มุสลิมผู้วางรากฐานคณิตศาสตร์ Muslim Founders of Mathematics แปลโดย ลานา อัมรีล มุสลิมผู้วางรากฐานคณิตศาสตร์:Muslim Founders of Mathematics ช่วงศตวรรษที่ 7-13 เป็นยุคทองของศิลปวิทยาการมุสลิม โดยเฉพาะในด้านคณิตศาสตร์ที่มุสลิมมีบทบาทอย่างสูง พวกขาคิดค้นระบบจุดทศนิยมและสูตรพื้นฐานของคณิตศาสตร์ทั้งการบวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง และถอดราก นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังเป็นผู้คิดค้นเลขศูนย์ (0) ขึ้นมา ยอดนักคณิตศาสตร์มุสลิม ได้แก่: อัล-ควาริศมี (ค.ศ.780-850)
เป็น “บิดาแห่งพีชคณิต” เขาเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้อง คอลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (Al-Ma’Mun ค.ศ.786-833) เป็นผู้เรียกตัวเขาเข้าแบกแดด แล้วแต่งตั้งให้เป็นนักดาราศาสตร์แห่งราชสำนัก คำว่า “อัลจีบรา” (Algebra พีชคณิต) มาจากชื่อตำราคณิตศาสตร์เล่มโด่งดังของอัล-ควาริศมี ‘ฮิซาบ อัล-จับบัร วาอัล-มุฆบาลา’ (Hisab Al-Jabr Mugabalah หรือ Book of Calculations, Restoration, and Reduction) ตำราคณิตศาสตร์ฉบับแปลภาษาละตินของเขาเล่มนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ.1857 ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า ‘Algoritimi de Numero Indorum’ หน้าแรกของหนังสือเขียนว่า “อัลกอริธมีกล่าวว่า มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เรา” (Spoken has Algoritimi. Let us give deserved praise to God, our Leader, and Defender) ซึ่งคาดว่าในฉบับภาษาอาหรับอัล-ควาริศมีได้เริ่มหน้าแรกของหนังสือเพียงว่า “บิสมิลลาฮิรฺรอฮฺมานิรฺรอฮีม” แปลว่า “มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เรา” ซึ่งเป็นคำกล่าวของมุสลิมทุกคนเมื่อเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อชาวคริสเตียนแปลหนังสือออกมา ย่อมต้องบอกว่าอัล-ควาริศมีเป็นผู้กล่าวคำสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของชาวมุสลิม ไม่ใช่ตนเป็นคนกล่าว อัลควาริศมีทิ้งชื่อของเขาไว้ในโลกคณิตศาสตร์คือคำว่า ‘อัลกอริธึม’ (Algorism) ซึ่งเป็นชื่อเก่าของคำว่า‘arithmatic’ หรือ ‘เลขคณิต’ อัล-ควาริศมีเน้นว่าเขาเขียนตำราพีชคณิตเพื่อประโยชน์ของผู้คนในด้านการคำนวณมรดก คดีความ และด้านการค้า ในศตวรรษที่ 12 เจอราดแห่งครีโมนา (Gerard of Cremona) และโรเบิร์ตแห่งเชสเตอร์ (Roberts of Chester) แปลตำราพีชคณิตของอัล-ควาริศมีเป็นภาษาละติน นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกใช้ตำรานี้กันจนหระทั่งศตวรรษที่ 16 เชื่อกันว่าอัล-ควาริศมีเกิดในปีค.ศ.780 ที่เมือง Kath ในโอเอซิสแห่ง Khorzen ปัจจุบันเมือง Kath ถูกฝังใต้แผ่นดินไปแล้ว อัล-คินดี “อัลคินดุซ” (ค.ศ.801-873)
