การส่งสารด้วยการอ่าน เป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง เป็นวิธีการส่งสารที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งในครอบครัว ที่ทำงานและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
การส่งสารด้วยการอ่าน
การส่งสารด้วยการอ่าน
การส่งสารด้วยการอ่าน เป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง เป็นวิธีการส่งสารที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งในครอบครัว ที่ทำงานและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาสมรรถภาพในการอ่านด้วย ปัจจัยสำคัญในการอ่านมีดังนี้
1. ความเข้าใจสารในบทอ่าน
ศึกษาความหมายของคำ กลุ่มคำ และสำนวนในบทอ่านให้เข้าใจ โดยดูบริบทที่แวดล้อมคำ หรือข้อความนั้น
ศึกษาความหมายของคำ กลุ่มคำ หรือข้อความที่อ่านแล้วแยกกลุ่มคำหรือแบ่งจังหวะการอ่านให้ถูกต้อง เพื่อให้การสื่อความหมายตรงตามเจตนาของสารนั้น
2. ความพร้อมทั้งกายและใจ สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แย็งแรง และจิตใจที่เข้มแข็ง แจ่มใสร่าเริง ไม่ตื่นเต้นหวั่นไหว จะส่งผลให้การอ่านมีประสิทธิภาพ
3. การทรงตัวและการใช้กิริยาอาการ กิริยาท่าทางที่เหมาะสมถูกต้อง จะช่วยให้กล้มเนื้อทำงานประสานกัน เปล่งเสียงได้ดี มีท่วงทีเหมาะสม น่าเชื่อถือ
4. การใช้เสียง การฝึกทักษะการใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพ มีหลักดังนี้
การใช้เสียง
- อัตราเร็วในการเปล่งเสียง ไม่ควรเร็วหรือช้าเกินไป
- ความดังในการเปล่งเสียง พอเหมาะกับกลุ่มคนฟัง
- ระดับเสียง ปรับให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละคน และเหมาะสมในสถานการณ์
- คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอวัยวะในการเปล่งเสียงและเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล
การอ่านข้อความให้น่าฟัง ผู้อ่านจะต้องเข้าใจสารอย่างถูกต้องเพื่อปรับกิริยาอาการให้สอดคล้องกับความ หมายได้กลมกลืน และออกเสียงคำทุกคำได้ถูกต้องชัดเจน บุคคลจะเข้าใจความหมายของสารในบทอ่านได้แจ่มแจ้งมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของบทอ่านนั้นรวมกับความรู้ความชำนาญ และไหวพริบของผู้อ่านประกอบด้วย ดังนั้นผู้ที่จะอ่านจะต้องมีการเตรียมตัวด้วยการอ่านและทำความเข้าใจสารในบท อ่านก่อนเสมอ
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.