|
คำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. พระบรมวงศานุวงศ์ 3. พระสงฆ์ 4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง 5. สุภาพชนทั่วไป
คำราชาศัพท์แบ่งได้ 6 หมวด คือ 1. หมวดร่างกาย 2. หมวดเครือญาติ 3. หมวดเครื่องใช้ 4. หมวดกริยา 5. หมวดสรรพนาม 6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์ หมวดร่างกาย
หมวดเครือญาติ
หมวดเครื่องใช้
หมวดคำกริยา
หมวดสรรพนาม
หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
คำสุภาพ คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน
ข้อสังเกต เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ คำนาม 1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมมหาราชวัง พระบรมวงศานุวงศ์ 2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง พระราชลัญจกร พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชทรัพย์ 3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง พระเก้าอี้ พระชะตา พระโรค พระตำหนัก 4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ยกเว้น
คำกริยา
กริยา คำว่า “ทรง” คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม ทรงโค หมายถึง พระอิศวร ทรงครุฑ หมายถึง พระนารายณ์ คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์ ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร หมายถึง ใส่บาตร ทรงม้า หมายถึง ขี่ม้า ทรงกรม หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น” • ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ • ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์ |
ข้อมูลที่มา /www.trueplookpanya.com