คําราชาศัพท์หมายถึงอะไร ค้นหาคําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ต่างๆ เข้าใจง่าย มีที่เดียว


13,141 ผู้ชม


ความหมายของคำราชาศัพท์

        คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน

        บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำใน สังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เ ป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่ โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด

        ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น

        บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์

        และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  2. สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
  3. สมเด็จเจ้าฟ้า
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  6. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  7. หม่อมเจ้า

มูลเหตุที่ทำให้เกิดมีคำราชาศัพท์

        คือ ต้องการยกย่องให้เกียรติดังนั้นการศึกษาเรื่องคำราชศัพท์ นี้ จึงแบ่งเป็น 2 ตอน ใหญ่ๆคือ ตอนที่ 1 ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตอนที่ 2 ศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์

ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์

  • คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น
  • คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำ“พระราช” เช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร เป็นต้น
  • คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำบาลี สันสกฤต เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ “พระ” เช่น พระกร พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็นคำประสม มีคำ “พระ” ประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ “พระ” นำหน้าซ้อนอีก เช่น พานพระศรี (พานหมาก) ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
  • คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า “ต้น” เช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย “หลวง” เช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า “ต้น” และ “หลวง” ประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น

ศัพท์สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า

  • ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัlส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น
  • ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น
  • คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ

 คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม

คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์
หัว(พระมหากษัตริย์) พระเจ้า หัว พระเศียร
ผม(พระมหากษัตริย์) เส้นพระเจ้า ผม พระเกศา,พระเกศ,พระศก
หน้าผาก พระนลาฎ คิว พระขนง,พระภมู
ขนระหว่างคิว พระอุณาโลม ดวงตา พระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร
จมูก พระนาสา,พระนาสิก แก้ม พระปราง
ปาก พระโอษฐ์ ฟัน พระทนต์
ลิ้น พระชิวหา คาง พระหนุ
หู พระกรรณ คอ พระศอ
ดวงตา พระเนตร หนวด พระมัสสุ
บ่า,ไหล่ พระอังสา ต้นแขน พระพาหา,พระพาหุ
ปลายแขน พระกร มือ พระหัตถ์
นิ้วมือ พระองคุลี เล็บ พระนขา
ห้อง พระอุทร เอว พระกฤษฎี,บั้นพระเอว
ขา,ตัก พระเพลา แข้ง พระชงฆ์
เท้า พระบาท ขน พระโลมา
ปอด พระปัปผาสะ กระดูก พระอัฐิ
หมวดขัตติยตระกูล
คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์
ปู่,ตา พระอัยกา ย่า,ยาย พระอัยยิกา,พระอัยกี
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อ พระปิตุลา ป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ) พระมาตุจฉา
พ่อ พระชนก,พระบิดา แม่ พระชนนี,พระมารดา
พี่ชาย พระเชษฐา,พระเชษฐภาตา น้องสาว พระราชธิดา,พระธิดา
หลาน พระนัดดา แหลน พระปนัดดา
ลูกเขย พระชามาดา ลูกสะใภ้ พระสุณิสา
หมวดเครื่องใช้
คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์
ยา พระโอสถ แว่นตา ฉลองพระเนตร หวี พระสาง
กระจก พระฉาย น้ำหอม พระสุคนธ์ หมวก พระมาลา
ตุ้มหู พระกุณฑล แหวน พระธำมรงค์ ร่ม พระกลด
ประตู พระทวาร หน้าต่าง พระบัญชร อาวุธ พระแสง
ฟูก พระบรรจถรณ์ เตียงนอน พระแท่นบรรทม มุ้ง พระวิสูตร
ผ้าห่มนอน ผ้าคลุมบรรทม ผ้านุ่ง พระภูษาทรง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าชับพระพักตร์
น้ำ พระสุธารส เหล้า น้ำจัณฑ์ ของกิน เครื่อง
ช้อน พระหัตถ์ ช้อน ข้าว พระกระยาเสวย หมาก พระศรี

คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม

บุรุษที่ 1
สรรพนาม ผู้พูด ผู้ฟัง
ข้าพระพุทธเจ้า บุคคลทั่วไป พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
เกล้ากระหม่อมฉัน บุคคลทั่วไป(หญิง) เจ้านายชั้นรองลงมา
เกล้ากระหม่อม บุคคลทั่วไป(ชาย)
เกล้ากระผม บุคคลทั่วไป
บุรุษที่ 2
สรรพนาม ผู้พูด ผู้ฟัง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถ
ใต้ฝ่าละอองพระบาท เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป พระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาท เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป เจ้านายชั้นสูง
ฝ่าพระบาท เจ้านายที่เสมอกันเหรือผู้น้อย เจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ
บุรุษที่ 3
สรรพนาม ผู้พูด ใช้กับ
พระองค์ บุคคลทั่วไป พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
ท่าน บุคคลทั่วไป เจ้านาย

คำขานรับ

คำ ผุ้ใช้ ใช้กับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ชาย พระมหากษัตริย์
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะ หญิง พะมหากษัตริย์
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้า ชาย เจ้านายชั้นสูง
เพค่ะกระหม่อม หญิง เจ้านายชั้นสูง

www.panyathai.or.th

อัพเดทล่าสุด