การป้องกันโรคตาแดง แนะ การ รักษาโรคตาแดง และ วิธีแก้โรคตาแดง !!


4,769 ผู้ชม

โรคตา แดงจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น การอักเสบเกิดขึ้นกับเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมทั้งเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว


การป้องกันโรคตาแดง แนะ การ รักษาโรคตาแดง และ วิธีแก้โรคตาแดง !!    
โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น การอักเสบเกิดขึ้นกับเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมทั้งเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว
โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญได้แก่ adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน และที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อ โดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ สระว่ายน้ำ
โรคตาแดงเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติด ที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน
การศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุลในประเทศเวียดนามเมื่อปี 2006 พบว่าเกิดจากเชื้ออะดีโนไวรัส 3 ชนิดในสัดส่วนดังนี้ HAdV-8 พบมากที่สุดร้อยละ 80 ส่วนชนิด HAdV-3 และ HAdV-37 พบเท่าๆ กัน อย่างละประมาณร้อยละ 10 ของทั้งหมด โดยศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัส
อาการ
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัย
โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสสามารถให้การวินิจฉัยได้จากลักษณะอาการเยื่อบุตา แดง อักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดตา มีขี้ตา อาจมีจุดเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว และมักเป็นสองข้าง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสต้นเหตุ ได้แก่ adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า นอกจากนี้ยังอาจแยกเชื้อไวรัสจากการเก็บสารคัดหลั่งจากเยื่อบุตา
โรคแทรกซ้อน
ในรายที่เกิดโรคแทรกซ้อนจะมีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ หรือบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นนาน 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน
 การรักษา
    * รักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง
    * ถ้ามีขี้ตามาก อาจพิจารณาหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ พิจารณาใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด
    * พักผ่อนให้มากๆ โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย
    * ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน
    * ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้
    * สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วย ควรระวังอย่าเอามือไปจับ หรือขยี้ตา ควรล้างมือ ฟอกสบู่บ่อยๆ อย่านอนห้องเดียวกับผู้ป่วย การทานอาหารร่วมกันไม่ทำให้ติดโรค
ข้อมูลจาก
- ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
- bangkokhealth.com
 
   

อัพเดทล่าสุด