ประวัติวันวาเลนไทน์ วันวาเลนไทน์ภาษาอังกฤษ คุณต้องรู้ MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติวันวาเลนไทน์ วันวาเลนไทน์ภาษาอังกฤษ คุณต้องรู้


2,476 ผู้ชม

หนึ่ง : วันวาเลนไทน์ เป็นวันที่คิดอุตริขึ้นมาซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆ จากชะรีอะฮฺอิสลาม สอง : วันวาเลนไทน์เป็นวันที่นำไปสู่การแสดงความรักเชิงชู้สาวที่ไม่ถูกต้อง


ประวัติวันวาเลนไทน์ วันวาเลนไทน์ภาษาอังกฤษ คุณต้องรู้

Saint Valentine's Day, commonly shortened to Valentine's Day,[1][2][3] is an annual commemoration held on February 14 celebrating love and affection between intimate companions.[1][3] The day is named after one or more early Christian martyrs named Valentine and was established by Pope Gelasius I in 500 AD. It was deleted from the Roman calendar of saints in 1969 by Pope Paul VI, but its religious observance is still permitted. It is traditionally a day on which lovers express their love for each other by presenting flowers, offering confectionery, and sending greeting cards (known as "valentines"). The day first became associated with romantic love in the circle of Geoffrey Chaucer in the High Middle Ages, when the tradition of courtly love flourished.

Modern Valentine's Day symbols include the heart-shaped outline, doves, and the figure of the winged Cupid. Since the 19th century, handwritten valentines have largely given way to mass-produced greeting cards.[4]

อ่านทั้งหมด https://en.wikipedia.org/wiki/Valentine%27s_Day

อิหร่านประกาศชัดห้ามสินค้าหรือของขวัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ Valentine’s Day อิหร่านห้ามขายหรือโฆษณาสินค้าหรือขวัญที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ออกจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นวัฒนธรรมของตะวันตกนั้นเอง 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ ตามวัฒนธรรมตะวันตก วันดังกล่าวเป็นวันแห่งการแสดงความรัก ประเทศอิหร่านให้เหตุผลตามกฏหมายอิสลาม ไม่อนุญาตให้ชาย-หญิงอยู่ร่วมกันได้ หากยังไม่ได้แต่งงาน

โปสเตอร์ การ์ด กล่อง หรือของขวัญต่างๆที่แสดงสัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจ หรือรวมไปถึงดอกกุหลายสีแสดง เป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด วันวาเลนไทน์กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในอิหร่าน ส่วนมากแล้วจะเป็นกลุ่มเยาวชนและวัยทำงานที่อายุน้อยกว่า 30 ปี

Source: www.islammore.com
บรรดาอุละมาอ์ได้ให้คำวินิจฉัยว่าการมีส่วนร่วมในวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ว่ามีหุก่มหะรอม ไม่อนุญาต
เชคอิบนุ อุษัยมีน
            มีผู้ถามท่านเชคอิบนุ อุษัยมีน ว่า : ในช่วงหลังๆนี้ การมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์ได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดย เฉพาะในหมู่นักศึกษาหญิง วันดังกล่าวเป็นวันอีด(วันรื่นเริง)วันหนึ่งของชาวคริสต์ ซึ่งมีการประดับประดาด้วยสีแดง ทั้งเสื้อผ้าและรองเท้า มีการแลกเปลี่ยนดอกกุหลาบสีแดงแก่กันและกัน ขอให้ท่านช่วยอธิบายหุก่มการเข้าร่วมในวันดังกล่าวนี้ และท่านจะชี้แนะเช่นไรกับบรรดามุสลิมในเรื่องนี้? ขออัลลอฮฺทรงปกป้องและดูแลท่าน
     ท่านตอบว่า : ไม่อนุญาตให้มีการเข้าร่วมในวันวาเลนไทน์ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังต่อไปนี้
หนึ่ง : วันวาเลนไทน์ เป็นวันที่คิดอุตริขึ้นมาซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆ จากชะรีอะฮฺอิสลาม
สอง : วันวาเลนไทน์เป็นวันที่นำไปสู่การแสดงความรักเชิงชู้สาวที่ไม่ถูกต้อง
สาม : วันวาเลนไทน์เป็นวันที่ทำให้จิตใจหมกมุ่นกับสิ่งไร้สาระที่ขัดกับแนวทางของบรรพชนอิสลามรุ่นแรก
            เพราะเหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมแสดงออกในวันวาเลนไทน์ด้วยสิ่งที่บ่งบอก ถึงสัญลักษณ์ของวันดังกล่าว แม้จะเป็นอาหารการกิน เครื่องดื่มต่างๆ เสื้อผ้า การแลกเปลี่ยนของขวัญและอื่นๆ มุสลิมควรที่ต้องเข้มแข็งและภูมิใจในศาสนาอิสลาม และไม่ควรที่จะคล้อยตามกระแสของวัฒนธรรมอื่นๆ เราขอพรต่อเอกองค์อัลลอฮฺเพื่อทรงปกป้องมุสลิมทุกคนจากฟิตนะฮฺต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดเจนและสิ่งที่มองไม่เห็น และขอให้พระองค์ทรงดูแลด้วยทางนำของพระองค์”
(มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา อัชชีค อิบนิ อุษัยมีน เล่มที่  16 หน้าที่ 199)
หน่วยงานเพื่อการฟัตวาแห่งราชอาณาจักรซาอุดี
                 มีคำถามถึงหน่วยงานเพื่อการฟัตวาแห่งราชอาณาจักรซาอุดีว่า : มีบางคนได้เข้ามีส่วนร่วมในวันที่สิบสี่ของเดือนกุมภาพันธุ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ พวกเขาได้แสดงออกถึงความรักที่มีต่อกันด้วยสีแดง มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีแดง มีการขอพรซึ่งกันและกัน มีร้านค้าจัดของหวานด้วยสีแดงและตกแต่งประดับด้วยรูปหัวใจ และบางร้านมีการจัดสินค้าด้วยสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวันดังกล่าว ท่านจะให้ความเห็นเช่นไรกับเรื่องนี้ ? 

