10 เหตุผลที่คนทั่วไปไม่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้


628 ผู้ชม


10 เหตุผลที่คนทั่วไปไม่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้




เท่าที่ทราบตอนนี้มีหลายหน่วยงานของไทยเรา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานราชการ ที่เริ่มมีแนวคิดและเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ในองค์การ โดยเฉพาะความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจที่จะชี้เป็นชี้ตายว่าองค์การจะเดินหน้า ถอยหลัง หรือหยุดนิ่ง เพราะความรู้ที่ติดอยู่กับตัวคนเป็นความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานนั้น มีความสำคัญอย่างมาก มิอาจที่ใครจะเข้ามาสวมแทนงานในตำแหน่งต่างๆได้ในทันที และกิจกรรมหนึ่งที่หลายองค์การอยากทำให้เกิดขึ้นให้ได้คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge sharing)  แต่ทั้งนี้การจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องตอบคำถาม ความคิด รวมไปถึงทัศนคติที่เสมือนหนึ่งเป็นกำแพงที่ขวางกั้นไม่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันให้ได้ก่อน ซึ่งถ้าข้ามผ่านอุปสรรคนี้ไปได้แล้วทุกคนก็จะเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านี้ 
  1. ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม มันมีประโยชน์อะไรนักหนา

  2. ก็ฟังดูน่าสนใจดีนะ แต่จะเริ่มต้นทำอย่างไรดีล่ะ

  3. คาดหวังจะให้เกิดอะไรขึ้น จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเราหรือ

  4. ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เสนอกันมาคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากนัก

  5. สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ของพวกเราก็ดีอยู่แล้ว น่าจะดีกว่ามานั่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  6. มีสิ่งที่สำคัญกว่าอีกมากมายหลายเรื่องที่จะต้องทำ

  7. ไม่เห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลยจากการทำสิ่งนี้

  8. พวกเราว่าเราก็กำลังทำมันอยู่แล้วนะ

  9. เราก็ได้รับรางวัลและคำยกย่องอยู่แล้วถึงแม้ไม่ได้ทำมัน

  10. เราคงสูญเสียอำนาจ และบทบาทเราคงลดน้อยลง ถ้านำสิ่งที่ตนเองรู้ไปบอกคนอื่น

           ส่วนจะตอบคำถามดังกล่าวออกมาในลักษณะใด คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละองค์การแล้ว เพราะปัจจัยแห่งความสำเร็จก็คือ วัฒนธรรม (Culture) และพฤติกรรมของคน (Behavior) ที่แตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง จะทำอย่างไรที่จะรณรงค์ส่งเสริม สร้างจิตสำนึก และปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ได้ ใครมีตัวอย่างดีๆก็นำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างก็ได้ครับ 

 

อ้างอิง KM Review, May/June 2006, 10 Reasons why people don’t share their knowledge By Stan Garfield, HP

 

โดย นาย จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว

อัพเดทล่าสุด