จิตสมอง หรือ จิตที่ทำให้เกิดคุณธรรม


1,005 ผู้ชม


จิตสมอง หรือ จิตที่ทำให้เกิดคุณธรรม




    จากการศึกษาคำกล่าวในหนังสือ  “ จิตสมอง”  ของ  ดร. วัลลภ  ปิยะมโนธรรม  ซึ่งเขียนไว้ว่า  เราสามารถพัฒนา “ จิตสมอง”  หรือ  “จิตเราให้เกิดคุณธรรม”  กันได้  ที่ว่า  จิตดี  จิตเลิศ  จิตสุข  จิตสว่าง  จนถึงขั้นอัจฉริยะกันได้  คือรู้จักคอย  “กระตุ้นสองทั้ง  4  ซีก  ให้ตื่น  พร้อมทำงาน  แล้วก็รู้สึกใส่ส่วนดีของความนึกคิดและอารมณ์ความรู้สึกของเรา  เข้าไปในส่วนเด่นของสมองเราในแต่ละซีกตามที่ตั้งใจไว้อย่างสม่ำเสมอ” 

สมองมนุษย์เราแบ่งการทำงานออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ คือ

ซีกที่หนึ่ง หรือซีกซ้ายหน้านั้น เป็นลักษณะของความนึกคิดที่ทำงานอย่างมีเหตุมีผล มีความสำนึก มีการวิเคราะห์ จึงมีข้อมูลต่าง ๆ ที่อ่านมา ฟังมาอ้างอิงกันมา คิดคำนวณเป็นสถิติตัวเลข เป็นปริมาณ เป็นจำนวน  สมองซีกที่ 1 จึงเป็นความคิดเชิงปรัชญา มีเหตุมีผล คือความเป็นนักคิด นักปราชญ์ที่อยู่ในตัวเรา คนมีสมองซีกนี้เด่นจะเป็นคนมีจุดยืน มีเป้าหมาย เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เข้าข่ายเชื่อมั่นในเหตุผล

ซีกสอง หรือซีกซ้ายหลังนั้น จะทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นแบบแผนเป็นขั้นตอน เมื่อไหร่ที่ความคิดของเราเป็นระบบระเบียบ ความคิดต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเชื่อมั่น แน่นอน ปลอดภัย สมองซีกที่สองก็จะทำงาน และจดจำการใช้สมองซีกที่สองนี้ จึงเป็นการวางแผน มีนโยบาย เป็นขั้นตอน มีลักษณะของการใส่ใจรายละเอียดปลีกย่อย 4  คน ที่มีสมองซีกนี้เด่น จึงเป็นนักคิดวางแผน นักบริหาร นักจัดการและตัดสินใจตามแผนที่วางไว้ โดยจะทำงานเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ เป็นระเบียบยึดมั่นในกฎเกณฑ์ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี คล้ายเป็นคนหัวเก่า เข้าข่ายเชื่อมั่นในตนเอง คือ ต้องมีความมั่นคง ปลอดภัย ต่างกับซีกที่หนึ่ง ที่เชื่อมั่นในเหตุผล

ซีกที่สาม หรือซีกขวาหลัง เป็นสมองส่วนของอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของผู้หญิง มักชอบช่วยเหลือคน เห็นใจคน เอาใจใส่ดูแล ไวต่อความรู้สึก ทันต่อภาษากาย ชอบแสดงความคิดเห็นส่วนรวม มักตัดสินใจด้วยอารมณ์ เป็นส่วนสมองที่ชอบทำงานด้านบริการ ร้องรำทำเพลง ชอบอะไรสวย ๆ งาม ๆ ชอบประชาสัมพันธ์ ความมั่นใจอยู่ในเรื่องความรู้สึก เข้าข่ายมั่นใจในความรู้สึก

