บริหารแบบ Entrepreneur


822 ผู้ชม


บริหารแบบ Entrepreneur




''บริหารแบบ Entrepreneur'' สไตล์ ชไมภรณ์ เอื้อไพโรจน์กิจ

เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่า ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ "ผู้หญิง" เข้ามามีบทบาทผู้นำทางเศรษฐกิจ การเมือง ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ซึ่งในอดีตนั้น ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่ผู้หญิงจะมีโอกาสขึ้นมานั่งในตำแหน่งสูงสุด หรือ ซีอีโอของบริษัทใดๆได้โดยง่าย

แต่วันนี้ซีอีโอหญิงหลายคนได้พิสูจน์ถึงความสามารถในการทำงาน หนึ่งในนี้ คือ "ชไมภรณ์ เอื้อไพโรจน์กิจ" ประธาน บริษัท เฮงเค็ล(ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารหญิงคนแรกในไทยและหนึ่งเดียวของกลุ่มเฮงเค็ลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ผลงานตลอดหลายปีที่ผ่านมาในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เธอไม่เพียงนำพาธุรกิจฝ่าวิกฤติจากยอดขายที่ตกต่ำและต้นทุนที่พุ่งสูงจากการลงทุนสร้างโรงงานใหม่ที่อมตะนครในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ซึ่งสามารถพลิกฟื้นจนผลการดำเนินงานกลับมาพุ่งแรง ตัวเลขระหว่างปี 2541-2546 เพิ่มขึ้นถึง 318% เท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างธุรกิจและผนวกรวมกิจการในไทยที่บริษัทแม่ในเยอรมนีเทกโอเวอร์ธุรกิจเข้ามาหลากหลาย รวมเป็นหนึ่งเดียว พร้อมๆกับการสร้างไทยเป็น "ฮับการผลิตและเทคนิคอลเซ็นเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)"
และทำให้วันนี้ เฮงเค็ล ประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนหลัก คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อความงาน และธุรกิจผลิตภัณฑ์กาว & เคมีภัณฑ์เพื่อการเตรียมพื้นผิว มีพนักงาน 450 คน มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมไปถึงกำไรที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง จนขึ้นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจกาวทั้งด้านยอดขายและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
นับตั้งแต่ชไมภรณ์เข้ามาร่วมงานที่เฮงเค็ล เธอมีบทบาทสำคัญในการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้หญิงก็สามารถบริหารงานได้ดี หากได้โอกาส และคนไทยก็มีความสามารถที่จะบริหารกิจการของต่างชาติได้ และยังทำให้ เฮงเค็ล ประเทศไทย วันนี้กลายเป็นต้นแบบธุรกิจให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มเฮงเค็ลนำไปใช้ โดยเฉพาะการบุกเบิกและทดสอบตลาด สำหรับเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งทางบริษัทแม่ค่อนข้างเชื่อถือเพราะถ้าลองทำตลาดในไทยแล้วประสบความสำเร็จก็จะนำรูปแบบไปใช้กับประเทศอื่นๆในเอเชีย-แปซิฟิก "เราเองก็มองตรงนี้ว่า เป็นความท้าทาย และพยายามทำให้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการยอมรับความเปลี่ยนแปลงของพนักงาน จึงทำให้ทำงานได้ง่าย และสุดท้ายก็ได้ความเชื่อถือกลับมา"
ผู้บริหารสาวโสดวัย 40 ต้นๆ ย้อนความรู้สึกในอดีตให้ฟังว่า เป็นเด็กกรุงเทพฯจบมัธยมที่สตรีวิทยา และเอนทรานซ์เข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ช่วงอยู่ปี 3 เคยไปฝึกงานแล็บที่บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ฯ จึงได้ค้นพบว่าตัวเองไม่ชอบงานด้านนี้ พอเรียนจบจึงหันมาเป็นเซลส์ เริ่มต้นทำงานกับบริษัทเทรดดิ้ง ขายผลิตภัณฑ์ให้กับ เฮงเค็ล จนกระทั่งในปี 2533 เฮงเค็ลมีตำแหน่งงานว่างจึงได้เข้ามาร่วมงาน เป็นผู้จัดการขาย Surface Technologies ช่วงที่ทำงานก็ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอนนั้น เฮงเค็ลยังเป็นบริษัทเล็กๆ เช่าบ้านเป็นออฟฟิศ ใช้ชื่อว่า เฮงเค็ลไทย (1999) และมีโรงงานอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 4 ทำอยู่ 8 ปีจึงได้ขึ้นเป็นผู้จัดการแผนก จนถึงปี 2546 เลื่อนขั้นเป็นผู้อำนวยการ พร้อมกับดูแลส่วนธุรกิจเทคโนโลยีกาวที่ตั้งขึ้นใหม่จากการรวมธุรกิจเฮงเค็ลกับล็อคไทต์ และเปลี่ยนชื่อเป็น เฮงเค็ล(ประเทศไทย)จนกระทั่งกลางปี 2548 ได้ขึ้นเป็นประธานบริษัท และยังได้สวมหมวกอีกตำแหน่งคือผู้จัดการประจำประเทศไทยฝ่ายเทคโนโลยีกาว
