เจ้าสาวบำเรอรัก ในโอมาน เปลี่ยนสินสอดจากทองเป็นอสังหาริมทรัพย์


930 ผู้ชม

ปัจจุบันเจ้าสาวในประเทศโอมาน นิยมใช้เงินสินสอดในการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ เปลี่ยนจากสมัยก่อนที่นิยมนำไปซื้อทอง ซึ่งเงินของขวัญสำหรับเจ้าสาวในโอมาน อาจมีจำนวนสูงถึง 39,000 ดอลล่าร์


สำนักข่าวมุสลิมไทย  เจ้าสาวในโอมาน เปลี่ยนสินสอดจากทองเป็นอสังหาริมทรัพย์

อัล-อาราบิญา – มีรายงานที่เปิดเผยเมื่อวันพฤหัส (07/10) ระบุว่า ปัจจุบันเจ้าสาวในประเทศโอมาน นิยมใช้เงินสินสอดในการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ เปลี่ยนจากสมัยก่อนที่นิยมนำไปซื้อทอง ซึ่งเงินของขวัญสำหรับเจ้าสาวในโอมาน อาจมีจำนวนสูงถึง 39,000 ดอลล่าร์

เจ้าสาวบำเรอรัก ในโอมาน เปลี่ยนสินสอดจากทองเป็นอสังหาริมทรัพย์


พนักงานฝ่ายจำนองอสังหาริมทรัพย์ของธนาคาร Oman Arab เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จำนวนสตรีวัยทำงานที่ขอสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 12 % เป็น 33 % ของจำนวนผู้ขอสินเชื่อทั้งหมด โดยตัวเลขดังกล่าวเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา
ผู้ที่สนับสนุนแนวนิยมนี้กล่าวว่า เป็นการลงทุนที่ฉลาด เพราะจะเป็นหลักประกันในอนาคตหากการแต่งงานต้องล้มเหลวลง แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอาจจะเป็นเจ้าของธุรกิจค้าทอง เพราะมีการแสดงทัศนะว่าเป็นการทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวโอมาน และลดทอนบทบาทของสามี
นักวิจารณ์กล่าวว่า แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ในสังคมโดยสตรีที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก  และได้รับการสนับสนุนให้มีความคิดอิสระในด้านการลงทุนจากครอบครัว ยกตัวอย่าง อะมีนา อัล-มุคัยบิลี เจ้าสาวหมาดๆ วัย 26 ปี ที่ได้รับเงินของขวัญแต่งงานจำนวนถึง 21,295 ดอลล่าร์ เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซ้าแธมตั้น ประเทศอังกฤษ และทำงานอยู่แผนกบัญชีในรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า ซึ่งกล่าวว่า ในวันแต่งงาน เจ้าสาวยิ่งใส่ทองมาก ก็แสดงให้เห็นถึงเงินของขวัญที่มีจำนวนมาก แต่นั่นก็ไม่ได้มีความหมายอะไรนอกจากการอวดกันในวันแต่งงาน ซึ่งเธอเลือกจะนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นมากกว่า
ฟัตมา  ฟัลลาฮี ที่ปรึกษาด้านการแต่งงานวัย 75 ปี กล่าวว่า ปัจจุบันสาวๆ ในกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับกระตือรือร้นที่จะมีทรัพย์สินในชื่อของตัวเอง ซึ่งพวกเธอจะรู้สึกถึงความมั่นคง ต่างกับสมัยของมารดาซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้ เนื่องจากทรัพย์สินจะเป็นชื่อของบิดาทั้งหมด
นาบิลา อัล-เรซี่ ครูโรงเรียนมัธยมวัย 31 ปี กล่าวว่า ผู้หญิงโอมานจะถูกเขี่ยออกจากบ้านเมื่อถูกหย่า แต่หากเธอมีกรรมสิทธิ์ในบ้าน เรื่องเช่นนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้น และการต้องผ่อนบ้านก็สามารถใช้เป็นข้ออ้าง ที่จะทำงานในอาชีพเดิมต่อไปได้ด้วย
ในกรณีของประเทศอาหรับทั่วๆ ไป หากมีการหย่าร้างกันเกิดขึ้น ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายออกจากบ้านที่เป็นของอดีตสามี แต่ในบางกรณีการหย่าร้างต้องคาราคาซัง เนื่องจากทั้งสามี และภรรยา ยังถกเถียงกันในเรื่องความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ชี้คมูซา อัล-อัจมิ ผู้นำเผ่าหนึ่งใน Muscat กล่าวว่า สามีเปรียบเสมือนกัปตันเรือ หากภรรยาปฏิเสธในภาวะผู้นำของเขา เรือก็อาจจะล่มหรือล่องลอยไปอย่างไร้ทิศทาง  - www.muslimthai.com

อัพเดทล่าสุด