https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาษีรถยนต์ วิธีคิดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ พร้อมตัวอย่างการคำนวน MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษีรถยนต์ วิธีคิดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ พร้อมตัวอย่างการคำนวน


195,858 ผู้ชม

ภาษีรถยนต์ วิธีคิดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ พร้อมตัวอย่างการคำนวน


Edit TitleEdit Detail

วิธีคิดภาษีรถประเภทต่างๆ  

ภาษีรถยนต์ วิธีคิดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ พร้อมตัวอย่างการคำนวน

ตัวอย่างที่ 1 รถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) 
                  ขนาดเครื่องยนต์
1331 ซีซี เวลาคำนวณภาษี ขนส่งจะคิดจากขนาดเครื่องยนต์ ให้ดูที่เอกสารอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/1 ด้านล่าง

       วิธีการคิด    1. 600 ซีซี แรก ซีซีละ 0.5  = 600 x 0.5  =  300  บาท
                         2. 601-1800 ซีซีๆ 1.50  = (1331-600) x 1.50 = 1,096.50  บาท
                         3. คิดเป็นภาษี = 300 + 1,096.50  =
1,396.50  บาท

                สรุป       เราต้องจ่ายภาษีรถคันนี้ 5 ปีๆ ละ   1,396.50 บาท
                            ปีที่   6 ลด 10%  = 1,396.50-10%  =  1,256.85  บาท
                            ปีที่   7 ลด  20% = 1,396.50-20%  =  1,117.20  บาท
                            ปีที่   8 ลด  30% = 1,396.50-30%  =  977.55 บาท
                            ปีที่   9 ลด  40% = 1,396.50-40%  =  837.90 บาท
                            ปีที่ 10 –ตลอดอายุ ลด  50% = 1,396.50-50%  =  698.25 บาท 

ตัวอย่างที่
2 รถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถพวก 4 ประตู, Sport Rider, Mu7)
                  ขนาดเครื่องยนต์ 2,494 ซีซี   เวลาคำนวณภาษี ขนส่งจะคิดจากขนาดเครื่องยนต์ ให้พวกดูที่เอกสาร
อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/1 รถกลุ่มนี้ภาษีจะค่อนข้างแพง แต่ พ.ร.บ. ถูกครับแค่ 645.21 บาทครับ
        
วิธีการคิด    1. 600 ซีซี แรก ซีซีละ 0.5  บาท   = 600x0.5  =  300  บาท
                          2.  601-1800 ซีซีๆ 1.50 บาท  = (1800 - 600)x1.50  = 1,800  บาท
                          3.  เกิน 1800   ซีซีๆ  4 บาท   = (2494 - 1800) x 4  =  2,776   บาท
                          4.  คิดเป็นภาษี = 300 + 1,800 +2,776  =
4,876  บาท

                สรุป       เราต้องจ่ายภาษีรถคันนี้ 5 ปีๆ ละ   4,876 บาท
                            ปีที่   6 ลด 10%  = 4,876-10%  =  4,388.40  บาท
                            ปีที่   7 ลด  20% = 4,876-20%  =  3,900.80  บาท
                            ปีที่   8 ลด  30% = 4,876-30%  =  3,413.20 บาท
                            ปีที่   9 ลด  40% = 4,876-40%  =   2,925.60 บาท
                            ปีที่ 10 – ตลอดอายุ ลด 50% = 4,876-50%  =  2,438   บาท 

อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/1

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน

เก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.)              บาท 

รถที่เก็บเป็นคัน                                    บาท 

1. ความจุกระบอกสูบ
   1.1  600 ซีซี แรก ๆ ละ                                    0.05
   1.2  601 - 1,800 ซี.ซี.  ๆ ละ                           1.50
   1.3  เกิน 1,800 ซี.ซี.  ๆ ละ                              4.00
 

1.รถจักรยานยนต์  คันละ                                    100
2.รถพ่วงของรถจักรยานต์  คันละ                          50
3.รถพ่วงนอกจากข้อ คันละ                              100
4.รถบดถนน  คันละ                                           200
5.รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร  คันละ               50  

2. เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ                 2 เท่า 

 

3. เป็นรถเก่าใช้มาเกิน 5 ปี ให้ลดภาษี                 ร้อยละ
   3.1 ปีที่ 6                                                        10
   3.2 ปีที่ 7                                                        20
   3.3 ปีที่ 8                                                        30
   3.4 ปีที่ 9                                                        40
   3.5 ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป                                 50
 

 

4.เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่นนอกจากล้อยางกลวง เพิ่มอีก     1/2 

 

ตัวอย่างที่ 3  รถบรรทุกส่วนบุคคล 
                  น้ำหนักรวม 1,400 กก. เวลาคำนวณภาษี ขนส่งจะคิดจากน้ำหนักของรถ ให้พวกเราดูที่เอกสาร 
อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/2 คอลัมน์สุดท้าย 
              