"การบริหารงานจะมุ่งเน้นเรื่อง team effort ขณะเดียวกันก็พยายาม balance ความต่างและความซับซ้อนทางธุรกิจ โดยเฉพาะวิธีการดำเนินงาน ที่บางครั้งก็ต้องเข้าใจความต่างในการขับเคลื่อนแต่ละธุรกิจ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย"
ชไมภรณ์กล่าวพร้อมกับยอมรับว่า การทำงานตลอด 17 ปีที่ผ่านมา มีทั้งความสนุกและท้าทาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากการเทกโอเวอร์กิจการเข้ามา ทำให้ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจ "สิ่งที่ดีใจคือ เราทุ่มลงไปแล้วมันเกิดพัฒนาการด้านบวก และความสำเร็จ ให้เห็น เหมือนกับเราปลูกต้นไม้แล้วได้เห็นมันโต แต่ถ้าเราไม่ตัดแต่ง ไม่ใส่ปุ๋ย มันก็จะเหี่ยวลงไปเรื่อยๆ"
โดยเฉพาะสิ่งที่เธอทำมาตลอด คือ การสร้างจุดต่างในการนำนโยบายบริษัทมาปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ด้วยการปรับใช้ให้สอดคล้องกับตลาดในไทย สร้างสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า พร้อมกับพัฒนาให้เกิด value added แต่ขณะเดียวกันก็มองผลในระยะยาวเพื่อตอบแทนให้กับพนักงานและสังคมไทยที่จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วย
เธอเล่าว่า เฮงเค็ล ก่อตั้งมานานกว่า 130 ปี โดยครอบครัวเฮงเค็ล และยึดแนวทางการบริหารแบบครอบครัวมาตลอด แม้วันนี้พัฒนาการของบริษัทจะเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปสู่ระดับสากล เนื่องจากในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเฮงเค็ลเทกโอเวอร์กิจการที่มีวัฒนธรรมต่างกันเข้ามาหลากหลายแห่ง " แต่วันนี้เฮงเค็ล สามารถผสานกันเป็นหนึ่งเดียว ถือเป็นความท้าทาย และการเปิดกว้างที่จะเรียนรู้ เพื่อนำจุดดีของแต่ละบริษัทที่เทกโอเวอร์นั้นมาปรับใช้และต่อยอดให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น"
เช่นเดียวกับการบริหารงาน ที่เธอเผยว่า ไม่มีใครเป็น role model ตรงๆ แต่เรียนรู้และนำจุดดีในการบริหารหลายๆเรื่องของผู้บริหารเฮงเค็ลที่เคยร่วมงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน มาทบทวน แล้วก็เก็บเล็กผสมน้อย นำมาปรับใช้ บวกกับการใช้ความรู้สึกส่วนตัวที่ว่า ซีอีโอต้องคิดเสมือนว่าเราเป็นเจ้าของกิจการ( Entrepreneur)ที่เป็นคนถือหางเสือธุรกิจ "จากขอบข่ายของงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ต้องพยายามที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เพื่อให้คนรุ่นหลังนำไปใช้เป็นตัวอย่างเพื่อทำให้ได้ดีกว่า"
พร้อมกับให้ข้อคิดผู้บริหารรุ่นใหม่ "สิ่งที่ตัวเองใช้มาตลอด คือ ต้องมองไกล และมีโอกาสต้องทำให้ดีที่สุด เพราะโลกเปิดเสรีและโอกาสเปิดกว้าง อย่าให้เรื่องเพศมาเป็นอุปสรรคของการทำงาน แต่ควรใช้ความได้เปรียบของการเป็นผู้หญิงมาใช้ในการทำงานและลดข้อเสียเปรียบทิ้งไป เพราะในโลกการทำงานที่เท่าเทียมกันเราต้องเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์"
อีกสิ่งหนึ่งที่เธอหมั่นเตือนพนักงานอยู่เสมอ คือ "โอกาสมาเมื่อไหร่ไม่รู้ สิ่งที่ต้องทำคือ เตรียมตัวให้พร้อม ปิดจุดอ่อนและทำจุดแข็งให้มากขึ้น เพราะเมื่อโอกาสมาแต่เราไม่พร้อม ก็จะเสียโอกาสให้กับคนที่พร้อมกว่าเรา"

เป็นสาวโสดที่ทุ่มเทให้กับการทำงานเพราะความสนุกและชอบความท้าทาย จนลืมนึกถึงเรื่อง work life balance ทำให้ไลฟ์สไตล์วันว่างของเธอมีโอกาสได้แค่ช็อปปิ้งบ้าง ปลูกต้นไม้บ้าง ให้เวลากับคุณแม่บ้าง ที่ยังไม่ได้ทำและถือเป็น

ที่มา : thannews.th.com

อัพเดทล่าสุด