ซีกที่สี่ หรือซีกขวาหน้า เป็นจุดผ่านของการสั่งสมยีนหรือเซลล์ใหม่ต่าง ๆ ที่เป็นการรับรู้ เรียนรู้ หรือการคิดแบบริเริ่มสร้างสรรค์ เชิงกล้าลองเสี่ยง กล้าลองทำ มักตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณ การอยากรู้ของตนเอง (Heuristic) จากประสบการณ์ชีวิตตัวเอง เป็นส่วนสมองของนักสร้าง นักพัฒนา นักจินตนาการที่เรียกกันว่า ครีเอทีฟ  เข้าข่ายเชื่อมั่นใจในตัวเอง คืออยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลง การรับรู้อะไรใหม่ ๆ การเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงเด็กนั้น การเรียนรู้จะผ่านเข้ามาถึงสมองซีกที่สี่นี้คือผ่านเข้ามายังซีกขวาก่อนซีกซ้าย อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราตั้งแต่แรกเริ่มเกิดถ่ายโดยมาจากผู้เป็นพ่อและแม่ มีอารมณ์อย่างไรรวมทั้งพฤติกรรมก็มักประทับเข้ามาอยู่ในสมองซีกนี้ เชิงสืบทอดต่อมาถึงลูกหลาน จึงเรียกว่ากรรมพันธุ์ ถือเป็นส่วนเด่นที่ติดตัวมา หรือเป็นส่วนที่สะสมไว้อยู่ก่อนแล้ว หากลูกหลานที่เกิดมานำมาใช้มากขึ้นก็จะเด่นมากขึ้น เป็นนิสัยคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าไม่ใช้เลย ส่วนเด่นเหล่านี้ก็จะด้อยลงได้ เข้าข่ายเชื่อใจในการกระทำของตัวเอง                

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เรานั้น  ปรากฏเป็นรูปธรรมติดอยู่ในสมอง  เรียกว่า   โครงสร้างสมอง     สมองเมื่อไม่ได้ถูกกระตุ้นแล้วนำมาใช้  นานวันเข้าก็จะด้อยลงไปเรื่อยๆ  และไม่ทำงาน  คือไม่สามารถดึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ขึ้นมาใช้  ต่อให้เราได้รับกรรมพันธุ์ที่มีความฉลาด  มีไอคิวสูงระดับใดก็ตาม  ถ้าเราไม่ใช้สมองคิดแก้ไขปัญหา  และไม่ลับสมองของเราอยู่เสมอ  ก็จะกลายเป็นคนที่คิดอะไรไม่เป็น  จะทำให้เป็นคนไม่มีความสามารถไปได้เช่นกัน  ตรงกันข้ามหากเราใช้มากเกินไป  โดยคิดในเรื่องร้ายและในแง่ลบ  ก็จะกลายเป็นคนมีนิสัยอารมณ์แปรปรวนได้      

ในปัจจุบัน  มีการค้นพบว่า  สมอง  สามารถจัดแบ่งออกเป็น  4  ซีก  ใหญ่ๆ  คือ 

ซีกที่หนึ่ง  อยู่บริเวณ  ซีกซ้ายด้านหน้าของสมอง  อันเป็นส่วนของ  ความนึกคิดที่เป็นเหตุ  เป็นผล  เป็นตรรกะ  

ซีกที่สอง    อยู่บริเวณ  ซีกซ้ายด้านหลังของสมอง  อันเป็นส่วนของ  ความนึกคิดที่เป็นเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อย เป็นระบบ เป็นขั้นตอน    

ซีกที่สาม  อยู่บริเวณ  ด้านขวาหลังของสมอง  ซึ่งลึกลงไปถึงระดับบริเวณสายตา  เป็นส่วนของ อารมณ์  ความรู้สึก  ความสัมพันธ์  ผูกพัน 