วิธีการคิด   ดูตรงช่องน้ำหนักรถ 1,251 - 1,500 กก. คิดภาษีปีละ  = 900 บาท  

 อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/2

น้ำหนักรถ

(กิโลกรัม)

1.รถยนต์นั่งสำหรับบุคคล

เกิน 7 คน

1.รถยนต์รับจ้าง

 -รถระหว่างจังหวัด

 -รถยนต์บริการ

1.รถยนต์รับจ้าง

1.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

2. รถยนต์ลากจูง

3.รถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร

ไม่เกิน 500

150

450

185

300

501 - 750

300

750

310

450

751-1,000

450

1050

450

600

1,001-1,250

800

1350

560

750

1,251-1,500

1000

1650

685

900

1,501-1,750

1300

2100

875

1050

1,751-2,000

1600

2550

1060

1350

2,001-2,500

1900

3000

1250

1650

2,501-3,000

2200

3450

1435

1950

3001-3500

2400

3900

1625

2250

3501-4000

2600

4350

1810

2550

4001-4500

2800

4800

2000

2850

4501-5000

3000

5250

2185

3150

5001-6000

3200

5700

2375

3450

6001-7000

3400

6150

2560

3750

7000 ขึ้นไป

3600

6600

2750

4050

ตัวอย่างที่ 4  รถนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (รถตู้) 
                    น้ำหนักรวม 1,900 กก. เวลาคำนวณภาษี ขนส่งจะคิดจากน้ำหนักของรถ ให้พวกเราดูที่เอกสาร
อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/3 คอลัมน์แรก
              
วิธีการคิด   ดูตรงช่องน้ำหนักรถ 1,751 - 2,000 กก. คิดภาษีปีละ  = 1,600 บาท

อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522/3 

น้ำหนักรถเป็นกืโลกรัม

รถที่ใช้ในการขนส่ง

ประจำทาง

ไม่ประจำทาง

โดยสารขนาดเล็ก

ส่วนบุคคล

ไม่มากกว่า 500  กิโลกรัม

300  บาท

450  บาท

300  บาท

150  บาท

ตั้งแต่       501 - 750     กิโลกรัม

400  บาท

600  บาท

400  บาท

300  บาท

ตั้งแต่       751 - 1,000  กิโลกรัม

500  บาท

750  บาท

500  บาท

450  บาท

ตั้งแต่    1,001 - 1,250  กิโลกรัม

600  บาท

900  บาท

600  บาท

800  บาท

ตั้งแต่    1,251 - 1,500  กิโลกรัม

700  บาท

1,050  บาท

700  บาท

1,000  บาท

ตั้งแต่    1,501 - 1,750  กิโลกรัม

900 บาท

1,350  บาท

900 บาท

1,300  บาท

ตั้งแต่    1,751 - 2,000  กิโลกรัม

1,100  บาท

1,650  บาท

1,100  บาท

1,600  บาท 

ตั้งแต่    2,001 - 2,500  กิโลกรัม

1,300  บาท

1,950  บาท

1,300  บาท

1,900  บาท

ตั้งแต่    2,501 - 3,000  กิโลกรัม

1,500  บาท

2,250  บาท

1,500  บาท

2,200  บาท

ตั้งแต่    3,001 - 3,500  กิโลกรัม

1,700  บาท

2,540  บาท

-

2,400  บาท

ตั้งแต่    3,501 - 4,000  กิโลกรัม

1,900  บาท

2,850  บาท

-

2,600  บาท

ตั้งแต่    4,001 - 4,500  กิโลกรัม

2,100  บาท

3,150  บาท

-

2,800  บาท

ตั้งแต่    4,501 - 5,000  กิโลกรัม

2,300  บาท

3,450  บาท

-

3,000  บาท

ตั้งแต่    5,001 - 6,000  กิโลกรัม

2,500  บาท

3,750  บาท

-

3,200  บาท

ตั้งแต่    6,001 - 7,000  กิโลกรัม

2,700  บาท

4,050  บาท

-

3,400  บาท

ตั้งแต่    7001 กิโลกรัมขึ้นไป

2,900  บาท

4,350  บาท

-

3,600  บาท

 

ภาษีรถยนต์ , ต่อภาษีรถยนต์ , อัตราภาษีรถยนต์ , เสียภาษีรถยนต์ , โครงสร้างภาษีรถยนต์ , วิธีคิดภาษีรถยนต์ , ภาษีรถยนต์รถประเภทต่างๆ , ตัวอย่างการคิดภาษีรถยนต์

ที่มา easterninsure.igetweb.com

อัพเดทล่าสุด