หนึ่ง : การเข้าร่วมในวันวาเลนไทน์มีหุก่มเช่นไร ?
สอง : การซื้อสิ่งของจากร้านที่จัดตกแต่งสินค้าด้วยสัญลักษณ์ด้วยวันวาเลนไทน์ดังกล่าวมีหุก่มอย่างไร?
สาม : และการขายสินค้าของเจ้าของร้าน(ที่ไม่ได้เข้าร่วมในพิธีหรืองานวาเลนไทน์ดัง กล่าว)แก่ผู้ที่ต้องการร่วมในวันดังกล่าวด้วยสินค้าที่ใช้เป็นของขวัญในวัน นั้น จะได้หรือไม่?
            ทางหน่วยงานได้ให้คำตอบว่า :
          หลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺได้ชี้ชัดตรงนี้อย่างชัดเจน และบรรดาอุละมาอ์สะลัฟมีความเห็นตรงกันว่า อีด(วันรื่นเริง)ในอิสลามนั้นมีเพียงสองครั้งเท่านั้น นั่นก็คืออีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎฮา และวันอีดที่นอกเหนือจากนั้น แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล กลุ่มคน เหตุการณ์ หรืออาจจะอยู่ในความหมายใดๆ ก็ตาม อีดเหล่านั้นถือว่า เป็นสิ่งอุตริ(บิดอะฮฺ)ขึ้นมาใหม่ในอิสลาม ไม่อนุญาตให้ชาวมุสลิมคนใดร่วมปฏิบัติ หรือเห็นด้วย หรือแสดงออกถึงความพึงพอใจ หรือให้ความช่วยเหลือด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการละเมิดขอบเขตบัญญัติของอัลลอฮฺ ใครผู้ใดก็ตามที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลอฮฺเขาผู้นั้นคือผู้อธรรมต่อตัวเขาเอง
          และหากว่าวันรื่นเริงที่อุตริขึ้นมาดังกล่าวยังเป็นวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่ มุสลิมด้วยแล้ว การกระทำเช่นนั้นเป็นการกระทำบาปหนึ่งบนอีกบาปหนึ่งด้วย เพราะการเข้าร่วมในวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิมแสดงถึงการทำตัวคล้ายกับ พวกเขาและเข้าข่ายการให้ความรักแก่พวกเขา(มุวาลาฮฺ) ซึ่งอัลลอฮฺได้ห้ามบรรดาผู้ศรัทธาในการทำตัวเหมือนผู้ปฏิเสธศรัทธาและการให้ ความรักแก่พวกเขาในอัลกุรอาน และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้กล่าวห้ามความว่า "ใครก็ตามที่ทำตัวเหมือนกับพวกหนึ่ง เขาก็คือพวกนั้น"
            วันวาเลนไทน์ก็เป็นวันหนึ่งที่เข้าข่ายในสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะวันวาเลนไทน์ก็เป็นวันรื่นเริงวันหนึ่งของชาวคริสต์ เพราะฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺที่จะ จัดงาน เห็นดีเห็นงาม หรือให้การอวยพรให้แก่กันในวันดังกล่าว
          เพราะฉะนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องหลีกห่างเพื่อแสดงถึงการรับคำสั่ง ของอัลลอฮฺและท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  และห่างไกลจากความกริ้วโกรธและการลงโทษของพระองค์ และเช่นกัน ห้ามสำหรับมุสลิมให้การช่วยเหลือในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ และวันรื่นเริงอื่นๆด้วยสิ่งใดก็ตามทั้งที่เกี่ยวกับการกิน การดื่ม การซื้อขาย การผลิต ของขวัญ การฝากส่ง การประกาศ และอื่นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เข้าข่ายให้การช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นบาปและละเมิด และเป็นการทำผิดต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ตรัสสอนว่า
«وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُواْ اللّهَ إِنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ» (المائدة : 2)
ความว่า “และจงหยิบยื่นช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสิ่งที่ดีและในความยำเกรง(ต่ออัล ลอฮฺ) และอย่าได้ช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นบาปและการเป็นศัตรูกัน และพวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ แท้ที่จริงแล้วอัลลอฮฺเป็นผู้ลงโทษที่หนักหน่วงยิ่ง” (อัลมาอิดะฮฺ : 2)
 
                เพราะฉะนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุ รอานและซุนนะฮฺของท่านนะบีในทุกอิริยาบท โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยฟิตนะฮฺและความเสื่อมทรามได้แพร่กระจายไป ทุกหนแห่ง มุสลิมจำเป็นที่จะต้องคิดอย่างชาญฉลาดและรอบคอบยิ่งเพื่อมิให้ตกอยู่ในความหลงผิดเหมือนพวกที่อัลลอฮฺทรงกริ้วหรือพวกที่หลงทาง ซึ่งพวกเขาไม่ได้หวังให้เกียรติแก่อัลลอฮฺ และไม่ได้ต้องการยกย่องอิสลาม
          มุสลิมจำเป็นที่จะต้องหันหน้าไปหาอัลลอฮฺเพื่อขอทางนำจากพระองค์และให้ยึด มั่นในหนทางดังกล่าว เพราะหามีสิ่งใดอื่นอีกแล้วที่จะชี้ทางที่ถูกต้องและเที่ยงตรง และไม่มีใครให้ความมั่นคงแน่วแน่นอกจากพระองค์ ... และด้วยพระองค์เท่านั้นที่จะได้มาซึ่งเตาฟีก ขอพรและความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัด ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทุกคน"
 
เชค อิบนุ ญิบรีน
            ได้มีการถามเชค อิบนุ ญิบรีน ว่า : มีการจัดงานกันอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่นมุสลิมทั้งชายและหญิงในวันที่มี ชื่อว่า วันแห่งความรักหรือที่เรียกว่า วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นชื่อของนักบวชในศาสนาคริสต์ผู้หนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวัฒนธรรมของชาวคริสต์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในวันนั้นจะมีการมอบดอกไม้เป็นของขวัญ มีการตกแต่งประดับประดาด้วยสีแดง และมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีแดง การเฉลิมฉลองและการมอบของขวัญรวมถึงการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในวันดัง กล่าวนั้นมีหุก่มเช่นไร ?                 
ท่านได้ตอบว่า :
     หนึ่ง : ไม่อนุญาตให้มีการเฉลิมฉลองในวันเช่นดังกล่าวนี้ เพราะวันดังกล่าวเป็นวันรื่นเริงที่ถือว่าเป็นบิดอะฮฺอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ต้นแบบที่มาจากหลักฐานทางชะรีอะฮฺอิสลาม สิ่งดังกล่าวนี้จึงเข้าข่ายในความหมายของหะดีษอาอิชะฮฺ ที่อ้างถึงคำกล่าวของนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ได้กล่าว
ควาามว่า "ใครผู้ใดที่คิดอุตริในสิ่งที่เกี่ยวกับศาสนาของเรา แต่มันมิได้มาจากศาสนาของเราแต่อย่างใดแล้ว สิ่งนั้นย่อมไม่ถูกยอมรับ”
     สอง : การเฉลิมฉลองในวันวาเลนไทน์ เป็นการเลียนแบบและปฏิบัติตามผู้ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งเป็นการยกย่องเทิดทูนในสิ่งที่พวกเขาได้ให้การเทิดทูน และเป็นการให้เกียรติแก่วันรื่นเริงและวัฒนธรรมประเพณีของพวกเขา และเป็นการเจริญรอยตามวิถีทางของพวกเขาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนา มีการเตือนในหะดีษ ความว่า
“ใครผู้ใดได้เจริญรอยตามกลุ่มชนใด เขาผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งของกลุ่มชนนั้น”          
      สาม : สิ่งไม่ดีไม่งามและสิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลได้ห้ามปรามที่จะเกิดขึ้นตามมา หลังจากนั้นอีก เช่น การละเล่นรื่นเริง การร้องรำทำเพลง ความสนุกสนามรื่นเริงไร้ขอบเขต การโอ้อวด การปะปนกันระหว่างชายหญิง โอ้อวดความงาม การโชว์ตัวของสตรีต่อหน้าผู้ชายที่ไม่อนุญาตโดยศาสนา และไม่ถูกต้องถ้าจะอ้างว่านี่เป็นการผ่อนคลายหรือบันเทิงที่อยู่ในขอบเขต มีการควบคุมไม่ให้ทำสิ่งที่ผิด การอ้างนี้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่สำนึกในตัวเองจำเป็นต้องห่างไกลจากบาปและสิ่งที่จะนำไปสู่บาป นั้น
             