ซีกที่สี่  อยู่แถบบริเวณ  สมองซีกขวาด้านหน้า  เป็นส่วนของ   การรับรู้สิ่งใหม่ๆเป็นองค์รวม     เป็นจินตนาการ ในการศึกษาหากเราเข้าใจโครงสร้างของสมอง  เราก็จะรู้จักกระตุ้นหรือหมั่นฝึกพฤติกรรม   ถ้าใช้สมองของเราแต่ละซีกเป็น  จิตเราก็จะดี  แต่ถ้าเราใช้ไม่เป็น  จิตเราก็เสื่อมได้  

โรคทางจิตจึงเกิดขึ้นได้ถ้าใช้สมองในแต่ละซีกให้เด่นไปในด้านร้าย ๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

ซีกที่หนึ่ง  เป็นลักษณะของหัวคิด มีเหตุมีผล เป็นคนฉลาด แต่ถ้าใช้มากไปหรือใช้ไปในด้านลบหนักเข้าก็อาจเป็น โรคหวาดระแวง(Paranoid)   ได้            

ซีกที่สอง ซึ่งมีลักษณะหัวเก่า คือการคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ มีความอดทน ถ้าใช้มากไปใช้ผิดหลักก็อาจเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ  (Obsessive Compulsive)                              

ซีกที่สาม  เป็นศูนย์รวมของอารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ตัว เป็นลักษณะของหัวใจ เชิงเอาแต่ใจ เอาแต่อารมณ์เป็นใหญ่ ถ้าใช้ไม่ถูกหลัก ใช้มันอย่างแปรปรวนก็อาจเป็น โรคคึก   โรคคลั่งไคล้ หรือโรคซึมเศร้า (Manic-Depressive) ได้                               

ซีกที่สี่  เป็นลักษณะของคนหัวไว ที่จะทำอะไรแบบกล้าเสี่ยง กล้าลอง จากสัญชาตญาณตัวเอง เหมือนสมองเด็ก ๆ ที่อยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส อยากเสี่ยงทำ เป็นความรู้สึกไว   ถ้าใช้มันเรื่อยเปื่อยเกิดกลัวอะไรขึ้นมาก็อาจเป็น โรคตื่นตระหนก (Panic) และเกิดประสาทหลอนได้ เราจะต้องหมั่นใช้สมองทั้ง  4  ซีก  ในด้านบวกเสมอ  จะทำให้เราเป็นคนมี  ศีล  สมาธิ  สติ  และปัญญา  ซึ่งจะทำให้เราเป็นคน  อัจฉริยะ  กล้าหาญ  เฉลียวฉลาด  ปรีชาสามารถไปทุกด้าน  แต่ถ้าเราใช้ไม่เป็นอาจทำให้เราเกิดปัญหาทางกาย  ทางจิต  ทางสังคม  ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม  สุขภาพกายไม่ดี  และส่งผลกระทบต่อสังคม  ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ดีไปด้วยนั่นเอง                               

นอกไปจากนั้น  จากการอ่านศึกษาพิ่มเติมจากในบทความต่างๆพบว่า  เราควรที่จะฝึกสมองของเรา  เพื่อที่จะทำให้มีความสามารถในการคิดในเชิงระบบได้  ในที่นี้วิธีการในการที่ฝึกพัฒนาสมองให้มีการคิดอย่างเป็นระบบได้วิธีหนึ่งก็คือ   “ โยนิโสมนสิการ”

โยนิโสมนสิการ

1.  คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

2.  คิดแบบสืบสาวเหตุและปัจจัย

3.  คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

4.  คิดแบบวิภัชชวาท

5.  คิดแบบเร้าคุณธรรม

6.  คิดแบบรู้คุณค่าแท้  คุณค่าเทียม

7. คิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก

8.  คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

9.  คิดแบบสามัญลักษณ์

10. คิดแบบอริยสัจจ์ดังนั้นเมื่อศึกษาให้ลึกซึ้งและฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง  จะทำให้เราสามารถที่จะใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

ศึกษาโดย  นางสาวฐิติวรรณ  สินธุ์นอก  นักศึกษาปริญญาเอก  โครงการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทความด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ฐิติวรรณ สินธุ์นอก

อัพเดทล่าสุด