เครื่องมือในการจัดการความรู้


649 ผู้ชม


เครื่องมือในการจัดการความรู้




ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

      1. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)

       2. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)

      

       ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนตามขอบเขต และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละ ส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก กอง รองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของกรมการปกครองเพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นงานที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่ง ที่ต้องการ พลังการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ส่วน ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้ การใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน

     

         การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก  ๆ  ได้แก่  การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา   ความรู้ใหม่    การจัดความรู้ให้เป็นระบบ   การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้    การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้     สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้  ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

             (1)  เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit 

             (2)  เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด “ ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก

                 ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  หรือชุมชน นักปฏิบัติ  (Community of Practice : CoP)

 

 

ที่มา : www.dopa.go.th

อัพเดทล่าสุด