     ท่านยังได้เสริมอีกว่า
          “และ ไม่อนุญาตให้มีการขายสินค้าใดๆ ที่ใช้ทำเป็นของขวัญและใช้ตกแต่งประดับประดา เมื่อรู้ว่า ผู้ซื้อต้องการใช้สิ่งดังกล่าวเพื่อใช้ในงานและทำเป็นของขวัญจากสิ่งดัง กล่าวหรือใช้เพื่อเทิดทูนวันดังกล่าว เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านดังกล่าวต้องตกเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับผู้ที่ทำบิดอะ ฮฺดังกล่าวด้วย”

https://www.mureed.com/article/valentine.htm


เรามาดูประวัติวันวาเลนไทน์ (แบบที่ 1) (ข้อมูลจาก zabzaa.com)
          กำเนิดวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุด เพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโน่ผู้เป็นจักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอิสตรีเพศและการแต่งงาน และในวันถัดมา คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาลเฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม มีขนบธรรมเนียมอย่างหนึ่งของชายหนุ่มก็คือ การจับฉลาก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ชื่อของเด็กสาวจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษและใส่ลงในไห ชายหนุ่มแต่ละคนจะจับฉลากเพื่อเลือกคู่ในเทศกาลเฉลิมฉลองนี้ บ่อยครั้งที่หนุ่มสาวต่างถูกใจกัน และแต่งงานกันในเวลาต่อมา
          ในรัชสมัยของจักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 แห่งโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้าย และทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วมในกองทัพ เนื่องมาจาก ไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโองการสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้นเอง พระรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งอาศัยอยู่ในโทรม ได้ร่วมมือกับเซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้ท่านถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270 ซึ่งตรงกับเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ตามประเพณีโบราณพอดี ณ โอกาสนี้เอง กลุ่มคนนอกศาสนาได้รื้อฟื้นประเพณีจับฉลากขึ้นมาใหม่ โดยชายหนุ่มจะเป็นผู้เขียนชื่อหญิงสาวลงไปด้วยตัวเอง ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรัก และดูเหมือนว่ายังคงเป็นธรรมเนียม ที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติวันวาเลนไทน์ (แบบที่ 2)
         วาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึง นักบุญเซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ความรัก และความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือเมื่อประมาณ 1,728 ปีล่วงเลยมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคสมัยของจักรวรรดิโรมันที่ศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ซํ้าร้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์ "คลอดิอุสที่ 2" ผู้ออกกฎหมายบีบบังคับให้ประชาชนเลิกนับถือ และห้ามให้มีแต่งงานของพวกคริสเตียนเกิดขึ้น แต่ยังคงมีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ "วาเลนตินัส" หรือที่ได้รับการยกย่องเป็น เซนต์วาเลนไทน์ ในภายหลัง คอยลักลอบแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและรับโทษทรมาน แสนสาหัสอยู่ในคุก
ในขณะที่ถูกคุมขังนั้น เขาก็พบรักกับสาวตาบอด ซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในคุก ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของสาวคนรักหายเป็นปกติ เมื่อความนี้ล่วงรู้ถึงหูกษัตริย์คลอดิอุสที่ 2 พระองค์จึงสั่งให้ลงโทษ วาเลนตินัส ด้วยการโบยและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น ได้เขียนจดหมายสั้น ๆ เป็นการอำลาส่งไปให้หญิงคนรักของเขา โดยลงท้ายในจดหมายว่า
"...จากวาเลนไทน์ของเธอ (Love From Your Valentine)"

ต่อมาเมื่อคนทั่วไปทราบเรื่องราวจึงเกิดความประทับใจในความรักของเขา ยึดถือเอาวันที่14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันแห่งความรัก" Saint Valentine's Day หรือ Valentine'sDay และได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรป อเมริกา รวมทั้งในทวีปเอเชียด้วย

อัพเดทล่าสุด