วิวัฒนาการของแนวคิดที่สำคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์


1,462 ผู้ชม


วิวัฒนาการของแนวคิดที่สำคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์




1968 - Ansoff ได้เสนอแนวคิดเรื่อง Product market matrix เพื่อใช้วิเคราะห์ทางเลือกของกลยุทธ์ที่จะพิจารณาสินค้าที่ควบคู่กับตลาดออกเป็น 4 กลยุทธ์ย่อย คือ สินค้าเดิมและตลาดเดิม สินค้าเดิมแต่เข้าตลาดใหม่ สินค้าใหมกับตลาดเดิม และสินค้าใหม่เข้าตลาดใหม่
- เกิดแนวคิดเรื่อง Learning Curve คือถ้าส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้น จะนำไปสู่การผลิตที่มากขึ้น ซึ่งจะให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาที่แข่งขันมากขึ้น แต่ในที่สุดแนวคิดนี้ก็แพร่หลายทำให้ผู้ผลิตพากันเล่นสงครามราคา

1979 - เกิดแนวคิดเรื่อง Strategic Business Unit หรือ SBU มองว่าควรต้องมีการจัดกลุ่มธุรกิจออกเป็นหน่วยเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมไปตาม SBU ได้ และทำให้เกิดแนวคิดในเรื่องความเป็นอิสระ (Autonomy) และความรับผิดชอบ (Responsibility) ของผู้บริหาร

- เกิดแนวคิดเรื่อง Portfolio Planning เป็นการวิเคราะห์ SBU แล้ววางตำแหน่งของ SBU ลงในเมทริกซ์ที่นิยมใช้กันมากคือ BCG Matrix ซึ่งบริษัท บอสตันคอนเซาส์ติ้งกรุ๊ป เป็นผู้พัฒนาเมทริกซ์นี้จะมีแกนนอนเป็นส่วนครองตลาดโดยเปรียบเทียบ และแกนตั้งเป็นอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม

- เกิดแนวคิดเรื่อง PIMS จะเป็นการศึกษาและตรวจสอบปัจจัยแห่งความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลจากบริษัทต่างๆ ในอเมริการเป็นจำนวนหลายร้อยบริษัท เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อ ROI ของ SBU

1980 - เกิดแนวคิดเรื่องการวางตำแหน่งกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ ซึ่งเป็นเรื่องของการกำหนดความสามารถ (Capabilities) ขององค์การที่จะทำให้กิจการบรรลุผลสำเร็จเหนือคู่แข่งขันในระยะยาว

- เกิดแนวคิดเรื่องกลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) โดย Michael E. Porter ได้เสนอว่าองค์การควรจะมีการกำหนดกลยุทธ์ 3 ทางเลือก คือ 1. กลยุทธ์เน้นต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) 2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) และ 3. กลยุทธ์จำกัดเขต (Focus Strategy)

- เกิดแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรม และภาวะการแข่งขัน และศักยภาพการทำกำไรของอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Five Forces Model

- เกิดแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์กิจกรรมสร้างมูลค่าเชื่อมโยง (Value Chain Analysis) ทั้ง 2 แนวคิดนี้เป็นของ Michael E. Porter เช่นกัน

1990 - เกิดแนวคิดเรื่องความสามารถหลัก (Core Competency) โดย Prahalad และ Hamel ความสามารถหลักจะเป็นความสามารถขององค์การในการประสานความสามารถของ SBU ต่างๆ เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ

- เกิดแนวคิดเรื่องการปรับรื้อองค์การ (Business Process re-engineering ) โดย Prahalad และ Hamel เพื่อลดขั้นตอนการทำงานทุกกระบวนการ ทำให้กิจการบรรลุประสิทธภาพสูงสุด และประสิทธิผลอย่างต้องการ

- เกิดแนวคิดเรื่องการวัดผลองค์การอย่างสมดุล (Balanced Scorecard) คือ การวัดผลองค์การให้ครอบคลุม และสมดุลย์มากขึ้น คือ นอกเหนือจากวัดผลองค์การในด้ารการเงิน ซึ่งเป็นไปตามวิธีการแบบเดิมที่นิยมใช้กันแล้ว ควรจะต้องวัดผลองค์การในอีก 3 ด้าน คือ 1. ความพึงพอใจของลูกค้า 2. ด้านกระบวนปฏิบัติงานขององค์การ และ 3. ด้านการเสริมการเรียนรู้ การเจริญเติบโตเพื่ออนาคตขององค์การด้วย

1991 - เกิดแนวคิดเรื่อง Owner Strategy จะเป็นการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

1993 - เกิดแนวคิดเรื่อง Benchmarking คือ เสนอให้ผู้บริหารต้องมีการเปรียบเทียบองค์การในด้านต่างๆกับผู้ที่ทำในเรื่องนั้นๆได้ดีที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ใช่คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิด Breakthrough Improvement แก่องค์การได้

 

ที่มา : การบริหารเชิงกลยุทธ์ แนวคิดและทฤษฎี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพานี สฤษฎ์วานิช
คณะ พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

แหล่งข้อมูล : www.cyberdol.cjb.net


อัพเดทล่าสุด