวลากว่า 10ปีแล้ว และยังไม่เลิก เพราะตราบใดที่ลูกค้ายังรับประทานสินค้าเรา และเขียนจดหมายมาพร้อมซองมาม่า เราก็ยังคงตอบแทนด้วยแคมเปญ"มาม่าแจกทอง"ไปตลอด ถามว่าหงวังยอดขายหรือไม่ ยืนยันได้ชัดว่าไม่ได้มุ่งหวังอะไรจากการแจกทองแต่อย่างใด
"เรื่องอื่น ๆ ทั้ง วาตภัย อุทกภัยต่างๆ จะเห็นว่าทันทีที่เกิดเหตุเราจะไปอยู่ที่นั้น และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ทำเพราะเรื่องกระแส แต่เราต้องการให้เกิดความยั่งยื่น"ผู้บริหารเครือสหพัฒน์กล่าว
เช่นเดีวกับนายสุธี รัตนนาคินทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทอังกฤษตรางู(แอล.พี)จำกัด เจ้าของสินค้าชื่อดังแป้งอังกฤษตรางูมองว่า การทำซีเอสอาร์ ถือเป็นStrategy ขององค์กร เพราะเป็นทั้งเรื่องกลยุทธ และเรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น การทำให้เกิดความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องจำเป็นกว่าการทำตามกระแสเท่านั้น เพราะการที่องค์กรจะทำเรื่องนี้ได้อย่างยั่งยืน การทำตามกำลังตัวเองถือว่าสำคัญที่สุด.