สูตรอาหารอีสาน รวมสูตรอาหารอีสาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด


10,172 ผู้ชม

คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย   เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง  ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน


สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย   เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง  ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่างๆ หลายชนิด
อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย

วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง

ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก 

  สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

แกงเห็ดนางฟ้า

สูตรอาหารอีสาน รวมสูตรอาหารอีสาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

เครื่องปรุง
1.เห็ด(วันนี้มีเห็ดนางฟ้าจ้า)
2.น้ำปลา+น้ำปลาร้า
3.พริก
4.ตะไคร้
5.หอมแดงบุบพอแตก
6.ใบแมงลัก (ผักอิตู่)

วิธีทำ
1.ล้างเห็ดก่อนนะคะ แล้วก็หั่นเป็นชิ้นพอคำค่ะ
2.ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ตะไคร้หั่น หัวหอม พริก เห็ด
3.ปรุงรสด้วยน้ำปลา+น้ำปลาร้า ชิมให้ได้รส
4.ใส่ใบแมงลัก ปิดไฟ ตักเสริฟได้เลยค่ะ

แกงเห็ดฟางใส่ฝผักหวาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

สูตรอาหารอีสาน รวมสูตรอาหารอีสาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

เครื่องปรุง
-เห็ดฟาง
- ผักหวาน
-ใบแมงลัก
-น้ำปลา
-น้ำปลาร้า
-ชูรส
-ตะไคร้ หัวหอมแดง กระเทียม โขลกให้ละเอียด
วิธีทำ
-นำเห็ดฟางไปล้างน้ำขูดเอาดินออก แล้วผ่าครึ่ง
-เอาน้ำใส่หม้อสักหนึ่งถ้วย แล้วเอาพริกแกงที่โขลกเตรียมไว้ลงไปในหม้อคนให้เข้ากัน พอเดือดอีกที่เอาเห็ดลง
-พอสักพักก็ปรุงรสด้วย น้ำปลา ผงชูรส น้ำปลาร้า ปรุงรสตามชอบนะค่ะ
-ใกล้จะยกลงเอาผักหวานและใบแมงลักใส่ลงไปในหม้อแล้วปิดฝาไว้ หรือใครไม่ชอบทานปลาร้า ไม่ต้องใส่ก็ได้.

แกงเห็ดรวม สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

สูตรอาหารอีสาน รวมสูตรอาหารอีสาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

ส่วนผสม
1. เห็ดละโงก, เห็ดดิน, เห็ดเผาะ, เห็ดผึ้ง ฯลฯ 1 กิโลกรัม
2. น้ำเปล่า 1 ลิตร
3. พริก, ตะไคร้, ใบแมลงลัก, ปลาร้า, ผงชูรส, น้ำปลา
4. ใบชะมวงป่า, ผักติ้ว, ใบมะขาม หรืออะไรก็ได้ที่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นมะนาว หรือน้ำส้มสายชู
วิธีทำ
1. ล้างเห็ดให้สะอาด แล้วผ่าเห็ดดอกใหญ่ๆ แบ่งครึ่ง หรือขนาดพอคำ
หรือ ไม่ต้องแบ่งก็ได้แกงมันลงไปทั้งดอกนั่นแล
2. ต้มน้ำให้เดือด โขลกพริก ตะไคร้ ลงไปในหม้อ พร้อมกับเติมเกลือนิดหน่อย
3. นำเห็ดที่ล้างสะอาดแล้วใส่ลงไปขณะที่น้ำเดือด
4. ขณะน้ำเดือด เห็ดเริ่มสุก (สังเกตจากสีและกลิ่น) ให้ใส่น้ำปลาร้าลงไป
(เพราะน้ำเดือดจะทำให้กลิ่นปลาร้าไม่คาว) พอประมาณ
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, ผงชูรส, หรือน้ำปลาร้าอีกนิดหน่อย
6. เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ใส่ใบแมงลักโปะลงไป ปิดฝา 3 นาที
7. ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟกินกับข้าวเหนียวและแจ่วปลาร้าพริกสด (แจ่วบองไม่อร่อย)
หมายเหตุ : ย้ำนิดนึง อย่าใส่น้ำเยอะ เพราะลำพังน้ำที่มาจากดอกเห็ดมันก็จะออกมาเพิ่มทีหลังเยอะอยู่แล้ว

แกงเห็ดเผิ่ง (เห็ดผึ้ง) สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

สูตรอาหารอีสาน รวมสูตรอาหารอีสาน สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

ส่วนผสม
1.เห็ดเผิ่ง
2.ผักติ้ว หรือ ยอดมะขามอ่อน
3.ผักอีตู ( ใบแมงลัก )
4.ปลาร้า
5.ผงชูรส
6.น้ำปลา

วิธีทำ
นำเห็ดเผิ่งที่เก็บมาได้ไปล้างน้ำให้สะอาด
จากนั้น ต้มน้ำให้เดือด แล้วกะใส่เห็ดเผิ่งลงไป ตามด้วย น้ำปลาร้า น้ำปลา ตามชอบ พอเห็ดเริ่มสุกเฮากะใส่ผักอีตูละกะผักติ้วหรือยอดมะขามอ่อน ลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติให้ออกรสเปรี้ยวจักหน่อย จากนั้นตามด้วยผงชูรส นิดหน่อยเพื่อเพิ่มความนัว ( แซบ )
ที่มา : baanmaha.com
         heedisarn.com
         jit-jai-d.blogspot.com
         thaiesarnrecipes.com

สูตรอาหารอีสาน แกงเห็ด

  ภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนานๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลัก เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหารได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้งรสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขามและมดแดงในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์อีสานมีวิถีชีวิตที่ปลูกติดกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดอาหารของชุมชนแตกต่างกันอาหารของชาวอีสานจึงมีหลากรสหลายรูปแบบ มีความอร่อยที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ

อัพเดทล่าสุด