เทคนิค การจัดทำแบบฟอร์ม การสัมภาษณ์งาน ตอนที่ 1
โครงการบัณฑิตศึกษา หลักสูตรนานาชาติ สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยบูรพา
การสัมภาษณ์ถือได้ว่าเป็นกระบวนการด่านแรกที่สำคัญมากที่สุดในการสรรหาคัดเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในตำแหน่งงานที่ต้องการ พบว่าการสัมภาษณ์งานเป็นเครื่องมือที่มักจะถูกนำมาใช้มากที่สุดในการเก็บข้อมูลต่างๆ ของพนักงาน ซึ่งจะถูกจัดทำขึ้นโดยผู้สัมภาษณ์งาน
ดังนั้นแบบฟอร์มที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานจึงเป็นเสมือนแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาใช้วิเคราะห์หาผู้สมัครที่เหมาะสมมากที่สุด พบว่าโดยส่วนใหญ่แบบฟอร์มการสัมภาษณ์งานที่จัดทำขึ้นมานั้นเป็นแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการประเมินคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครเท่านั้น ยังไม่มีการเก็บข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผู้สมัครเคยแสดงพฤติกรรมออกมาในอดีต ตามแนวคิดของ Competency ดังตัวอย่างของแบบฟอร์มต่อไปนี้
บริษัท .....................................
แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์
ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ-นามสกุล |
| ตำแหน่งงาน |
|
ชื่อ-นามสกุล |
| ตำแหน่งงาน |
|
ส่วนที่ 2 : ปัจจัยที่ใช้วัดผลการสัมภาษณ์
ระดับคะแนน
ระดับ 1 หมายถึง ความสามารถต่ำกว่ามาตรฐานที่คาดหวังอย่างมาก | ระดับ 4 หมายถึง ความสามารถเกินกว่ามาตรฐานที่คาดหวัง |
ระดับ 2 หมายถึง ความสามารถต่ำกว่ามาตรฐานที่คาดหวัง | ระดับ 5 หมายถึง ความสามารถเกินกว่ามาตรฐานที่คาดหวังอย่างมาก |
ระดับ 3 หมายถึง ความสามารถตรงตามมาตรฐานที่คาดหวัง |
|
กรุณาประเมินผลการสัมภาษณ์ตามปัจจัยที่กำหนดให้ต่อไปนี้
ปัจจัยประเมิน | 5 | 4 | 3 | 2 | 1 | |
1. การศึกษา/สาขาวิชาที่จบ |
|
|
|
|
| |
2. ประสบการณ์การทำงาน |
|
|
|
|
| |
3. ความเป็นผู้นำ |
|
|
|
|
| |
4. ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ |
|
|
|
|
| |
5. การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ |
|
|
|
|
| |
6. ความรอบรู้ในงานที่สมัคร |
|
|
|
|
| |
7. การนำเสนองาน |
|
|
|
|
| |
8. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
|
| |
9. บุคลิกภาพ การแต่งกาย รูปร่าง หน้าตา ภาษาที่ใช้ |
|
|
|
|
| |
10. การติดต่อประสานงาน |
|
|
|
|
| |
11. ความฉลาด ไหวพริบและเชาวน์ปัญญา |
|
|
|
|
| |
12. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ : Ms Word / Excel / Powerpoint |
|
|
|
|
| |
13. การใช้ภาษาอังกฤษ : ฟัง พูด อ่าน เขียน |
|
|
|
|
| |
คะแนนรวม = คะแนนรวมทั้งหมด / 65 |
| |||||
เกรดที่ได้ = (คะแนนรวม) * 5 |
| |||||
เกรด A : คะแนน 4:51-5:00 ดีมาก | เกรด B : คะแนน 4:01-4:50 ดี | |||||
เกรด C : คะแนน 3:01-4:00 พอใช้ | เกรด D : คะแนน ต่ำกว่า 3:00 ไม่ผ่านเกณฑ์ |
ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัคร ............................................................................................................................................ |
ลงชื่อ..............................................
................/............./...........
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกำหนดแบบฟอร์มเพื่อประเมินข้อมูลพื้นฐานของผู้สมัครซึ่งถือว่าเป็นวิธีการสัมภาษณ์งานแบบดั้งเดิม (Traditional Approach) ตามตัวอย่างที่นำเสนอนั้น พบว่ามีจุดอ่อนหรือประเด็นที่ควรจะพิจารณาดังต่อไปนี้
- ปัจจัยที่กำหนดเป็นข้อคำถามที่ถูกนำมาใช้กับทุก ๆ ตำแหน่งงาน โดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์ประเมินแยกคุณสมบัติเฉพาะที่ต้องการของแต่ละตำแหน่งงาน
- การประเมินอาจเกิดขึ้นจากดุลยพินิจส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์งาน เนื่องจากระดับการประเมินกว้างเกินไป ไม่เฉพาะเจาะจง
- มีการนำคุณสมบัติพื้นฐานของผู้สมัครมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครงาน เช่น การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน บุคลิกภาพ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้ภาษาอังกฤษ
- ผู้สัมภาษณ์ไม่มีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์งานมากนัก เนื่องจากปัจจัยที่ใช้ประเมินมีไม่มากสามารถนำมาใช้ได้เลยในขณะสัมภาษณ์งาน
- เวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานไม่นานนัก เนื่องจากคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานที่จัดทำขึ้นในแบบฟอร์มที่กำหนดมีไม่มาก จึงทำให้ผู้สัมภาษณ์ใช้เวลาในการสัมภาษณ์งานไม่นานเท่าที่ควร
- เนื่องจากแบบฟอร์มการสัมภาษณ์งานมีปัจจัยที่ไม่เฉพาะเจาะจง มีผลทำให้ผู้สัมภาษณ์งานบางคน ไม่ใส่ใจกับการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการประเมินผู้สมัครแต่ละคน เพราะคิดว่าแบบฟอร์มการประเมินนั้นไม่สามารถช่วยในการพิจารณาคัดเลือกหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้
ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสรรหาคัดเลือกคนที่ไม่เหมาะสม สาเหตุหนึ่งมาจากการกำหนดปัจจัยประเมินผู้สมัครไม่ชัดเจน แบบฟอร์มประเมินผู้สมัครไม่มีการบันทึกข้อมูลที่สำคัญที่ผู้สมัครเคยแสดงพฤติกรรมนั้นในอดีต แนวโน้มในการสรรหาคัดเลือกพนักงานต่อไปจึงมุ่งเน้นไปที่ขีดความสามารถหรือ Competency ที่ต้องการของแต่ละตำแหน่งงานมากขึ้น ซึ่งแบบฟอร์มการประเมินผู้สัมภาษณ์จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อบันทึกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตของผู้สมัครแต่ละราย ทั้งนี้ผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการและตัวอย่างของการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินผู้สมัครตามแนวคิดของ Competency ในบทความฉบับหน้า..... ติดตามอ่านต่อในบทความที่จะนำเสนอตอนถัดไปค่ะ