เกิดในปี 801 ที่เมืองคูฟา ช่วงที่พ่อเขาดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง นามสกุลของเขาบ่งชี้ว่าอัล-คินดีสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์คินดาฮ์แห่งเยเมน อัล-คินดีถูกเรียกว่า ‘ฟัยลาซุฟ อัล-อาหรับ’ หรือ ‘นักปรัชญาอาหรับ’ คนแรกในอิสลาม เขาเขียนตำราคณิตศาสตร์ 11 เล่มเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนและการวิเคราะห์ตัวเลข อัล-การาจี หรือ อัล-การ์คกี (ค.ศ. 953-1029)
เขาเกิดในเมืองการ์ค (Kharkh) ชานกรุงแบกแดด งานเขียนของเขามีทั้งเลขคณิต พีชคณิต และเรขาคณิต หนังสือ Al-Kafi fi'l-hisab หรือ Sufficient on calculation อัล-การาจีเขียนเกี่ยวกับเลขคณิต ถูกแปลเป็นภาษาเยอรมันโดย Ad. Hochheim ส่วนตำราเล่มที่สอง Al-Fakhri fi'l-jabr wa'l-muqabalaหรือ Glorious on algebra เป็นหนังสือด้านพีชคณิตซึ่งเขาเขียนถวายกาหลิบแห่งแบกแดด อัล-การาจีตั้งชื่อหนังสือจากชื่อเพื่อนของเขาซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีของแบกแดดในขณะนั้น อัล-บัตตานี (ค.ศ.850-929)
เขาเป็น “บิดาแห่งตรีโกณมิติ” เกิดที่เมืองฮาราน (Harran) ใกล้อุรฟา เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี)และเสียชีวิตในปี 929 ที่เมืองดามัสกัส ซีเรีย เขาถือเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิม เขาเป็นผู้ยกระดับศาสตร์ด้านตรีโกณมิติให้มีสถานะสูงขึ้น และเป็นคนแรกที่คำนวณตาราง cot (cotangent) อัล-ไบรูนี (ค.ศ.973-1050)
อัล-ไบรูนีเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่วางรากฐานตรีโกณมิติสมัยใหม่ เป็นทั้งนักปรัชญา นักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ อัล-ไบรูนีบอกว่าโลกหมุนรอบแกนของตัวเองก่อนหน้ากาลิเลโอ (Galileo Galilei ค.ศ.1564–1642, นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องชาวอิตาเลียน) จะค้นพบถึง 600 ปี อัล-ไบรูนีคำนวณวัดพื้นผิวโลก และคำนวณเส้นรอบวงของโลกด้วยวิธีที่บ่งถึงอัจฉริยภาพ เขาคำนวณค่าเส้นรอบวงของโลกได้ 6,339.9 กม. น้อยกว่าค่าที่เราหาได้ในปัจจุบัน (6,356.7 กม.) เพียง 16.8 กม.เท่านั้น!!! เขาสามารถคำนวณหาทิศกิบลัตได้จากทุกเมืองทั่วโลกโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย นักคณิตศาสตร์มุสลิมโดดเด่นด้านตรีโกณมิติ สูตรของฟังก์ชันต่างๆ ทั้งซายน์ (sine) โคซายน์ (cosine) และแทนเจน (Tangent) ได้รับการพัฒนาโดยนักคณิตศาสตร์มุสลิมในช่วงศตวรรษที่ 10 นอกจากนี้แล้ว นักคณิตศาสตร์มุสลิมยังศึกษาอย่างหนักในการพัฒนาตรีโกณมิติแบบพื้นผิวเรียบและพื้นผิวโค้ง และแม้ตรีโกณมิติของชาวมุสลิมจะมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของปโตเลมี แต่พวกเขาพัฒนาจนเหนือกว่า โดยเฉพาะสองด้านเด่นๆ คือ ชาวมุสลิมใช้ฟังก์ชัน sine แทน chord และใช้พีชคณิตแทนเรขาคณิต. ที่มา: https://www.muslimheritage.com/topics/default.cfm?ArticleID=359 (ต้นฉบัับ) : https://www.oknation.net/blog/print.php?id=263622 (ฉบับแปล) |